วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้มีการประชุม อธิบายรายละเอียดการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการแบ่งกลุ่มการทำงานออกเป็น 5 กลุ่ม ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของตำบลสวายจีก ซึ่งมีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน โดยดิฉันและคณะรับผิดชอบ บ้านหนองปรือ หมู่ 3 บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ 11 และบ้านพลวง หมู่ 16 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะปฏิบัติงานในกลุ่มดิฉันมี 3 คน ประกอบไปด้วย
- นางสาวปัณฑารีย์ ยอดกระโทก
- นางสาวลดาวรรณ จันทร์รุ่ง
- นางสาวมัณฑนา แผ้วพลสง (ผู้เขียนบทความ)
ดิฉันและคณะปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจตามพื้นที่ที่ได้รับหมอบหมาย คือ บ้านหนองปรือ หมู่ 3 บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ 11 และบ้านพลวง หมู่ 16 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้สอบถามข้อมูลครัวเรือนและชุมชน ตามแบบฟอร์ม 01 และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามแบบฟอร์ม 02 เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป จากการสำรวจ พบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และมีการเลี้ยงวัว ควาย เป็นจำนวนมาก การทำนาจะทำนาปีละ 1 ครั้ง โดยจะการแบ่งผลผลิตที่ได้ไว้เพื่ออุปโภค บริโภคและขายเพื่อนำเงินมาชำระค่าใช้จ่ายที่ได้ลงทุนไป ได้แก่ ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น จากการสำรวจและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด 19 พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ทราบถึงสถานการณ์ อาการเบื้องต้นและทราบถึงสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนมีการสวมหน้ากากอนามัยและมีการล้างมือเป็นประจำในระหว่างวัน
จากการลงพื้นที่ทำงานภายในตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันได้รับความรู้และประสบการณ์การทำงานร่วมกับประชาชนในชุมชน การทำงานเป็นกลุ่ม ได้เรียนรู้การประสานงานร่วมกับผู้นำชุมชน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และได้เรียนรู้วิถีชีวิตของประชาชนในแต่ละชุมชน