“โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์”
ชื่อบทความ บริบทชุมชนบ้านปรือพัฒนา ข้อมูลศักยภาพผ้าทอพื้นบ้านในชุมชน ตำบลสวายจีก
เขียนโดย นายคฑาวุธ บุตรสุด ประเภทประชาชน
สวัสดีครับ กระผมนายคฑาวุธ บุตรสุด ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน หลักสูตร MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่รากแก้วให้ประเทศ)
บริบทชุมชนบ้านปรือพัฒนา หมู่ 18 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- ประวัติความเป็นมาในชุมชนบ้านปรือพัฒนา หมู่ที่ 18 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
บ้านปรือพัฒนา หมู่ 18 โดยดั้งเดิมจะรวมอยู่กับบ้านหนองปรือ หมู่ 3 และได้แยกหมู่บ้าน โดยกระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งให้เป็นหมู่ที่ 18 ของตำบลสวายจีก และตั้งชื่อว่า บ้านปรือพัฒนา สาเหตุที่แยกหมู่บ้าน เนื่องจากประชากรมีความหนาแน่น โดยยังมีประชากรที่ยังคงรวมอยู่กับบ้านหนองปรือ หมู่ที่ 3
บ้านปรือพัฒนา อยุ่ห่างจากอำเมืองบุรีรัมย์ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร มีเส้นทางหลวงแผ่นดินเส้น 226 ตัดผ่านด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านและทางหลวงชนบทเส้นตัดผ่านศูนย์กลางหมู่บ้าน
บ้านปรือพัฒนา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 400 ไร่ ลักษณะพื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านหนองขาม หมู่ที่ 7
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ที่ 11
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านหนองปรือน้อย หมู่ที่ 9
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 3
แบ่งคุ้มบ้านออกเป็น 4 คุ้มหลัก คือ
1.คุ้มเหนือนครพิงค์
2.คุ้มอีสานบูรพา
3.คุ้มใต้นครพิงค์
4.คุ้มตะวันแดง
2.คณะกรรมการบริหาร
- นายสมอินทร์ กระเชิญรัมย์ ผู้ใหญ่บ้าน/กำนันตำบลสวายจีก
- นายเบียน อินรัมย์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
- นายบุญมา เกรัมย์ ผุ้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
- นายอนุวงค์ ทรงปะคำ สารวัตรกำนันตำบลสวายจีก
- นายขันชิด ขาลรัมย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
- นายสุชาติ กริดรัมย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
คณะกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ
- นายสมบัติ เรืองรัมย์
- นายสำราญ เกรัมย์
- นายเพย พูนประโคน
- นายสมจิต วันสารัมย์
- นางสาวสุวรรณ กรุกรัมย
- นางเสวียง โกรัมย์
3.จำนวนประชากร
ชุมชนบ้านปรือพัฒนา มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 193 ครัวเรือน โดยมีบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยจำนวน 15 หลังคาเรือน และมีบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยจริงจำนวน 178 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 766 คน แยกเป็น
เพศชาย 354 คน
เพศหญิง 412 คน
-มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) รวมทั้งสิ้น 124 คน แยกเป็นเพศชาย 28 คน เพศหญิง 43 คน
-มีผู้พิการ รวมทั้งสิ้น 71 คน แยกเป็นเพศชาย 28 คน เพศหญิง 43 คน
-มีกองทุนหมู่บ้านจำนวน 1 กองทุน และกองทุนปุ๋ยเพื่อการเกษตรจำนวน 1 กองทุน
4.จำนวนวัด
-ไม่มี
5.จำนวนโรงเรียน
-ไม่มี
6.พื้นที่ป่า
-ไม่มี
7. แหล่งน้ำ
การอุปโภค-บริโภค ของชุมชนบ้านปรือพัฒนา จะใช้แหล่งน้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคของจังหวัดบุรีรัมย์
8.สภาพภูมิอากาศ
มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น มีอากาศหนาวเย็นช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย และในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนตุลาคม จะเป็นช่วงฤดูฝน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล
9.วัฒนธรรม
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนบ้านปรือพัฒนา จะมีขนบธรรมเนียมเช่นเดียวกันกับชุมชนอื่นในตำบลสวายจีกที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น ได้แก่
-การทำบุญหมู่บ้าน
ช่วงเวลาจะทำบุญกันในช่วง เดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บ้านสวายจีกมีหลายหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน จะทำบุญไม่พร้อมกันแล้วแต่ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านจะตกลงกัน ไม่กำหนดวันแน่นอน ความสำคัญ การทำบุญบ้านกระทำเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์หมู่บ้าน จะทำเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้านจะช่วยกันบริจาคเงินในการจัดงานทำบุญหมู่บ้านร่วมกัน พิธีกรรมการทำบุญบ้านนั้น ชาวบ้านจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ในตอนเย็น หลังจากเสร็จจากพิธีกรรมทางสงฆ์แล้ว ชาวบ้านก็จะมีการแสดงมหรสพ การร้องรำฟังเพลง กันทั้งคืนจนรุ่งสาง ตอนเช้าของอีกวันก็จะมีการนิมนต์พระมาเพื่อถวายภัตตาหารเช้าและเทศนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนตามแบบอย่างชาวพุทธ ซึ่งกิจกรรมในส่วนนี้ก็จะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงนำอาหารมาถวายพระร่วมกันด้วย หลังจากเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้วชาวบ้านจะรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดการหล่อหลอมรวมกันทางจิตใจ ชาวบ้านเกิดความสามัคคีเพราะมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
– ประเพณีเรียกขวัญข้าว
ช่วงเวลาจะทำพิธีกันในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณ 3 เดือน ของทุกปี ความสำคัญประเพณีการเรียกขวัญข้าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการเรียกขวัญข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีเรียกขวัญข้าว พิธีกรรมจะจัดกันที่วัดในตอนเย็น ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกไปรวมกันที่วัด หมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญข้าว เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำข้าวไปเก็บไว้ที่ยุ้งฉางเพื่อความเป็นศิริมงคล
-ประเพณีการกวนข้าวทิพย์
ช่วงเวลาจะทำพิธีกันในช่วงข้าวตั้งท้อง ประมาณเดือน 11 หรือเดือน 12 ความสำคัญ ประเพณีกวนข้าวทิพย์จัดขึ้นเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ผู้ที่ได้รับประทาน โดยชาวบ้านจะนำส่วนประกอบที่จะทำข้าว ได้แก่ น้ำตาล มะพร้าว และอื่นๆ แล้วแต่ว่าใครจะมีอะไรไปรวมกันที่วัด แต่ถ้าปีใดเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดีก็จะเว้นไปทำปีต่อไป พิธีกรรมประเพณีกวนข้าวทิพย์จะจัดขึ้นในตอนเย็น ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านจะนำธัญพืช ได้แก่ ถั่ว งา มะพร้าว น้ำตาล นมข้นหวาน และอื่นๆ มารวมกัน โดยจะใช้หญิงสาวพรมจารีย์นุ่งขาวห่มขาวเป็นผู้กวน ในระหว่างนั้นจะสวดมนต์ประกอบพิธีจนแล้วเสร็จ ในวันรุ่งขึ้นจะมีการทำบุญ ชาวบ้านจะนำข้าวทิพย์มาแบ่งกันรับประทานเพื่อเป็นศิริมงคล
10.ภูมิปัญญาเรื่องผ้าพื้นบ้าน
10.1 ชื่อ-นามสกุล นางคำจุน เกรัมย์ บ้านเลขที่ 21 หมู่ 18 บ้านปรือพัฒนา ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
เบอร์โทรศัพท์ 085-5095589
ผลผลิตที่มี ป้าคำจุนให้ข้อมูลว่า เนื่องด้วยช่วงนี้เป็นฤดูกาลทำการเกษตร จึงยังไม่มีผลผลิตจากการทอผ้าให้ชม แต่ถ้าเป็นช่วงทอผ้า ผลผลิตที่ได้จากการทอผ้า จะเป็นผ้าซิ่น ผ้าโสร่ง ผ้าไหม โดยจะมีผู้ที่สนใจมาจับจองซื้อผ้าไหมของป้าคำจุน เริ่มจากราคาตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพัน ทำให้ป้าคำจุนมีรายได้อีกช่องทางเข้ามาในครอบครัว
11.ภูมิปัญญาทั่วไป
-ไม่มี
12.แหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน
สวนสาธารณะหลวงปู่ดอน ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนตำบลสวายจีก
13.ชาติพันธุ์ในหมู่บ้าน
คือ เขมร
13.1 บุคคลที่เป็นต้นแบบด้านชาติพันธุ์
ชื่อ-นามสกุล นายปริ้น แก้วศรี ปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตแล้ว
14. เยาวชนที่จะสามารถเป็นมัคคุเทศนำชุมชน
-ไม่มี
15.อื่นๆ
ข้อมูลบริบทชุมชนบ้านปรือพัฒนา หมู่ 18 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับความอนุเคราะห์ จากผู้นำชุมชน กำนันสมอินทร์ กระเชิญรัมย์ ผู้นำชุมชนบ้านปรือพัฒนา
ศักยภาพผ้าทอพื้นบ้านในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ
เนื่องจากเกิดสภาวะขาดแคลนผ้าทอมือพื้นบ้านตำบลสวายจีก เพราะผู้ทอผ้าติดภารกิจ
เลี้ยงวัว และอีกหนึ่งครอบครัวมีอาการปวดหลังจึงไม่สามารถทอผ้าได้ตามความต้องการของลูกค้า
การปฏิบัติงานเดือนนี้ ให้สมาชิกหาข้อมูลศักยภาพผ้าทอพื้นบ้านในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ
หมู่ที่รับผิดชอบ หมู่ 18 บ้านปรือพัฒนา
¤ ไม่มีผ้าทอพื้นบ้าน
/ มีผ้าทอพื้นบ้าน
ลำดับ | ประเภทของผ้า
(ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ขายเป็นฝืน, รับทอ) |
ขนาด/ต่อผืน |
ราคาปลีก |
ราคาส่ง |
1 | ผ้าไหม
นางคำจุน เกรัมย์ เบอร์โทรศัพท์ 085-5095589 |
ผืนละ 1 เมตร- 4 เมตร |
เมตรละ 1,000-1,200 บาท |
_ |
การติดตามผลผลิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก
ทั้งนี้เนื่องจากกระผมยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จึงไม่ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ติดตามข้อมูลกิจกรรมจากผู้ปฏิบัติงานผ่านช่องทางระบบออนไลน์ และมีการสอบถามไปยังผุ้นำชุมชน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในครั้งนี รวมทั้งสอบถามรายละเอียดกิจกรรมจากผู้ปฏิบัติงานในหลักสูตร ตามรายละเอียดต่อไปนี้
การติดตามผลผลิต การอบรมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ณ. หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในการติดตามผลผลิตในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีไอเดียสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมให้เป็นเสื้อสุภาพสตรีและเสื้อเชิ้ตสุภาพบุรุษ รวมทั้งกระเป๋าจากผ้าไหม ซึ่งทำให้เกิดความสนใจให้กับผู้ที่มาอบรม และยังเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้จากการเว้นว่างการทำการเกษตร
ภาพรวมการจัดการอบรม การติดตามผลผลิตจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
: VDO ประกอบการรายงานการปฏิบัติงาน