ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ MS04-011
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

คณาจารย์และคณะทำงานร่วมประชุมออนไลน์(เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดจึงงดการรวมตัว) คณาจารย์และคณะทำงานได้สรุปผลการทำงานของเดือนกันยายนและร่วมวางแผนการดำเนินงานเดือนตุลาคมภายใต้สถานการณ์โรคระบาด covid-19 จึงได้มีการปรับการทำงานใหม่เพื่อให้เกิดการ รัดกุม ในการทำงาน ในการประชุมออนไลน์ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายงานอุปสรรคปัญหา ในการทำงานและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในเดือนต่อไป เพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และแนวทาง ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วาระการประชุม

1. คณาจารย์และคณะทำงานต้อนรับสมาชิกใหม่ จาก โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รุ่นที่ 3 ได้แก่
นักศึกษาจำนวน 1 คน
บัณฑิตจบใหม่จำนวน 3 คน
ประชาชนจำนวน 1 คน
2. ชี้แจงการลงเวลางานและการลางานสำหรับสมาชิกใหม่
3. ชี้แจงการจัดกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ชุมชนวัตวิถี การปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก ณ.บ้านใหม่ หมู่ที่ 4

 

เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน หมู่ที่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก

1.ชื่อแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม “ผ้าไหมทอมือป้าถวิลบ้านมะค่าตะวันออก”

ประวัติความเป็นมา
นางสาวถวิล หงส์ทอง (ป้าถวิล) อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้ข้อมูลว่า เดิมป้าถวิลอาศัยอยู่ที่บ้านหลักเขต ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้แต่งงานและย้ายมาอยู่บ้านสามีที่ บ้านมะค่าตะวันออก หมู่ 11 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มแรกที่ทอผ้าเป็น คือ การไปเรียนผูกดอกลายผ้าไหม/ผ้าซิ่น โดยแม่ของป้าถวิลเป็นคนแนะนำให้เรียน พอเรียนและทอจนได้ผ้าซิ่นมา 2 ผืน ก็หยุดทอผ้าและไปทำงานอยู่กรุงเทพฯ อยู่หลายปี ต่อมาได้กลับมาเลี้ยงหลานอยู่ที่บ้านมะค่าตะวันออกคืน

หลังจากนั้นน้องสาวของป้าถวิลสนใจที่จะทำป้าถวิลจึงได้นำความรู้ที่เคยได้เรียนและได้ทำมาสอนน้องสาว โดยการจะเรียนทอผ้านั้นตามความเชื่อต้องมีการตั้งครูก่อน โดยมีเหล้าขาว 1 ขวด น้ำอัดลม 1 ขวด และเงินอีก 126 บาท เพราะเชื่อผ้าถ้าได้ตั้งครูก่อนการเรียนจะทำให้ผู้เรียนจดจำวิธีการทอผ้าได้ แต่ถ้าหากไม่ได้ตั้งครูก่อนการเรียนจะทำให้ ไม่สามารถจดจำวิธีการทอผ้าได้ และป้าถวิลยังได้เล่าต่อว่า หลังจากกลับจากกรุงเทพฯ ได้ 2 ปี ป้าถวิลก็ได้กลับมาทอผ้าจนถึงปัจจุบัน โดยป้าถวิลเล่าต่อว่า ทำเป็นกิจกรรมยามว่างร่วมกับการเลี้ยงหลานไปด้วย เพราะตั้งใจที่จะทอเก็บไว้ให้หลานๆ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีคนทอผ้าน้อย จึงมีคนมาติดต่อขอซื้อและได้จำหน่ายออกไปบ้างบางส่วน

 

ลักษณะเด่น
ผ้าที่คุณป้าถวิลผลิต ณ. ตอนนี้ คือ ผ้าซิ่นตีนแดง ด้ายที่ใช้ในการผลิตผ้าไหมคือ ด้ายมัดหมี่ จำหน่วยเป็นผืนละ 2 เมตร ในราคาผืนละ 600 บาท ซึ่งแต่ละลายผ้าจะต้องใช้ความประณีตในการทำจนกว่าจะได้อออกมาแต่ละผืน

ลักษณะพิเศษของผ้าซิ่นมัดหมี่ตีนแดง เป็นผ้าไหมที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ เป็นผ้าที่ทอด้วยไหมทั้งผืน แต่เฉพาะ หัวซิ่นและตีนซิ่นทุกผืนจะเป็นพื้นสีแดงสด ตอนกลางของผ้าจะเป็นลายมัดหมี่ เรียกว่าหมี่ขอ จะเป็นสีดำ สีน้ำตาลเหลือบทอง จะทอเป็นผืนเดียวกัน ลายมัดหมี่ขึ้นอยู่กับผู้ทอเลือกลาย

2. ชื่อแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น “วัวแดง ค่าเฟ่ Wua Daeng Café”

          บ้านมะค่าตะวันออก มีแหล่งท่องเที่ยว คือ วัวแดงคาเฟ่ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ 11 ตำบล สวายจีก ในเมือง บุรีรัมย์ 31000 คาเฟ่แห่งนี้ ภายในมีทั้งร้านอาหาร ห้องพักวิลล่า จุดแคมป์และลานแคมป์ ให้ลูกค้าได้มาพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งยังมีจุดให้ถ่ายภาพสวยๆ ท่ามกลางธรรมชาติ มีทั้งเสียงนกร้องยามเช้า พร้อมทั้งกิจกรรมให้อาหารปลา โดยวัวแดงคาเฟ่อยู่ห่างจากในเมืองบุรีรัมย์ประมาณ13 กิโลเมตร และห่างจากสนามช้างอารีน่า ประมาณ 10 กิโลเมตร

ลักษณะเด่น
วัวแดง คาเฟ่ (Wua Daeng Cafe) ตั้งอยู่ในเมืองบุรีรัมย์, สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยบรรยากาศธรรมชาติเงียบสงบ. วัวแดง คาเฟ่ มีบริการทั้งหมด 10 ห้องนอน แต่ละห้องเป็นห้อง Standard Room พร้อมเครื่องปรับอากาศ ห้องน้ำส่วนตัว พร้อมน้ำอุ่น ห้องพักเป็นห้องปรับอากาศ พร้อมอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ฟรี มีทีวีจอแบน ตู้เย็นและน้ำดื่่ม 2 ขวด โรงแรมแห่งนี้เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และบริการ สวน ที่จอดรถ ฟรีสัญญาณWiFi ทั่วพื้นที่

 

แซนโฎนตา ประเพณีเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษ ของชาวไทยเชื้อสายเขมร

             แซนโฎนตา อาจเรียกว่า เป็นประเพณีในเทศกาลสารท บางคนก็เรียกว่า “สารทเขมร” แซนโฎนตา เป็น ภาษาเขมรแซนโฎนตาเป็นภาษาเขมร คำว่า “แซน” ภาษาไทยตรงกับคำว่า “เซ่น” หมายถึงการเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ยายตา ใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ ญาติโกโหติกา

ความหมายของแซนโฎนตา ก็คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษหรือญาติที่ใกล้ชิดประเพณีแซนโฎนตาเริ่มต้น ดังนี้
1. วันเบ็ณฑ์ตู๊จหรือวันเบ็ณฑ์เล็ก คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
2. วันแซนโฎนตาหรือวันเบ็ณฑ์ธม (วันสารทใหญ่) คือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ญาติพี่น้องทุกคนร่วมกันทำบุญที่วัดและมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้านเย็น
สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตาได้แก่

• กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่า
• เสื้อผ้าใหม่ ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ พร้อมแป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจก
• สำรับกับข้าว 1 สำรับ
• ขนมต่างๆ ได้แก่ ขนมข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมกระยาสาท ขนมนางเล็ดและอื่นๆตามความสะดวก
• ผลไม้ต่างๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนและกล้วยน้ำว้าสุก
• น้ำดื่ม เหล้าและน้ำหวานตามแต่เห็นสมควร
• เทียน 2 เล่ม จุดไว้อย่าให้ดับ
• กระถางธูปและธูป ไว้สำหรับจุดเวลาเซ่น และจะใช้ปักไว้ตามจานอาหาร

ของเซ่นไหว้ที่สำคัญของประเพณีนี้คือ ข้าวต้มมัด ข้าวต้มมัดที่ชาวบ้านนิยมทำเป็นขนมที่ทำด้วยข้าวเหนียวผสมด้วยกะทิ ถั่ว กล้วย หรือส่วนผสมอื่นๆ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาจห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบกล้วย

เหตุผลที่จัดงานเดือนสิบ
เหตุที่จัดงานบุญกันในเดือน 10 นี้ ก็ด้วยว่า เดือนนี้ตอนกลางคืนพระจันทร์จะอับแสงและมือดกว่าเดือนอื่นๆ เชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ยมบาลจะปลดปล่อยวิญญาณ ให้ขึ้นมาปะปนกับมนุษย์บนโลก เพื่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องและรอรับส่วนบุญ ทั้งจากญาติพี่น้องและบุคคลอื่น โดยผ่านพิธีกรรมการทำบุญอุทิศไปให้..

ตำนานเรื่องเล่า..
เล่ากันว่าในสมัยก่อน ช่วงเทศกาลแซนโฎนตา พอตกกลางคืนคนมักจะได้ยินเสียงคนคุยกันที่ใต้ถุนเรือน เมื่อมองลอดช่องพื้นกระดานลงไปจะเห็นคนผมหงอกผมดำนั่งผิงไฟคุยกัน แต่ฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดภาษาอะไร คนเฒ่าคนแก่บอกว่านั่นคือ “ขม๊อจโฎนตา” หรือผีปู่ย่าตายาย ที่เทวดาท่านปล่อยให้มาเยี่ยมลูกหลานและรับส่วนบุญกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้

ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตาจะมีประเพณีที่เรียกว่า “จูนโฎนตา” คือ บรรดาลูกหลานญาติพี่น้องจะกลับมาบ้านมาไหว้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และจะนำเอามะพร้าว ข้าวสารเหนียว ขนมต่างๆ มามอบให้ หรืออาจมอบเงินด้วย เพื่อให้ท่านได้ใช้ทำบุญในประเพณีแซนโฎนตา หากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพและมอบข้าวของเงินทองให้ หรือถ้าทำไม่ได้ก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายพระที่วัดแทน เหมือนกับเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับ…
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.sac.or.th

 

กิจกรรมการสร้างและพัฒนาการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชน

    คณาจารย์และคณะทำงานร่วมกันทำกิจกรรมการสร้างและพัฒนาการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชน การสร้างชุมชนนวัตวิถี การปรับแต่งภูมิทัศน์ ทำความสะอาดศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก ณ.หมู่ที่ 4 บ้านใหม่

 

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและเก็บภาพจากชุมชนที่ดิฉันได้รับผิดชอบลำดับต่อมาดิฉันได้นำข้อมูลและภาพประกอบที่ได้มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงานเพื่อนำส่งให้กับหน่วยงาน จากนั้นนำข้อมูลและภาพประกอบที่ได้เข้าสู่ระบบออนไลน์ตามที่หน่วยงานได้กำหนดให้

 

องค์ความรู้ที่ได้รับ

แซนโฎนตา อาจเรียกว่า เป็นประเพณีในเทศกาลสารท บางคนก็เรียกว่า “สารทเขมร” แซนโฎนตา เป็น ภาษาเขมรแซนโฎนตาเป็นภาษาเขมร คำว่า “แซน” ภาษาไทยตรงกับคำว่า “เซ่น” หมายถึงการเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ยายตา ใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ ญาติโกโหติกา

 

VDO รายงานการปฏิบัติงาน

 

อื่นๆ

เมนู