BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY TO TAMBON : BRU2T

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)

หลักสูตร: MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อบทความ :MS04กิจกรรมยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวสโรชา หงษา ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ดิฉันนางสาวสโรชา หงษา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ MS04 ตำบลสวายจีก ผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม


คณาจารย์และคณะปฏิบัติงาน ได้มีการประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ในวันที่ 4 ตุลาคม 2564  ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายงานอุปสรรคปัญหาในการทำงานและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และแนวทางของโครงการ มีการแนะนำสมาชิกใหม่ที่เข้ามาร่วมโครงการ รุ่นที่3 จำนวน 5 คน ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 1 คน บัณฑิตจบใหม่จำนวน 3 คน ประชาชนจำนวน 1 คน ได้มีการชี้แจงการจัดกิจกกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน การจัดกิจกรรมลงพื้นที่ การปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนที่บ้านใหม่ หมู่4 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน การปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลสวายจีก

 

    

     

    

     

 

ประวัติตำบลสวายจีก


     สวายจีก เป็นหมู่บ้านๆหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีผู้กล่าวว่า เดิมทีก่อนจะมา เป็นสวายจีก มาจากหนองน้ำทั้งสองเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ ตะเปียงสวาย (หนองมะม่วง) และตะเปียงเจก (หนองกล้วย) เรียกมาเรื่อยๆโดยมีข้อสันนิฐานว่า คาดว่าสวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่น (ภาษาเขมร) สวาย แปลว่า มะม่วง ส่วนคำว่า จีก นั้น มาจากคำว่า เจก ซึ่ง แปลว่ากล้วย รวมเรียกว่า มะม่วงกล้วย ซึ่งสันนิฐานว่าในท้องถิ่นแห่งนี้มีมะม่วงพันธุ์นี้อยู่ ชาวบ้านสวายจีกมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวบ้านอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ หมู่ที่ 1 ทางทิศตะวันออก ส่วนอีกกลุ่มอพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก หมู่ที่ 17 ในปัจจุบัน และในอีกตำนานหนึ่งเล่าต่อกันมาว่า มีบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่คือ นายสวาย กับ นางเจก ได้อพยพมาจากบ้านสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จากที่นักโบราณคดีได้ศึกษาจากศิลาทราย พบว่าเป็นชุมชนที่อพยพมาจากขอมหรือเขมร ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทหินพิมาย ปัจจุัองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนหมู่บ้านในเขตปกครอง 19 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 11,985 คน ประกอบด้วย ชาย 6,022 คน หญิง 5,808 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 3,350 ครัวเรือน

ที่ตั้งตำบลสวายจีก มีพื้นที่ประมาณ 58.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,395 ไร่ โดยมีที่ทำการตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 12กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ ดังนี้ 

ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และองค์การบริหารส่วนตำบลสนวน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลหลักเขต อำเภอ เมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติหมู่บ้านโคกฟาน (หมู่ 12)

บ้านโคกฟาน หมู่ที่12 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ประมาณ15 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อาชีพหลักในหมู่บ้าน คือ เกษตรกร ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่จะเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก และมีการปลูกพืชผักผลไม้ตามครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ ผลผลิตที่ได้ใช้เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน คือ การทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน

ผ้าพื้นบ้าน
การทอผ้าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทงานหัตถกรรม และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน ในอดีตเป็นการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน หรืองานสังคมต่างๆ ในตำบลสวายจีกยังมีการทอผ้าแบบดั่งเดิม ผ้าที่ทอได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้ามัดหมี่ ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการทอที่น้อยลง ชาวบ้านที่ยังทอผ้าอยู่มีเพียงไม่กี่หลังคาเรือนที่ยังรับจ้างทอผ้าและทอผ้าขายจำหน่ายเอง ลักษณะเด่นของผ้าตำบลสวายจีก ส่วนใหญ่ผ้าจะมีสีสันสดใส เด่น และสะดุดตา ซึ่งในตำบลสวายจีกได้มีการประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมากยิ่งกว่าการใช้งาน คือความสวยงามและความมีเสน่ห์ของผ้าที่ทอเป็นการแสดงถึงความประณีตของคนที่ทอผ้าที่มีมาแต่ในอดีตและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบซึ่งยังสืบต่อมาถึงปัจจุบันนี้

รายชื่อผู้ผลิตผ้าพื้นบ้านในบ้านโคกฟาน(หมู่12)

1.นางสาว กระสังรัมย์

เบอร์โทร 094-5139419

บ้านเลขที่ 33 หมู่12 บ้านโคกฟาน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
ลักษณะผ้า: ผ้าไหม
ราคาขาย 1,200 บาท

 

2.นางฮวก แกมรัมย์

เบอร์โทร 081-6485695
ที่อยู่ หมู่ 12 บ้านโคกสูง ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

ลักษณะผ้า: ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าโสร่ง ผ้ามัดหมี่ ผ้าขาวม้า
ผ้าฝ้าย ราคาขาย 100 บาท
ผ้าไหม ราคาขาย 1,500-2,000 บาท
ผ้าโสร่ง ราคาขาย 400 บาท
ผ้ามัดหมี่ ราคาขาย 400 บาท
ผ้าขาวม้า ราคาขาย 100 บาท

     


                                                          

3.นางฉลวย กะซิรัมย์

เบอร์โทร 081-6485695
ที่อยู่ หมู่12 บ้านโคกฟาน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
ลักษณะผ้า: ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าโสร่ง ผ้ามัดหมี่ ผ้าขาวม้า
ผ้าฝ้าย ราคาขาย 100 บาท
ผ้าไหม ราคาขาย 1,500-2,000 บาท
ผ้าโสร่ง ราคาขาย 400 บาท
ผ้ามัดหมี่ ราคาขาย 400 บาท
ผ้าขาวม้า ราคาขาย 100 บาท


4.นางละเอียด วิไทราชฎร์

เบอร์โทร 081-6485695
ทีอยู่ หมู่12 บ้านโคกสูง ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
ลักษณะผ้า: ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าโสร่ง ผ้ามัดหมี่ ผ้าขาวม้า
ผ้าฝ้าย ราคาขาย 100 บาท
ผ้าไหม ราคาขาย 1,500-2,000 บาท
ผ้าโสร่ง ราคาขาย 400 บาท
ผ้ามัดหมี่ ราคาขาย 400 บาท
ผ้าขาวม้า ราคาขาย 100 บาท 

 

วิดีโอการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู