MSO4 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ผ้าพื้นบ้าน หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
สมาชิกกลุ่มที่ 1
นางสาวปัณฑารีย์ ยอดกระโทก เลขที่ 01
นางสาวลดาวรรณ จันทร์รุ่ง เลขที่ 02 (ผู้เขียนบทความนี้)
นางสาวมัณฑนา แผ้วพลสง เลขที่ 03
โดยในวันที่ 10 เมษายน 2564 ดิฉันและสมาชิกกลุ่มได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจาก นางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล) อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้ข้อมูลว่า เดิมป้าถวิลอาศัยอยู่ที่บ้านหลักเขต ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้แต่งงานและย้ายมาอยู่บ้านสามีที่ บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ 11 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มแรกที่ทอผ้าเป็น คือ การไปเรียนผูกดอกลายผ้าไหม/ผ้าซิ่น โดยแม่ของป้าถวิลเป็นคนแนะนำให้เรียน พอเรียนและทอจนได้ผ้าซิ่นมา 2 ผืน ก็หยุดทอผ้าและไปทำงานอยู่กรุงเทพฯ อยู่หลายปี ต่อมาได้กลับมาเลี้ยงหลานอยู่ที่บ้านมะค่าตะวันออกคืน หลังจากนั้นน้องสาวของป้าถวิลสนใจที่จะทำป้าถวิลจึงได้นำความรู้ที่เคยได้เรียนและได้ทำมาสอนน้องสาว โดยการจะเรียนทอผ้านั้นตามความเชื่อต้องมีการตั้งครูก่อน โดยมีเหล้าขาว 1 ขวด น้ำอัดลม 1 ขวด และเงินอีก 126 บาท เพราะเชื่อผ้าถ้าได้ตั้งครูก่อนการเรียนจะทำให้ผู้เรียนจดจำวิธีการทอผ้าได้ แต่ถ้าหากไม่ได้ตั้งครูก่อนการเรียนจะทำให้ ไม่สามารถจดจำวิธีการทอผ้าได้ และป้าถวิลยังได้เล่าต่อว่า หลังจากกลับจากกรุงเทพฯ ได้ 2 ปี ป้าถวิลก็ได้กลับมาทอผ้าจนถึงปัจจุบัน โดยป้าถวิลเล่าต่อว่า ทำเป็นกิจกรรมยามว่างร่วมกับการเลี้ยงหลานไปด้วย เพราะตั้งใจที่จะทอเก็บไว้ให้หลานๆ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีคนทอผ้าน้อย จึงมีคนมาติดต่อขอซื้อและได้จำหน่ายออกไปบ้างบางส่วน โดยความยาวของผ้าแต่ละผืนจะอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ถ้าหากมีคนขอซื้อป้าถวิลจะจำหน่ายในราคาผืนละ 600 บาท ซึ่งแต่ละลายผ้าจะต้องใช้ความประณีตในการทำจนกว่าจะได้อออกมาแต่ละผืน