โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)
BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY TO TAMBON : BRU2T
หลักสูตร: MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อบทความ MS04ผ้าในชุมชนสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
เขียนโดย นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด
สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด การปฏิบัติหน้าที่ในเดือนกรกฎาคม ดิฉันได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ลงพื้นที่ปฏิบัติ งานดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การดารแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 จึงทำให้ดิฉัน ไม่สามารถไปร่วมโครงการได้ จึงขอนำเสนอผ้าพื้นบ้านของชุมชนสวายจีกที่ดิฉัน ได้ไปลงสำรวจพี่ที่ก่อนหน้านี้ มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การทอผ้าไหมหรือผ้าพื้นบ้านนั้นเป็นการทอผ้ามาจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา
ลักษณะเด่น
– โดยส่วนใหญ่ใช้ไหมเส้นเล็กในการทอ หรือไหมน้อย คือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะเรียบ นุ่ม และ เงางาม
-ลวดลายที่เป็นลักษณะเด่นคือผ้าไหมจะนิ่มไม่แข็ง ผ้าโปร่งเย็นสบายเวลาสวมใส่ มีสีสันสดใส มีลวดลายช้าง ม้า ลายดอก
-ใช้สีธรรมชาติในการทอ ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ
-การทอ จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอ และประณีต
ชนิดของผ้าที่บพมากในชุมชนสวายจีก
-ผ้าขาวม้า
-ผ้าขาวม้ายกขิด
-ผ้าสไบนาง
-โสร่ง