ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ MS04-011
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดิฉันได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน ณ. หมู่ที่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก

หมู่ที่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก
ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

1. ประวัติความเป็นมา
บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ที่ 11 อยู่ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
สวายจีก เป็นหมู่บ้านๆหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีผู้กล่าวว่า เดิมทีก่อนจะมาเป็นสวายจีก มาจากหนองน้ำทั้งสองเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ ตะเปียงสวาย (หนองมะม่วง)และตะเปียงเจก (หนองกล้วย) เรียกมาเรื่อยๆโดยมีข้อสันนิฐานว่า คำว่า สวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่น (ภาษาเขมร) สวาย แปลว่า มะม่วง ส่วนคำว่า จีก นั้นมาจากคำว่า เจก ซึ่งแปลว่า กล้วย รวมเรียกว่า มะม่วงกล้วย ซึ่ง สันนิฐานว่า ในท้องถิ่นแห่งนี้มีมะม่วงพันธุ์นี้อยู่ ชาวบ้านสวายจีก
มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวบ้านอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อพยพมาจาก จังหวัดสุรินทร์ มาตั้ง ถิ่นฐานอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ทางทิศตะวันออก ส่วนอีกกลุ่มอพยพมาจาก จังหวัดนครราชสีมา มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก หมู่ที่ 17 ในปัจจุบัน และในอีกตำนานหนึ่งเล่าต่อกันมาว่า มีบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ คือ นายสวาย กับ นางเจก ได้อพยพมาจากบ้านสังขะ อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์
จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จากที่นักโบราณคดีได้ศึกษาจากศิลา ทราย พบว่า เป็นชุมชนที่อพยพมาจากขอมหรือเขมร ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และ ปราสาทหินพิมาย
2. คณะกรรมการบริหาร
บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ที่ 11 อยู่ภายในองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ใหญ่บ้าน นายลุนดอน คะรัมย์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายทวัฒน์ เพาะพูน และ นายประสิทธิ์ กริดรัมย์
อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)
นายทวัฒน์ เพาะพูน
นายเฉลิม แจ่มประโคน
นายสงวน เรืองรัมย์
นายลุนดอน คะรัมย์
นายบุญเกิด กริดรัมย์
นางกิมลัน เรื่องรัมย์
นางสำรวย ชาติรัมย์
นางหัน กริดรัมย์
นางธรรมเนียม กรีรัมย์
นางจำปี อินทร์รัมย์
นางเฉลียว ไทยรัมย์
นางสาวธนาภรณ์ กริดรัมย์

3. จำนวนประชากร
มีจำนวนครัวเรือนในเขตปกครองทั้งสิ้น 160 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 746 คน
ประกอบด้วย ชาย 370 คน
หญิง 376 คน
อาชีพภายในชุมชน คือ การทำเกษตรกรรม
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ดังนี้
– การเพาะปลูก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีกมีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ คือ
การเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าว
– การปศุสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและ
จำหน่าย เช่น โค กระบือ สุกรและไก่ เป็นต้น
4. จำนวนวัด – ไม่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่บ้านมะค่าตะวันออก
5. จำนวนโรงเรียน – ไม่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่บ้านมะค่าตะวันออก
6. พื้นที่ป่า – ไม่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่บ้านมะค่าตะวันออก
7. แหล่งน้ำในชุมชน
หนองหัวช้าง
หนองขาม
หนองมะค่า
8. สภาพภูมิอากาศ
บ้านมะค่าตะวันออก ตำบลสวายจีก อำเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง มกราคม
9. วัฒนธรรม
1.) การทำบุญหมู่บ้าน
ช่วงเวลาจะทำบุญกันในช่วง เดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บ้านสวายจีกมีหลายหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะทำบุญไม่พร้อมกันแล้วแต่ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านจะตกลงกัน ไม่กำหนดวันแน่นอน
ความสำคัญ การทำบุญบ้านกระทำเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์หมู่บ้าน จะทำเป็นประจำทุกปีชาวบ้านในหมู่บ้านจะช่วยกันบริจาคเงินในการจัดงานทำบุญหมู่บ้านร่วมกัน ถ้าหากปีใดมีเงินเหลือจ่ายหลังจากหักค่าใช้จ่าย ก็จะบริจาคให้กับวัด หรือตั้งเป็นกองทุนในปีต่อไปพิธีกรรม การทำบุญบ้านนั้น ชาวบ้านจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ในตอนเย็น ตอนเช้าของอีกวันก็จะมีการนิมนต์พระมาเพื่อถวายภัตตาหารเช้าและเทศนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งตามแบบอย่างชาวพุทธ ซึ่งกิจกรรมในส่วนนี้ก็จะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงนำอาหารมาถวายพระร่วมกันด้วย หลังจากเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้วชาวบ้านจะรับประทานอาหารร่วมกัน
2.) ประเพณีเรียกขวัญข้าว
ช่วงเวลา จะทำพิธีกันในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณ 3 เดือน ของทุกปีความสำคัญ ประเพณีการเรียกขวัญข้าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการเรียกขวัญข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีเรียกขวัญข้าวพิธีกรรม จะจัดกันที่วัดในตอนเย็น ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกไปรวมกันที่วัด หมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญข้าว เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำข้าวไปเก็บไว้ที่ยุ้งฉางเพื่อความเป็นสิริมงคล
3.) ประเพณีการกวนข้าวทิพย์
ช่วงเวลา จะทำพิธีกันในช่วงข้าวตั้งท้อง ประมาณเดือน 11 หรือเดือน 12 ความสำคัญประเพณีกวนข้าวทิพย์จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้รับประทาน โดยชาวบ้านจะนำส่วนประกอบที่จะทำข้าว ได้แก่ น้ำตาล มะพร้าว และอื่นๆ แล้วแต่ว่าใครจะมีอะไรไปรวมกันที่วัด แต่ถ้าปีใดเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดีก็จะเว้นไปทำปีต่อไปพิธีกรรม ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะจัดขึ้นในตอนเย็น ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านจะนำธัญพืช ได้แก่ถั่ว งา มะพร้าว น้ำตาล นมข้นหวาน และอื่นๆ มารวมกัน โดยจะใช้หญิงสาวพรมจารีย์นุ่งขาวห่มขาวเป็นผู้กวน ในระหว่างนั้นจะสวดมนต์ประกอบพิธีจนแล้วเสร็จ ในวันรุ่งขึ้นจะมีการทำบุญ ชาวบ้านจะนำข้าวทิพย์มาแบ่งกันรับประทานเพื่อเป็นสิริมงคล
10. ภูมิปัญญาเรื่องผ้า
ชื่อ-นามสกุล นางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล)
เบอร์โทรศัพท์ 065-918-8742
ผลผลิตที่มี ผ้าซิ่นตีนแดง
ภูมิปัญญาในท้องถิ่น คือ การทอผ้าไหม เป็นงานหัตถกรรมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษโดยนางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล)ชนิดของผ้า คือผ้าซิ่นตีนแดงและผ้าหางกระรอก โดยความยาวของผ้าแต่ละผืนจะอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ถ้าหากมีคนขอซื้อป้าถวิลจะจำหน่ายในราคาผืนละ 600 บาท ซึ่งแต่ละลายผ้าจะต้องใช้ความประณีตในการทำจนกว่าจะได้อออกมาแต่ละผืน
11. ภูมิปัญญาเรื่องอื่น – ในพื้นที่ไม่มีภูมิปัญญาอย่างอื่น
12. แหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน คือ วัวแดงคาเฟ่
วัวแดง คาเฟ่ (Wua Daeng Cafe) ตั้งอยู่ในตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, ห่างจากในเมืองบุรีรัมย์ 12 km. ห่างจากสนามช้างอารีน่า 10 km. สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยบรรยากาศธรรมชาติเงียบสงบ คาเฟ่แห่งนี้ ภายในมีทั้งร้านอาหาร ห้องพักวิลล่า จุดแคมป์และลานแคมป์ ให้ลูกค้าได้มาพักผ่อน. วัวแดงคาเฟ่ มีบริการทั้งหมด 10 ห้องนอน แต่ละห้องเป็นห้อง Standard Room พร้อมเครื่องปรับอากาศ ห้องน้ำส่วนตัว พร้อมน้ำอุ่น ห้องพักเป็นห้องปรับอากาศ พร้อมอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ฟรี มีทีวีจอแบน ตู้เย็นและน้ำดื่่ม 2 ขวด โรงแรมแห่งนี้เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และบริการ สวน ที่จอดรถ ฟรีสัญญาณWiFi ทั่วพื้นที่
𝕎𝕦𝕖 𝔻𝕒𝕖𝕟𝕘 𝕔𝕒𝕗𝕖
พิกัด : บ้านเลขที่ 2 หมู่ 11 ตำบล สวายจีก อำเภอเมือง บุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์
Google Map : https://goo.gl/maps/meviLXSpXow9qLhU9
Opan : Mon-Sun 08:00-18:00
ติดต่อสอบถาม : 061-262-2172 คุณโอชิน ,: 09-35234423 คุณรี
13. ชาติพันธุ์ในหมู่บ้าน คือ เขมร
บุคคลที่เป็นต้นแบบภูมิปัญญาด้านชาติพันธ์
ชื่อ-นามสกุล นางสมาน กริดรัมย์
14. เยาวชนที่จะสามารถเป็นมัคคุเทศนำชมชุมชน
ชื่อ-นามสกุล นายเติมพงษ์ คะรัมย์
เบอร์โทรศัพท์ 061-2816702
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5
กำลังศึกษา ณ.โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม

 

ศักยภาพผ้าทอพื้นบ้านในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

                          เนื่องจากเกิดสภาวะขาดแคลนผ้าทอมือพื้นบ้านตำบลสวายจีก เพราะผู้ทอผ้าติดภารกิจ
เลี้ยงวัว และอีกหนึ่งครอบครัวมีอาการปวดหลังจึงไม่สามารถทอผ้าได้ตามความต้องการของลูกค้า
การปฏิบัติงานเดือนนี้ ให้สมาชิกหาข้อมูลศักยภาพผ้าทอพื้นบ้านในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ
หมู่ที่รับผิดชอบ หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ไม่มีผ้าทอพื้นบ้าน
√  มีผ้าทอพื้นบ้าน

ลำดับ ประเภทของผ้า (ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ขายเป็นฝืน, รับทอ) ขนาด/ต่อผืน ราคาปลีก ราคาส่ง
1 รับทอ

ผ้าซิ่นตีนแดง

ชื่อนางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล) โทรศัพท์ 065-918-8742

ผืนละ 2 เมตร 600 บาท  

ชื่อนางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล) โทรศัพท์ 065-918-8742
(ผู้ให้ข้อมูล)

 

ลงพื้นที่อบรมร่วมกับกลุ่มทอผ้าในชุมชนตำบลสวายจีก

                             คณะทำงานร่วมกับกลุ่มทอผ้าในชุมชนตำบลสวายจีก ร่วมอบรมทำความเข้าใจในหัวข้อการแปรรูปผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ณ. หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในชุมชน ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และ ร่วมกันพูดคุยถึงปัญหาที่พบ คือ ปริมาณผ้าไหมที่ผลิตภายในชุมชนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ทางคณาจารย์ คณะทำงานและกลุ่มทอผ้าในชุมชน ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ต่อมาสมาชิกได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลผลิตที่ตัดเย็บได้ด้วยตนเอง, ข้อคิดเห็นจากการได้เข้าร่วมกิจกรรมและต้องการแนะนำเพื่อนหรือบุคคลที่รู้จักให้เข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่ โดยการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มทอผ้าในชุมชนตามหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ

แบบประเมินความคิดเห็นการเข้าร่วมกิจกรรม

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พื้นที่ คณะวิทยากรจัดการ : ตำบล สวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการ การแปรรูปผลิภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ

1. ผลผลิตที่ตัดเย็บได้ด้วยตนเอง
√ เสื้อคลุมสตรี          จำนวน………..1……….ตัว มีรายได้………290………..บาท
√ เสื้อเชิ้ตสุภาพบุรุษ จำนวน…………1………ตัว มีรายได้………290…………บาท
ยังไม่ได้ตัด เหตุผล…………-………………………………………………………………….……………

2. ข้อคิดเห็นจากการได้เข้าร่วมกิจกรรม

ข้อดีของการเข้าร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะจากการเข้าร่วมกิจกรรม
1. เพิ่มทักษะให้ตนเอง
2. มีรายได้เพิ่ม
3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3. ท่านต้องการแนะนำเพื่อนหรือบุคคลที่รู้จักให้เข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่
√ มี
ไม่มี
3.1 ชื่อ นางสายเรียง เกรัมย์ หมู่ที่ 11 เบอร์โทร 066-0241340

นางสาวเสมียน ชาติรัมย์ หมู่ที่ 11 เบอร์โทร 087-5583799
(ผู้ให้ข้อมูล)

 

องค์ความรู้ที่ได้รับ
การสร้างองค์ความรู้ ในพัฒนาการการแปรรูปผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านภายในชุมชน

 

VDO ประกอบการรายงานการปฏิบัติงาน

อื่นๆ

เมนู