ดิฉัน นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวกิตติยา เหิมฉลาด ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คณะทำงานได้แก่
1. นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ
2. นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด
3. นายคฑาวุธ บุตรสุด
ได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ.
1. หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือน้อย มีจำนวน 186 ครัวเรือน
2. หมู่ที่ 14 บ้านสวายจีก มีจำนวน 166 ครัวเรือน
3. หมู่ที่ 15 บ้านโคกเปราะ มีจำนวน 118 ครัวเรือน
4. หมู่ที่ 7 บ้านหนองขาม มีจำนวน 184 ครัวเรือน (เพิ่มเติม)
รวม มีจำนวน 654 ครัวเรือน
จากการลงพื้นที่ในเดือนที่ผ่านมา ทำให้เห็นได้ว่าในพื้นที่หมู่ 7 หมู่ 9 หมู่ 14 และหมู่ 15 ตำบลสวายจีก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและมีการทอผ้าเพื่อสร้างรายได้อีกช่องทาง
ผลิตภัณฑ์หลักๆของหมู่ 7 ไม่ม่อะไรโดดเด่นชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม และมีรายได้เสริมจากการปลูกผักขายในตลาดในชุมชุน คือตลาดสวายจีก
ผลิตภัณฑ์หลักๆของหมู่ 9 จะโดดเด่นในเรื่องของการปลูกฝรั่งกิมจู และเป็นแหล่งทองเที่ยวเชิงเกษตร ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือทำนา รองลงมาจะเป็นการปลูกฝรั่งกิมจูเพื่อสร้างอาชีพและรายได้
ผลิตภัณฑ์หลักๆของหมู่ 14 โดดเด่นในเรื่องของปลาร้า ชื่อร้านว่าปลาร้าป้าหวาน ส่งออกขายทั่วประเทศ มีทั้งปลาร้าสับ น้ำปลาร้า กุ้งจ่อม ฯ
ผลิตภัณฑ์หลักๆของหมู่ 15 ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เลี้ยงวัว ควาย แต่ก็มีบ้างบ้านก็ยังคงทอผ้าอยู่บ้าง แต่ทอผ้าไว้สำหรับใช้เอง ไม่ได้ทอไว้สำหรับขาย
ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้นำข้อมูลที่สำรวจเพื่อทำการวิเคราะห์ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดระบาด ทำให้อุปสรรคในการลงพื้นที่สำรวจเพื่อเก็บข้อมูลในชุมชนมาวิเคราะห์เพิ่มเติมนั้น ก่อให้เกิดการประสานงานติดขัดไปบ้างเล็กน้อย
สวนฝรั่งกิมจู การทอผ้าไหมเพื่อใช้เอง
แหล่งผลิตปลาร้า แหล่งผลิตปลาร้า
แปลงผักของชาวบ้าน