โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)

หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อบทความ : MS04 – กิจกรรมอบรมการสร้างตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายและการจัดทำทำบัญชีครัวเรือน

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวณัฐญา  กระสุนรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่

การปฏิบัติงานประจำวันที่ 10-30 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564 นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ  ทันการ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งคณะทำงาน ร่วมกันทำกิจกรรม ณ  บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้

1.อบรมเรื่องการตลาดออนไลน์

การอบรมเรื่องการตลาดออนไลน์โดยมี อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา เป็นวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับการขายของออนไลน์ว่า การขายของออนไลน์มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1.ความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

2.สิ่งที่มนุษย์อยากมี แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านั้น มนุษย์ก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ข้อดี/ข้อเสีย ของการขายออนไลน์

ข้อดี

1.ต้นทุนการขายต่ำ ลดต้นทุนการเดินทาง

2.ตอบคุยกับลูกค้าได้ทุกที่ แค่เชื่อมอินเทอร์เน็ต

3.ทำงานคนเดียวได้ ไม่ต้องจ้างลูกจ้าง

4.ลูกค้าเข้าถึงได้ตลอดเวลา ไม่เสียเวลาเดินทาง

5.เปิดร้านค้าขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อเสีย

1.การแข่งขันสูง โดนตัดราคาง่าย

2.ผู้ซื้อ/ผู้ขาย ต้องมีความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต

3.ความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้ายังน้อยเมื่อเทียบกับการซื้อสินค้าโดยตรง

4.ไม่สามารถกำหนดสินค้าแพงกว่าท้องตลาดได้ อาจทำให้ขายสินค้ายากขึ้น

                

   

2.แนะนำแนวทางการทำสตอรี่ของสินค้า 

โดยมี อาจารย์วิทวัส สหวงษ์ เป็นวิทยากร ได้ให้คำแนะนำการทำสตอรี่ของผ้าในชุมชนว่าควรมีการทำสตอรี่ เพื่อทำให้สินค้านั้นดูมีความเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ ซึ่งสามารถทำให้การตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าของลูกค้านั้นมากยิ่งขึ้น และทำให้แบรนด์ของชุมชนนั้นเป็นที่รู้จักและไม่ซ้ำใคร

   

 

 

   

3.อบรมเรื่องบัญชีครัวเรือนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การอบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนได้มี อาจารย์สายฝน อุไร เป็นวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือนว่า บัญชีครัวเรือนนั้นเป็นการประยุกต์ทางการบัญชี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้จัดทำบัญชีครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและการออม และในที่สุดจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

องค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียง

1.ความพอประมาณ หมายถึง ความไม่น้อยและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล

3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมเกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ

วัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีครัวเรือน ก็เพื่อให้ผู้บันทึก

1.สามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ ไม่ใช้จ่ายเกินเงินคงเหลือ

2.ทราบถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว

3.สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและอดออม

ประโยชน์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือน

1.ผลการบันทึกบัญชีทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเป็นกำลังใจในการหารายได้เข้าสู่ครอบครัวมากขึ้น

2.การจัดทำบัญชีครัวเรือนมีประโยชน์สูงสุดในด้านที่ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และมีเงินออมเพิ่มขึ้น

3.หลังจากจดบันทึกบัญชีครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายลดลง มีหนี้สินลดลง และมีเงินออมเพิ่มขึ้น

สรุปได้ว่าเมื่อผู้ทำบัญชีครัวเรือนทำการบันทึกบัญชีจะทราบยอดคงเหลือของเงินที่เป็นปัจจุบันและสามารถวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตน เป็นผลให้สามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินที่ยังคงเหลืออยู่ได้อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้ไม่ใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ และสามารถควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง หาหนทางเพิ่มรายได้ และออมเงินให้มากขึ้น จะทำให้หนีสิ้นนั้นลดลง

   

   

   

4.กิจกรรมมอบเสื้อให้กับผู้นำชุมชนในตำบลสวายจีกทั้ง 19 หมู่บ้าน

โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา  ปาโนรัมย์ คณบดีคณะวิทยากรจัดการ ได้มาร่วมพูดคุยกับสมาชิกในโครงการ และมอบเสื้อให้กับผู้นำชุมชนทั้ง 19 หมู่บ้านในตำบลสวายจีก

   

   

   

VDO รายงานการปฏิบัติงาน

 

 

 

อื่นๆ

เมนู