โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์-U2T)
หลักสูตร-MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวลดาวรรณ จันทร์รุ่ง ประเภทบัณฑิตจบใหม่
ดิฉันได้รับผิดชอบให้ปฏิบัติงานบ้านถาวร หมู่ 8 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 มีการปฏิบัติงาน ดังนี้
ร่วมประชุมพูดคุยแนะนำและวางแผนการทำงาน ระหว่างผู้ดูแลโครงการและคณะทำงาน และได้รับเกียรติจากอาจารย์อุดม อาญาเมือง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เล่าเรื่องความเป็นมา การก่อตั้งชุมชนตำบลสวายจีกอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์
โดยมีตำนานเล่าการก่อตั้งชุมชนอยู่ 3-4 ตำนาน แต่โดยหลักๆที่คนทั่วไปทราบกันก็คือ คำว่า สวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่นคือภาษาเขมร สวาย ที่แปลว่า มะม่วง ส่วน จีก นั้นมาจากคำว่า กล้วย รวมกันเป็น มะม่วงกล้วย ซึ่งเป็นชื่อพันธุ์ของมะม่วง โดยสันนิษฐานว่าในท้องถิ่นเดิมมีมะม่วงพันธุ์นี้อยู่
และดำเนินกิจกรรมการนำเสนอการตัดเย็บเสื้อผ้าในหัวข้อ “ตามใจฉัน” จากฝีมือสมาชิกในโครงการซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการถักทอผ้าไหมและตัดเย็บเสื้อผ้าจากหมู่ต่างๆในตำบลสวายจีก ซึ่งก็มีการแสดงความรู้ความสามารถของตนเองออกมาได้หลากหลายรูปแบบและยังคงความสวยงามของผ้าท้องถิ่นสวายจีกได้เป็นอย่างดี
งานที่ได้รับผิดชอบ
ผลการออกแบบการแต่งกายตามความเหมาะสมของการใช้งานจากผ้าพื้นบ้านตำบลสวายจีก
ผู้ผลิต : นางสาวสำรวญ อาญาเมือง หมู่ที่ 8
ลักษณะของเสื้อ : เป็นเสื้อคลุมแขนยาว มีกระเป๋าทั้งสองข้าง ทำจากผ้าไหมพื้นบ้าน ที่ทอมือและตัดเย็บเอง
จุดเด่นของเสื้อ : เป็นผ้าไหมที่ได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง มีสีสันสดใส สะดุดตา สวมใส่ได้ทุกเทศกาล
ต้นทุน 300 บาท ราคาขาย 1,500 – 2,000 บาท
ปัญหาและอุปสรรคในการตัดเย็บ : ผ้าไหมที่ทอเองค่อนข้างที่จะตัดเย็บยากเพราะผ้าค่อนข้างแข็ง ต้องใช้ความประณีต และต้องเอาผ้ามาตัดเย็บที่ศาลาบ้านใหม่หมู่ 4 เนื่องจากที่บ้านไม่มีเครื่องจักร
การอบรมสาธิตวิธีการตัดเย็บเสื้อผ้าโดยวิธีการอัดกาวเพื่อคงสภาพเสื้อผ้า
กิจกรรมแจกน้ำโรงทานวันซ้อมรับปริญญาบัตรวิทยาลัยสงฆ์ ณ วัดเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์