โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)
ดิฉันนางสาวอภิญญา คลีกร ประเภทนักศึกษา การปฎิบัติงานประจำเดือนตุลาคมคณาจารย์และคณะปฏิบัติงานชุมชนสวายจีก ได้ดำเนินการทำงานโดยการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาปรับปรุงการประชุมว่างแผนการปฏิบัติงานคณาจารย์และคณะทำงานร่วมประชุมออนไลน์(เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดจึงงดการรวมตัว) คณาจารย์และคณะทำงานได้สรุปผลการทำงานของเดือนกันยายนและร่วมวางแผนการดำเนินงานเดือนตุลาคมภายใต้สถานการณโรคระบาด
covid -19 จึงได้มีการปรับการทำงานใหม่เพื่อให้เกิดการ รัดกุม ในการทำงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ
วาระการประชุม
1. คณาจารย์และคณะทำงานต้อนรับสมาชิกใหม่ จาก โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1
มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ รุ่นที่ 3 ได้แก่
1.1 นักศึกษาจำนวน 1 คน
1.2 บัณฑิตจบใหม่จำนวน 3 คน
1.3 ประชาชนจำนวน 1 คน
2. ชี้แจงการลงเวลางานและการลางานสำหรับสมาชิกใหม่
3. ชี้แจงการจัดกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ชุมชนวัตวิถี การปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนตำบล
สวายจีก ณ.บ้านใหม่ หมู่ที่ 4
ภาพประกอบ
เส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน หมู่ที่4 บ้านใหม่
ประวัติความเป็นมาหมู่4 บ้านใหม่
ของบ้านใหม่ ต สวายจีก เดิมชื่อบ้านตาไกรตั้งตามซื่อผู้ที่มาตั้งถิ่นฐานคนแรก คือ คุณตาไกรและคุณยายดา อินทรีสอน สันนิฐานว่าอพยพมาจากประเทศกัมพูชาเมื่อ 200 กว่าปีก่อนมีผู้ใหญ่บ้าน บ้านคนแรกคือ นาเขียว อาญาเมืองต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านใหม่ แล:มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ดอน ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของชาวจังหวัดบุรีรัมย์โดยในสมัยก่อนหลวงปู่ด่อน ได้มาทำอิฐที่บ้านใหม่ < เนื่องจากพื้นที่ของบ้านใหม่มีดินเหนียวแดง ซึ่งมีคุณภาพในการทำอิฐเป็นอย่างดี เพื่อนำไปสร้าง อุโบสดวัดหนองปรือ
แหล่งท่องเที่ยว
-นวัตวิถีแหล่งท่องเที่ยวของหมู่ 4 จะเป็นจุดเช็คอินและศูรย์เรียนรูู้การเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มขนมไทย กลุ่มตีมีด
กลุ่มสมุนไพร และโฮมสเตย์ในชุมชน
ภาพประกอบ
แซนโฎนตา
ความหมายของแซนโฎนตา ก็คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุาศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษหรือญาติที่ใกล้ชิด และหมายรวมทั้งผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครด้วย
ประเพณีแซนโฎนตาเริ่มต้น ดังนี้
1. วันเบ็ณฑ์ตู๊จหรือวันเบ็ณฑ์เล็ก คือวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
2. วันกันซ็อง หรือกันเบ็ณฑ์ เป็นวันหลังจากวันเบ็ญฑ์ตู๊จ คือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตอนเช้าและเพล ชาวบ้านจะไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่วัด
3. วันแซนโฎนตา หรือวันเบ็ณฑ์ธม (วันสารทใหญ่) คือวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ญาติพี่น้องทุกคนต้องร่วมกันทำบุญที่วัด เป็นหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้าน
**คำว่า “เบ็ณฑ์” ตรงกับภาษาไทยว่าบิณฑ แปลว่า การรวมให้เป็นก้อน การปั้นให้เป็นก้อน การหาเลี้ยงชีวิตหรือหมายถึงก้อนข้าว
สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา
แต่ละบ้านจะทำพิธีแซนโฎนตาแล้วแต่เวลาตามสะดวก สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา ได้แก่
- กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่า
- เสื้อผ้าใหม่ ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ พร้อมแป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจก
- สำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็ดต้ม 1 ตัว ไก่ต้ม 1 ตัว หรืออานมีหัวหมู ตามแต่ฐานะ
- กับข้าวต่างๆ
- ขนมต่างๆ ได้แก่ ขนมข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ กันกันเตรือม ขนมกันตางราง ขนมนางเล็ด ขนมไข่หงส์ ขนมข้าวเกรียบ ขนมข้าวพอง
- ผลไม้ต่างๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนและกล้วยน้ำว้าสุก
- น้ำดื่ม เหล้า ตามแต่เห็นสมควร
- เทียน 2 เล่ม จุดไว้อย่าให้ดับ
- กระถางธูปและธูป ไว้สำหรับจุดเวลาเซ่น และจะใช้ปักไว้ตามจานอาหารด้วย (ขอบคุณข้อมูลจาก www.sac.or.th )
ภาพประกอบ
วีดีโอ