บริบทชุมชนสวายจีก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นายคฑาวุธ บุตรสุดประเภทประชาชน
หลักสูตรMS04 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรในโครงการพื้นที่รับผิดชอบ ดังรายละเอียด
ที่ตั้ง และอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 11.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 58.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,395 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอิสาณ และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสองชั้น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ และตำบลเสม็ด
สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่ว ๆ ของตำบลสวายจีก สภาพพื้นที่ลาดเอียงขึ้นไปทางเหนือ ดินเป็นดินเหนียว
ดินลูกรัง บางแห่งเป็นหินไม่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ ขึ้นไปทางทิศตะวันออก ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายใช้สำหรับทำนา บางแห่งเป็นเนินสามารถปลูกพืชไร่และทำสวนได้บ้าง ทิศใต้ สภาพพื้นที่เป็นเนินต่ำ เป็นดินทรายใช้ทำนาได้อย่างเดียวทิศตะวันตก สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ดินเป็นดินเหนียว และดินลูกรัง เพาะปลูกทำสวนทำไร่
พื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลสวายจีกเป็นทางผ่าน ของถนนสายสำคัญหลายสาย เช่น ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 ถนนลาดยาง รพช.บร 11055 และมีพื้นที่ มีลำห้วยไหลผ่านช่วงกลางตำบล เรียกว่า ลำห้วยสวาย ประชากรประมาณร้อยละ34 – 40 มีที่นาในเขตชลประทาน สามารถผลิตข้าวส่งขายและมีเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอ
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมภายในตำบล ใช้การคมนาคมทางบก โดยทางรถยนต์เป็นหลักในการคมนาคม ติดต่อและขนส่งผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้เส้นทางสำคัญ ดังต่อไปนี้ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 (บุรีรัมย์-สุรินทร์) ,ถนนลาดยาง รพช.บร 11055 การคมนาคมติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง มีถนนลาดยาง รพช.บร 11055 เชื่อมการคมนาคติดต่อกับอำเภอพลับพลาชัย มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 เชื่อมการคมนาคมติดต่อกับอำเภอกระสัง และถนน รพช.บร 3003 เชื่อมการคมนาคมติดต่อกับอำเภอห้วยราช
ลักษณะทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลสวายจีก ส่วนใหญ่จะเป็นหินภูเขาและเป็นที่ตั้งของโรงงานโม่หินหลายโรงงาน และมีแร่ที่สำคัญ คือ หินบะซอลต์และหินแกรนิต ทรัพยากรแหล่งน้ำ ภายในตำบลสวายจีกมีลำห้วยที่สำคัญ ดังนี้ ลำห้วยตลาด ,ลำห้วยสะยาและลำห้วยตาแสง
ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ดังนี้
– การเพาะปลูก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีกมีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าวนอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผักและผลไม้ด้วย
– การปศุสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและจำหน่าย เช่น สุกร ไก่ เป็ด โค กระบือ ปลา ฯลฯ เป็นต้น
ลักษณะทางด้านสังคม
องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนหมู่บ้านในเขตปกครอง 19 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 11,698 คน ประกอบด้วย ชาย 5,890 คน หญิง 5,808 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 2,915 ครัวเรือน
หมู่ 1 บ้านสวายจีก
หมู่ 2 บ้านสวายจีก
หมู่ 3 บ้านหนองปรือ
หมู่ 4 บ้านใหม่
หมู่ 5 บ้านมะค่าตะวันตก
หมู่ 6 บ้านหนองพลวง
หมู่ 7 บ้านหนองขาม
หมู่ 8 บ้านถาวร
หมู่ 9 บ้านหนองปรือน้อย
หมู่ 10 บ้านฝ้าย
หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก
หมู่ 12 บ้านโคกฟาน
หมู่ 13 บ้านโคกตาสิงห์
หมู่ 14 บ้านสวายจีก
หมู่ 15 บ้านโคกเปราะ
หมู่ 16 บ้านพลวง
หมู่ 17 บ้านเอกมัย
หมู่ 18 บ้านปรือพัฒนา
หมู่ 19 บ้านโคกหิน
ด้านการสาธารณสุข และอนามัย
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสวายจีก จำนวน 1 แห่ง
– ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 19 แห่ง
ด้านการศาสนาและวัฒนธรรม
ประชาชนในตำบลสวายจีกส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานที่สำคัญ ดังนี้
วัด จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ วัดโพธิ์ทอง,วัดบ้านหนองปรือ,วัดบ้านฝ้าย,วัดบ้านพลวง,วัดเจดีย์แดง
สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์โคกตาสิงห์
ด้านการศึกษา
สถานศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ประกอบด้วย ศูนย์เด็กเล็ก (ถ่ายโอนจากกรมการศาสนา) จำนวน 1 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดบ้านหนองปรือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 7 แห่ง มัธยม 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
จากการลงพื้นที่สำรวจและทำแบบสอบถาม ทราบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้จากอาชีพ มีการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น
การประกันรายได้ในอาชีพ และจะมีอาชีพค้าขายบ้างในบางหมู่บ้าน
ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ส่งข้อมูลรายละเอียดตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางให้มา และให้ข้อมูลแก่ข้าพเจ้า รายละเอียดตามเอกสารที่ได้แนบมา ในแบบฟอร์ม (01) (02)ซึ่งข้าพเจ้าได้นำข้อมูล ดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป