บริบทชุมชน

 

ชื่อชุมชน :  หมู่บ้านสวายจีก

ชื่อท้องถิ่น : (ชื่อเดิม)  โคกบ้าน , สวายเจก

ที่ตั้งหมู่บ้าน :  หมู่บ้านสวายจีก ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง : อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายบุรีรัมย์-สุรินทร์ ห่างจากตัวจังหวัดระยะทาง 10 กิโลเมตร

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ (บัณฑิตจบใหม่)

2. นายคฑาวุธ บุตรสุด (ประชาชน)

3. นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด (ประชาชน)

             ดิฉันนางสาวกิตติยา เหิมฉลาด ดิฉันได้มีโอกาสได้ร่วมทำงานกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ภายใต้ชื่อ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ดิฉันได้ลงทำงานในเขตพื้นที่อำเภอเมือง ตำบลสวายจีก หลักสูตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนสมาชิกในหลักสูตรนี้ทั้งหมด 18 คน ได้ทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม  เพื่อทำการลงสำรวจพื้นที่และเลือกพื้นที่หมู่บ้านต้นแบบเผื่อนำเอาผ้าไหมมาแปรรูป

             ในการลงพื้นที่สำรวจนั้นชาวบ้านให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่เป็นอย่างดี ได้มีการติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อที่จะขอลงพื้นที่ และกลุ่มของดิฉันได้ไปสำรวจที่ หมู่ 14 บ้านสวายจีก เมื่อวันที่ 9 กุมพาพันธุ์ 2564 บ้านสวายจีก มี 166 หลังคาเรือน ผู้คนส่วนมาก มีอาชีพทำนา และบางส่วนมีอาชีพค้าขาย

                 และในวันเดียวกัน กลุ่มของดิฉันได้ไปลงพื้นที่ หมู่ 15 บ้านโคกเปราะ มีหลังคาเรือนทั้งหมด 166 หลังคาเรือน แบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้านคือ บ้านโคกเปราะและบ้านตากแดด ชาวบ้านส่วนมากออกไปทำงานนอกพื้นที่

 

 

 

ช่วงกลางวันจะมีแต่ผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก ผู้สูงอายุที่อยู่บ้านบ้างก็เลี้ยงวัว บ้างก็อยู่บ้าน และก็มีทอผ้าบ้าง และกลุ่มของดิฉันก็ได้ไปลงพื้นที่ที่หมู่ 9 บ้านหนองปรือน้อย มีหลังคาเรือนทั้งหมด 186 หลังคาเรือน บริบทชุมชนที่นั้น ส่วนมากจะปลูกฝรั่งขายข้างทาง ด้วยความที่หมู่บ้านอยู่ติดกับถนน 226 สายบุรีรัมย์-สุรินทร์ จริงสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้มาก

 

          ในการลงพื้นที่ของดิฉันครั้งนี้สนุกมาก ดิฉันได้เพลิดเพลินกันการทำงาน สิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้คือ การได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้านของแต่ละหมู่ที่แตกต่างกัน ได้ประสบการณ์ในการลงพื้นที่มากกมาย แต่อุปสรรค์ในการลงพื้นที่ครั้งนี้คือการใช้ภาษาในการสื่อสาร ชาวบ้านใช้ภาษาถิ่น (ภาษาเขมร) สื่อสารกับดิฉัน ซึ่งดิฉันเป็นคนภาคอิสานพูดได้แต่ภาษากลางกับภาษาอิสาน ดิฉันได้ใช้ภาษากลางในสื่อสารอย่างเดียว แต่ก็มีเพื่อนร่วมกลุ่มแปลสื่อสารให้ ดิฉันขอขอบคุณโครงการดีๆจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่มอบโอกาส และประสบการณ์ดีๆให้ค่ะ

 

 

 

เจอกันบทความถัดไปค่ะ ^_^

อื่นๆ

เมนู