BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY TO TAMBON : BRU2T
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)
หลักสูตร: MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อบทความ MS04ข้อมูลศักยภาพตำบลสวายจีก โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวณัฐวรรณ ปัจเถ ประเภทนักศึกษา
สำหรับการปฏิบัติงานดำเนินโครงการประจำเดือน ตุลาคม ดิฉันได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ดูแลโครงการให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งยังจัดทำข้อมูล ของตำบลสวายจีก และหมู่ 12 บ้านโคกฟาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 19 หมู่บ้านของตำบลสวายจีก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การปฎิบัติงานในเดือนตุลาคม
การประชุมการปฎิบัติงานเดือนตุลาคม 2564 MSO4 ตำบลสวายจีก
คณาจารย์และคณะได้ทำการประชุมออนไลน์ ในการวางแผนการดำเนินงานในเดือนตุลาคม แนะนำแนวทางของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และมีการแนะนำสมาชิกใหม่ที่เข้ามาร่วมโครงการ ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 1 คน บัณฑิตจบใหม่จำนวน 3 คน ประชาชนจำนวน 1 คน
กิจกรรมการปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก บ้านใหม่ หมู่ 4
ข้อมูลศักยภาพหมู่บ้านสวายจีก
บ้านสวายจีกเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่และมีความเก่าแก่ เป็นตำบลที่มีอาณาบริเวณของหลายหมู่บ้านไว้ด้วยกันดังนั้นความใหญ่โตทั้งทางด้านพื้นที่และมีชื่อเสียงที่โด่งดังไปหลายด้านจึงเป็นสวายจีก ที่เคยได้เป็นตำบลใหญ่ตำบลหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ในการตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นได้กำหนดตั้งชื่อเอาอย่างใดอย่างหนึ่งของท้องถิ่น เป็นชื่อของหมู่บ้านตำบลนั้น เพื่อเป็นเอกลักษณ์สำหรับบ้านสวายจีกนั้นก็มีหนองน้ำสองแห่งอยู่ในหมู่บ้าน จึงยึดเอาชื่อของทั้งสองหนองนี้มาเป็นชื่อของหมู่บ้าน ได้เป็นชื่อหมู่บ้านสวายจีก ลักษณะเด่น เป็นที่เนินสูงน้ำไม่ท่วม มีที่ราบลุ่มเหมาะทำการเพาะปลูก มีลำห้วยน้ำไหลลึก แหล่งหาปู ปลาเป็นอาหารและมีแหล่งน้ำไว้บริโภค อยู่ในที่ที่ใกล้กันอยู่ 2 แห่ง คือหนองสวาย (สวายหมายถึงมะม่วง) และอีกหนองหนึ่งคือหนองเจก (เจกหมายถึงกล้วย)
สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่ว ๆ ของตำบลสวายจีก แบ่งตามสภาพพื้นดินโดยใช้บ้ารสวายจีก เป็นศูนย์กลางสามารถแบ่งได้ดังนี้
ทางเหนือ ดินเป็นดินเหนียว ดินลูกรัง บางแห่งเป็นหินไม่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่
ทิศตะวันออก ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายใช้สำหรับทำนา บางแห่งเป็นเนินสามารถปลูกพืชไร่และทำสวนได้บ้าง
ทิศใต้ สภาพพื้นที่เป็นเนินต่ำ เป็นดินทรายใช้ทำนาได้อย่างเดียว
ทิศตะวันตก สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ดินเป็นดินเหนียว และดินลูกรัง เพาะปลูกทำสวนทำไร่
พื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลสวายจีกเป็นทางผ่าน ของถนนสายสำคัญหลายสาย เช่น ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 ถนนลาดยาง รพช.บร 11055 และมีพื้นที่ มีลำห้วยไหลผ่านช่วงกลางตำบล เรียกว่า ลำห้วยสวาย ประชากรประมาณร้อยละ34 – 40 มีที่นาในเขตชลประทาน สามารถผลิตข้าวส่งขายและมีเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอ
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมภายในตำบล ใช้การคมนาคมทางบก โดยทางรถยนต์เป็นหลักในการคมนาคม ติดต่อและขนส่งผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้เส้นทางสำคัญ ดังต่อไปนี้ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 (บุรีรัมย์-สุรินทร์) ,ถนนลาดยาง รพช.บร 11055 การคมนาคมติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง มีถนนลาดยาง รพช.บร 11055 เชื่อมการคมนาคติดต่อกับอำเภอพลับพลาชัย มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 เชื่อมการคมนาคมติดต่อกับอำเภอกระสัง และถนน รพช.บร 3003 เชื่อมการคมนาคมติดต่อกับอำเภอห้วยราช
ลักษณะทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลสวายจีก ส่วนใหญ่จะเป็นหินภูเขาและเป็นที่ตั้งของโรงงานโม่หินหลายโรงงาน และมีแร่ที่สำคัญ คือ หินบะซอลต์และหินแกรนิต ทรัพยากรแหล่งน้ำ ภายในตำบลสวายจีกมีลำห้วยที่สำคัญ ดังนี้ ลำห้วยตลาด ,ลำห้วยสะยาและลำห้วยตาแสง
ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ดังนี้
การเพาะปลูก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีกมีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าว นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผักและผลไม้ด้วยการปศุสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและจำหน่าย เช่น สุกร ไก่ เป็ด โค กระบือ ปลา ฯลฯ เป็นต้น
ลักษณะทางด้านสังคม
องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนหมู่บ้านในเขตปกครอง 19 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 11,698 คน ประกอบด้วย ชาย 5,890 คน หญิง 5,808 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 2,915 ครัวเรือน แบ่งตามหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่บ้าน | ชื่อหมู่บ้าน | ครัวเรือน | ประชากร | ชื่อกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||||
1 | บ้านสวายจีก | 178 | 357 | 379 | 736 | นายช้อย อาญาเมือง |
2 | บ้านสวายจีก | 185 | 299 | 354 | 653 | นายวิมล อาญาเมือง |
3 | บ้านหนองปรือ | 164 | 315 | 273 | 588 | นางสุดา ธนสุนทรสุทธิ์ |
4 | บ้านใหม่ | 107 | 211 | 204 | 415 | นายสมพร อาญาเมือง |
5 | บ้านมะค่าตะวันตก | 63 | 155 | 150 | 305 | นายบุญธง โกเทริปู |
6 | บ้านหนองพลวง | 101 | 196 | 205 | 401 | นายธวัชชัย เกรียรัมย์ |
7 | บ้านหนองขาม | 192 | 362 | 376 | 738 | นายระเบียบ กอยรัมย์ |
8 | บ้านถาวร | 209 | 505 | 478 | 983 | นายบุญล้อม กระสุนรัมย์ |
9 | บ้านหนองปรือน้อย | 191 | 415 | 395 | 810 | นายจูง อาญาเมือง |
10 | บ้านฝ้าย | 131 | 304 | 289 | 593 | นายไชยวัฒน์ กะเสมรัมย์ |
11 | บ้านมะค่าตะวันออก | 149 | 323 | 306 | 629 | นายลุนดอน คะรัมย์ |
12 | บ้านโคกฟาน | 115 | 241 | 249 | 490 | นายสมอาจ กระชุรัมย์ |
13 | บ้านโคกตาสิงห์ | 169 | 314 | 284 | 598 | นายจำลอง อาญาเมือง |
14 | บ้านสวายจีก | 167 | 304 | 332 | 636 | นายอินทร์ วิเชียรรัมย์ |
15 | บ้านโคกเปราะ | 128 | 276 | 264 | 540 | นายเยียร กระสังรัมย์ |
16 | บ้านพลวง | 265 | 531 | 480 | 1,011 | นายฉลวย พะชุ่มรัมย์ |
17 | บ้านเอกมัย | 125 | 242 | 254 | 496 | นางสุภาวดี เกรัมย์ |
18 | บ้านปรือพัฒนา | 196 | 391 | 400 | 791 | นายสมอินทร์ กระเชิญรัมย์ (กำนัน) |
19 | บ้านโคกหิน | 80 | 149 | 136 | 285 | นายศุภวัฒน์ชรศิริ เกือยรัมย์ |
รวม | 2,915 | 5,890 | 5,808 | 11,698 |
ด้านการสาธารณสุข และอนามัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสวายจีก จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 19 แห่ง
ด้านการศาสนาและวัฒนธรรม
ประชาชนในตำบลสวายจีกส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานที่สำคัญ ดังนี้
วัด จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ วัดโพธิ์ทอง,วัดบ้านหนองปรือ,วัดบ้านฝ้าย,วัดบ้านพลวง,วัดเจดีย์แดง สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์โคกตาสิงห์
ด้านการศึกษา
สถานศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ประกอบด้วย ศูนย์เด็กเล็ก (ถ่ายโอนจากกรมการศาสนา) จำนวน 1 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดบ้านหนองปรือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 7 แห่ง มัธยม 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
ที่ตั้ง และอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีพื้นที่ประมาณ 58.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,395 ไร่ โดยมีที่ทำการตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอระยะทางประมาณ 11.5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอิสาณ และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสองชั้น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ และตำบลเสม็ด
คณะกรรมการบริหาร
- นายชลิด อุตสารัมย์ นายกกองอำนวยการบริหารส่วนตำบลสวายจีก
- นายโกสิทธิ์ ปราศจาก รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
- นายอุดม อาญาเมือง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
- นายวินัย วิโสรัมย์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
- นางสาวพีรญา ตั้งสกุล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
ประเพณีสำคัญ
1.การทำบุญหมู่บ้าน
การทำบุญหมู่บ้านจะทำบุญกันในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี บ้านสวายจีกมีหลายหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะทำบุญไม่พร้อมกันแล้วแต่ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านจะตกลงกัน ไม่กำหนดวันแน่นอน ซึ่งจะมีการเรี่ยรายเงินจากชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ปีใดได้เงินมากเหลือจากหักค่าใช้จ่าย ก็จะบริจาคให้วัดหรือตั้งเป็นกองทุนในปีต่อไป
2.ประเพณีเรียกขวัญข้าว
ประเพณีเรียกขวัญข้าว จะทำพิธีกันในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณเดือน 3 ของทุกปี ซึ่งชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปรวมกันที่วัด เพื่อทำพิธีเรียก
3.การกวนข้าวทิพย์
ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ จะทำพิธีกันในช่วงข้าวตั้งท้อง ประมาณเดือน 11 เดือน 12 ชาวบ้านจะนำส่วนประกอบที่จะทำข้าวทิพย์ เช่น น้ำตาล มะพร้าว และอื่นๆ อีก แล้วแต่ใครมีอะไรก็นำไปรวมกัน แต่ถ้าปีใดเก็บเกี่ยวได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดี ก็เว้นไปทำปีต่อไป
กลุ่มผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน
- กลุ่มแม่บ้านสมุนไพรสวายจีก
- กลุ่มท้อผ้าไหม
- กลุ่มจักสาน
- กลุ่มอาชีพทำขนมไทย
- กลุ่มตีมีด
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร ที่ดำเนินการเพื่อสร้างอัตลักษณ์ขององค์กร และเกิดความภาคภูมิใจ ในการสวมใส่ผ้าไทยทุกวันอังคาร เพื่อสร้างการรับรู้ความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ในด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทุกภูมิภาคของประเทศและปลูกฝังความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ สู่นักท่องเที่ยวต่างประเทศและเพื่อให้เป็นต้นแบบแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ตระหนักถึง ความสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สนับสนุน และสืบสานเอกลักษณ์ประจำชาติไทย พร้อมทั้งสืบสาน การสวมใส่ใช้ผ้าไทยอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน จึงได้มีการพิจารณารณรงค์แต่งกายผ้าไทยและส่งเสริม ชุดไทยเป็นอัตลักษณ์ประจำชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสนับสนุน ส่งเสริม และสืบสาน เอกลักษณ์ประจำชาติไทย และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าและรักวัฒนธรรมไทย ตลอดจน มีส่วนร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมการแต่งกายด้วยผ้าไทยให้คงอยู่สืบไป
ข้อมูลศักยภาพบ้านโคกฟาน
หมู่ 12 บ้านโคกฟาน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อาชีพหลักของหมู่บ้าน คือ เกษตรกร ชาวบ้านในชุมชนเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก และมีการปลูกพืชผักผลไม้ตามครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ ผลผลิตที่ได้ใช้เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน คือ การทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการทอที่น้อยลง ชาวบ้านที่ยังทอผ้าอยู่มีเพียงแค่ 3-4 หลังคาเรือน ลักษณะเด่น คือ ผ้าจะมีสีสันสดใส
จำนวนประชากร
หมู่ 12 บ้านโคกฟาน มีครัวเรือนทั้งหมด 111 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 412 คน อาชีพหลักของหมู่บ้าน คือ เกษตรกร ชาวบ้านในชุมชนเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก และมีการปลูกพืชผักผลไม้ตามครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ ผลผลิตที่ได้ใช้เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน คือ การทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา
วัฒนธรรม
1.การทำบุญหมู่บ้าน
ช่วงเวลาที่จะทำบุญกันในช่วง เดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี ความสำคัญในการทำบุญบ้านกระทำเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์หมู่บ้าน จะทำเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้านจะช่วยกันบริจาคเงินในการจัดงานทำบุญหมู่บ้านร่วมกัน ถ้าหากปีใดมีเงินเหลือจ่ายหลังจากหักค่าใช้จ่าย ก็จะบริจาคให้กับวัด หรือตั้งเป็นกองทุนในปีต่อไป พิธีกรรมการทำบุญบ้านนั้น ชาวบ้านจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ในตอนเย็น หลังจากเสร็จจากพิธีกรรมทางสงฆ์แล้ว ชาวบ้านก็จะมีการ การร้องรำ ฟังเพลง กันทั้งคืนจนรุ่งสาง ตอนเช้าของอีกวันก็จะมีการนิมนต์พระมาเพื่อถวายภัตตาหารเช้าและเทศนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนตามแบบอย่างชาวพุทธ ซึ่งกิจกรรมในส่วนนี้ ก็จะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงนำอาหารมาถวายพระร่วมกันด้วย หลังจากเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้วชาวบ้านจะรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดการหล่อหลอมรวมกันทางจิตใจ ชาวบ้านเกิดความสามัคคีเพราะมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
2.ประเพณีเรียกขวัญข้าว
ช่วงเวลา จะทำพิธีกันในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณ 3 เดือน ของทุกปีความสำคัญ ประเพณีการเรียกขวัญข้าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการเรียกขวัญข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีเรียกขวัญข้าว พิธีกรรมจะจัดกันที่วัดในตอนเย็น ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกไปรวมกันที่วัด หมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญข้าว เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำข้าวไปเก็บไว้ที่ยุ้งฉางเพื่อความเป็นศิริมงคล
ผ้าพื้นบ้าน
การทอผ้าไหม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทงานหัตถกรรม และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา ผ้าไหมของบ้านโคกฟาน มีผู้ที่ยังทอเพียงไม่กี่รายเท่านั้น โดยหลัก ๆ ที่ยังคงสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าดั่งเดิมนี้ไว้
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานในตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คือ ด้วยสถานะการณ์โรคระบาดโควิด-19 และสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อน มีฝนตกบ่อยครั้ง จึงทำให้การลงพื้นที่มีความยาก
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในครั้งนี้ คือ ได้ฝึกการทํางานกับชุมชน ได้เรียนรู้เรื่องผ้าไหม ได้ศึกษาข้อมูลในชุมชน
วิดีโอการปฎิบัติงาน