ผลการสำรวจข้อมูล CBD

บ้านหนองพลวง ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

                  บ้านหนองพลวง หมู่ 6  จำนวนประชากร 399 คน 96 หลังคาเรือน  ชาย 197 คน   หญิง 202 คน  อาชีพ   การเพาะปลูก  ในเขตบ้านหนองพลวงมีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ  คือ    การเพาะปลูกข้าว  ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ  พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าว  นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผักและผลไม้ด้วย การปศุสัตว์  ในบ้านหนองพลวง มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและ จำหน่าย  เช่น  สุกร  ไก่  เป็ด  โค  กระบือ  ปลา  ฯลฯ  เป็นต้น

วัดเจดีย์แดง  สถานที่ตั้ง หมู่ 6 บ้านหนองพลวง ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000    ลักษณะเด่น ประดิษฐาน พระไม้ตะเคียนทอง ปางไสยาสน์ แหล่งน้ำ 1 แห่ง สระน้ำสาธารณะประโยชณ์ ของชุมชน สภาพภูมิอากาศ  ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคอีสาน ซึ่งสภาพภูมิอากาศบริเวณนี้มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 70% วัฒนธรรม วัฒนธรรมเขมร เช่น การแสนโฎนตา ภูมิปัญญาเรื่องผ้าพื้นบ้านบ้านหนองพลวงหมู่ 6 ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำไหม หรือผ้าไหม ภูมิปัญญาทั่วไป เรื่อง การทำเสื่อกก   ชื่อ-นามสกุล ยายแทะ โกเทวิทูญผลผลิตที่มี เสื่อกกลวดลายต่างๆ อาทิตย์ 1-3 ผืน แหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้าน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม

ชาติพันธ์ุในหมู่บ้าน

ลำดับที่ 1 กลุ่มคนเขมร เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากบ้านสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ครั้งแรกกลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณที่เรียกว่า “โคกบ้าน” โดยมีนายสวายและนางเจ๊ก เป็นหัวหน้าคณะและมีหลวงพ่อเรไร เป็นผู้ติดตามมาด้วย คำว่า “โคกบ้าน” คือบริเวณหมู่ที่ 1 ในปัจจุบัน และเป็นบริเวณที่เคยเป็นสระน้ำโบราณ ที่ชื่อ “หนองตาเจน” ในยุคนั้นคนเขมรกลุ่มนี้จะมีภาษาเขมรเป็นภาษาพูดไม่สามารถพูดไทยได้เลย

ลำดับที่ 2 กลุ่มคนไทย เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากบ้านพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีครอบครัวของนายคำ โกพิมาย ได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยร่วมกันกับชาวเขมรในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่มาก่อน โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตก ปัจจุบัน คือ หมู่ที่ ๑๗ บ้านเอกมัย บริเวณข้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก คนไทยกลุ่มนี้มักตั้งบ้านเรือนอยู่แยกคุ้มกับชาวเขมร มีภาษาไทยโคราช (พิมาย) เป็นภาษาพูด และเนื่องจากว่าสมัยโบราณนั้นกลุ่มไทยบ้านสวายจีกเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ร่วมกับชุมชนของชาวเขมรโบราณแถบจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนั้น จึงเป็นคนกลุ่มเดียวที่สามารถใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารกับทางราชการได้ จึงมักถูกทางราชการเชิญไปเป็นล่ามให้กลุ่มอื่นๆ เช่น กรณีเมื่อมีคดีความเกิดขึ้น ทางตำรวจหรือทางอำเภอจะเชิญคนไทยบ้านสวายจีกไปเป็นล่ามให้กับคนเขมร จนต่อมาเมื่อต้องอยู่อาศัยร่วมกันกับคนเขมรในบ้านสวายจีก การติดต่อสื่อสารของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางด้านภาษา จึงพบว่า ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ได้มีการผสมผสานทางภาษาระหว่างกัน จึงทำให้ชาวบ้านสวายจีกมีภาษาพูดเป็นของตนเอง คือ ภาษาสวายจีก (เป็นคำพูดภาษาไทยแต่สำเนียงเขมร หรือไทยปนเขมร) นอกจากภาษายังมีการแต่งงานระหว่างคนไทยกับคนเขมร มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมทั้งกับคนในหมู่บ้านและคนภายนอก นับว่าเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน

ลำดับที่ 3 กลุ่มคนจีน ที่อพยพเข้ามาอาศัยในหมู่บ้านในช่วงหลัง คือ กลุ่มคนจีนจากเมืองกวางตุ้ง และทั้งหมดล้วนเป็นญาติพี่น้องกันทั้งสิ้น มีตระกูลแซ่ตั้งและแซ่อึ้ง ส่วนใหญ่อาชีพค้าขายเป็นหลักโดยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณสี่แยกของหมู่ที่ 2 ช่วงกลางของหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันคนจีนกลุ่มนี้ต่างได้อพยพไปตั้งรกรากในตัวเมืองบุรีรัมย์ สำหรับบทบาทของชาวจีนในหมู่บ้าน ด้วยจำนวนที่เหลือน้อยและได้ย้ายออกไปตั้งรกรากทำมาหากินยังที่อื่น ทำให้ความเข้มข้นทางชาติพันธุ์หากเปรียบเทียบกับชาติพันธุ์เขมรในบ้านสวายจีก ถือว่าเลือนรางหรือแทบจะมองไม่เห็นและมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมไปหมดแล้ว ด้วยวัฒนธรรมประเพณีที่ยึดถือร่วมกับคนเขมรส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน

 

อื่นๆ

เมนู