กระผม นายคฑาวุธ บุตรสุด ประเภทประชาชนตำบลสวายจีก ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ร่วมกับทีมสมาชิก ได้แก่
1.นายคฑาวุธ บุตรสุด
2.นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ
3. นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด
ได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในหมู่บ้านต่อไปนี้
1. หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือน้อย มีจำนวน 186 ครัวเรือน
2. หมู่ที่ 14 บ้านสวายจีก มีจำนวน 166 ครัวเรือน
3. หมู่ที่ 15 บ้านโคกเปราะ มีจำนวน 118 ครัวเรือน
รวม มีจำนวน 470 ครัวเรือน
กระผมและทีมงานได้ลงพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยได้สอบถามข้อมูลครัวเรือนและชุมชน ตามแบบฟอร์ม 01 และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามแบบฟอร์ม 02 เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป จากการสำรวจ พบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และมีการเลี้ยงวัว ควาย เป็นจำนวนมาก การทำนาจะทำนาปีละ 1 ครั้ง โดยจะการแบ่งผลผลิตที่ได้ไว้เพื่ออุปโภค บริโภคและขายเพื่อนำเงินมาชำระค่าใช้จ่ายที่ได้ลงทุนไป ได้แก่ ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น จากการสำรวจและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด 19 พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ค่อนข้างมีภูมิต้านทานต่ำ แต่ส่วนใหญ่ก็ทราบถึงสถานการณ์ อาการเบื้องต้นและทราบถึงสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนมีการสวมหน้ากากอนามัยและมีการล้างมือเป็นประจำในระหว่างวัน
จากการลงพื้นที่.ทางทีมงานได้รับความอนุเคราะห์จากผู้นำชุมชนในการลงพื้นที่การสำรวจในครั้งนี้.จึงทำให้การทำงานลุล่วงไปด้วยดี