ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ MS04-011
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

 

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวธัญญลักษณ์  ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คณะทำงานได้แก่
1.      นางสาวธัญญลักษณ์  ปลงใจ
2.      นางสาวกิตติยา  เหิมฉลาด
3.      นายคฑาวุธ บุตรสุด
ได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ.
1.      หมู่ที่   9  บ้านหนองปรือน้อย       มีจำนวน 186 ครัวเรือน
2.      หมู่ที่ 14  บ้านสวายจีก               มีจำนวน 166 ครัวเรือน
3.      หมู่ที่ 15  บ้านโคกเปราะ             มีจำนวน 118 ครัวเรือน
4.      หมู่ที่   7  บ้านหนองขาม            มีจำนวน 184 ครัวเรือน
รวม               มีจำนวน 654 ครัวเรือน

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 คณาจารย์ และคณะทำงานที่เข้าร่วมโครงการร่วมประชุมและสรุปการทำงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รายงาน ปัญหาและอุปสรรค ในการทำงาน ประจำเดือนมีนาคม และ วางแผนและแนวทางการทำงาน สำหรับ เดือนเมษายน  เพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และแนวทาง ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

ดิฉันและคณะทำงานได้ประสานงานกับผู้นำหมู่ 7 บ้านหนองขาม ชี้แจงรายละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับ แบบสอบถาม เพื่อที่จะลงพื้นที่ หาชาวบ้านภายใน ชาวบ้านภายในชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก มีอาชีพเสริม คือ ทำการเลี้ยงสัตว์อาทิ เช่น วัว ควาย เป็ด ไก่ และปลา เป็นต้น บางส่วนมีการปลูกผักไว้เพื่อจำหน่าย เนื่องจากชุมชนสวายจีกมีตลาดเย็นภายในหมู่บ้านซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนทำให้ครัวเรือนบางครัวเรือนที่มีพื้นที่ ที่เหมาะสม ได้มีการปลูกผักเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ดิฉันและคณะทำงานได้เก็บข้อมูล
แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนและชุมชน และ
แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

 

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ดิฉันและทีมงานได้นำข้อมูลที่ได้จาก ชาวบ้านภายในชุมชน
ที่ดิฉันและทีมงานได้รับมอบหมายนำข้อมูลมาลงในระบบ ที่ทางโครงการได้กำหนดไว้
แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนและชุมชน และ  ฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

 

ในขอบข่ายการทำงานลักษณะการปฏิบัติงานผู้เข้าปฏิบัติงานต้องเข้ารับการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-learning โดย อบรมด้วยตนเองตามที่โครงการกำหนดซึ่งดิฉันได้เข้ารับการอบรม ระบบออนไลน์
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
ทักษะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (45 ชั่วโมงการเรียนรู้)
2) ด้านการเงิน Financial Literacy
เทคโนโลยีการเงิน (8 ชั่วโมงการเรียนรู้)
3) ด้านสังคม Social Literacy
อาเซียศึกษา ASEAN Studies (6 ชั่วโมงการเรียนรู้)

 

 

องค์ความรู้ที่ได้รับ

คือการได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนมีการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง วิถีชีวิตที่เรียบง่ายจัดสรรพื้นที่ภายในบริเวณบ้านอย่างคุ้มค่า อย่างเช่นการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่และปลา ทำให้ลดการใช้จ่ายภายในครัวเรือน

 

อื่นๆ

เมนู