MS04ติดตามผลผลิตในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
สวัสดีค่ะดิฉัน นางสาวนฤมล เกรัมย์ (ประเภทนักศึกษา) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลสวายจีก ตามหลักสูตร MSO4 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
-
- ประวัติความเป็นมา
หมู่ 3 บ้านหนองปรือ มีจำนวนครัวเรือน 161 ครัวเรือน ชาย 311 คน หญิง 271 คน รวม 582 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกคือ ข้ามหอมมะลิ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและเลี้ยงสัตว์ไปด้วย เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ บางครัวเรือนปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคและจำหน่ายค้าขายตามตลาดท้องถิ่นไกล้บ้าน มีครัวเรือนที่ทอผ้าไหมเหลืออยู่เพียงหนึ่งครัวเรือน และชาวบ้านบางส่วนออกไปประกอบอาชีพนอกชุมชนค่อนข้างมาก
-
- คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการหมู่บ้าน
นางสุดา อุตรวิเชียร (ประธานหมู่บ้าน)
นายกิต จารัมย์ (รองประธาน)
นายสมยศ อินรัมย์ (เลขา)
นายบุญชอบ กรีรัมย์
นายศิระวิทย์ โกยรัมย์
นายสำราญ สายชุ่มดี (เสียชีวิต)
นางสาวสำราญ แกมรัมย์
นายสวัสดิ์ อาจทวีกุล
นางทับทิม เพประโคน
อสม.
น.ส สุดา อุตรวิเชียร (ประธาน อสม.)
น.ส เกษสรา แกมรัมย์
น.ส สำราญ แกมรัมย์
น.ส กุหลาบ รอบรู้
นางบาง นารัมย์
นางละออง แสนสุข
นาง สุกัญญา อักษรณรงค์
นางสมใจ ดวงแก้ว
นางพรเพ็ญ เรืองรัมย์
น.ส สุมล กล่ำโพธิ์
น.ส ลำยวน ปลั่งประโคน
น.ส กฤษณา เพ็ชรประกอบ
นายสำราญ สายชุ่มดี (เสียชีวิต)
นายสมชาย แสนสุข
-
- จำนวนประชากร 582 หลังคา 161 หลังคาเรือน
ชาย 311 คน
หญิง 271 คน
อาชีพ โดยส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้ามหอมมะลิ และเลี้ยงโค กระบือ
กิจกรรมติดตามการตัดเย็บเสื้อผ้าจากผ้าไหม
U2T ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 28 สิงหาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ และทีมงานU2T ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 เพื่อติดตามผลการอบรมการตัดเย็บเสื้อผ้าจาก ชาวบ้านในชุมชน ตำบลสวายจีก โดยผู้ที่ลงพื้นที่ จะต้องได้รับวัคซีนป้องกัน โควิด 19 อย่างน้อย 1 เข็ม โดยผลการติดตามการดำเนินงาน ชาวบ้านสามารถตัดเย็บเสื้อผ้าจากผ้าไหมเองได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการอบรมในเดือนที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีการสนับสนุนให้มีการตัดเย็บเสื้อผ้าในรูปแบบต่างๆ เพื่อความหลากหลายในตัดเย็บชุด อีกทั้งในเดือนที่ผ่านมามีการสำรวจวัฒนธรรมท้องถิ่น สถานที่สำคัญ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแผร่เชื่อโควิด 19 การให้ความรู้แก่ชุมชนในการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 การสำรวจการได้รับวัคซีนในแต่ละพื้นที่ การดำเนินการต่อไปของโครงการ การหาตลาดรองรับการจำหน่ายเสื้อผ้าที่ตัดเย็บ จากทั้งในพื้นที่ และในทางสื่อสังคมออนไลน์