โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)

หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อบทความ : กิจกรรมการสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) ชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีครับ กระผมนายฐิติชัย อาจทวีกุล ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต หลักสูตร MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

การปฏิบัติงานประจำวันที่ 10-30 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564  มีดังนี้

  1. อบรมเรื่องการตลาดออนไลน์

การอบรมเรื่องการตลาดออนไลน์ได้มี อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา เป็นวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับการขายของออนไลน์ว่า การขายของออนไลน์มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. ความต้องการที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อย่างเช่น ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
  2. ความต้องการที่มนุษย์อยากมี อย่างเช่น รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ

ข้อดีของการขายออนไลน์

  1. ต้นทุนการขายต่ำ ลดต้นทุนการเดินทาง
  2. ตอบคุยกับลูกค้าได้ทุกที่ แค่เชื่อมอินเทอร์เน็ต
  3. ทำงานคนเดียวได้ ไม่ต้องจ้างลูกจ้าง
  4. ลูกค้าเข้าถึงได้ตลอดเวลา ไม่เสียเวลาเดินทาง
  5. เปิดร้านขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อเสียของการขายออนไลน์

  1. การแข่งขันสูง โดนตัดราคาง่าย
  2. ความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้ายังน้อยเมื่อเทียบกับการซื้อสินค้าโดยตรง
  3. ไม่สามารถกำหนดสินค้าแพงกว่าท้องตลาดได้ อาจทำให้ขายสินค้ายากขึ้น

 

  1. แนะนำแนวทางการทำสตอรี่ของสินค้า  

การแนะนำแนวทางการทำสตอรี่สินค้าได้มี อาจารย์วิทวัส สหวงษ์ เป็นวิทยากรให้คำแนะนำการทำสตอรี่ของผ้าในชุมชนว่าควรมีการทำสตอรี่ เพื่อทำให้สินค้านั้นดูมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ ซึ่งสามารถทำให้การตัดสินใจที่จะซื้อของลูกค้านั้นมากขั้น และทำให้แบรนด์ของชุมชนนั้นเป็นที่รู้จักและไม่ซ้ำใคร

  1. อบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน

การอบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนได้มี อาจารย์สายฝน อุไร เป็นวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือนว่า บัญชีครัวเรือนนั้นเป็นการประยุกต์ทางการบัญชี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและการออม และในที่สุดจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความไม่น้อยและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพี่ยงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึงำ การเตรียมตัวให้พร้อมเกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ

สรุปได้ว่าเมื่อผู้ทำบัญชีครัวเรือนทำการบันทึกบัญชีจำทราบยอดคงเหลือของเงินที่เป็นปัจจุบันและสามารถงวิเคราะห์รายได้และรายจ่ายของตน เป็นผลให้สามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ยังคงเหลืออยู่ได้อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้ม่ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ และยังควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หาหนทางเพิ่มรายได้ และออมเงินให้มากขึ้น จะทำให้หนีสิ้นนั้นลดลง

  1. สตอรี่ของผ้าในชุมชน

ผ้าฝ้ายของ นางแม้น อาญาเมือง หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ได้ให้ความว่าผ้าฝ้ายตั้งแต่สมัยก่อนนั้น จะนำผ้าฝ้ายไปห่อข้าวเพื่อไว้กินข้าวช่วงพักเที่ยงที่นา หรือผู้ชายจะเอาไปใช้นุ่งโสร่ง ไม่ก็เก็บไว้ในตู้จะไม่ได้ใช้ทำอะไรมาก เมื่อมีโครงการเข้ามาทำให้สามารถนำผ้าฝ้ายที่เก็บไว้หรือทอขึ้นมา นำมาแปรรูปเป็น กระเป่า เสื้อผ้า กระโปรง ได้ ซึ่งทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อเด่นของผ้าฝ้าย – สวมใส่สบาย เพราะดูดความชื้นและระบายความร้อนออกได้ดี มีความทนทาน ทนต่อความร้อน

ข้อเสียของผ้าฝ้าย – เนื้อผ้าฝ้ายยับง่าย คงรูปทรงได้ยาก

วิดีโอการปฏิบัติงานวันที่ 10-30 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564

 

อื่นๆ

เมนู