โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)

ลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อบทความ : กิจกรรมการสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว)ชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีครับ กระผมนายฐิติชัย อาจทวีกุล ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต หลักสูตร MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม .. 2564  มีดังนี้

 1. แนะนำและต้อนรับสมาชิกใหม่ ในหลักสูตร MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

2. วางแผนการทำงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2564

ในวันที่ 7 ตุลาคม .. 2564 

นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ และคณะผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมสร้างศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชน ณ ศาลาประชาคม บ้านใหม่ หมู่ มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ ทำความสะอาด ทาสีห้องประชุม

ภาพกิจกรรม

   

   

ในวันที่ 16 ตุลาคม .. 2564 

                นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ และคณะผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมนำเสนอเสื้อของสมาชิกในโครงการ ณ ศาลาประชาคม บ้านใหม่ หมู่ มีการโชว์เสื้อผ้าที่ชาวบ้านได้ตัดเย็บเอง และความต้องการของชาวบ้านที่อยากมีความรู้ด้านการตัดเย็บมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาการตัดเย็บของตนเอง 

ภาพกิจกรรม

   

   

การลงพื้นที่สำรวจและสอบถามข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนบ้านปรือพัฒนา หมู่ 18 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้

ประวัติความเป็นมาบ้านปรือพัฒนา หมู่ที่ 18

                   บ้านปรือพัฒนา หมู่ที่ 18 โดยตั้งแต่เดิมจะรวมอยู่กับบ้านหนองปรือ หมู่ 3 และได้แยกหมู่บ้าน โดยกระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งให้เป็นหมู่ที่ 18 ของตำบลสวายจีก และตั้งชื่อว่า  บ้านปรืพัฒนา สาเหตุที่แยกหมู่บ้าน เนื่องจากประชากรมีความหนาแน่น บ้านปรือพัฒนามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 500 ไร่  ลักษณะพื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย มีกองทุนหมู่บ้าน 2 กองทุ่น มีกองทุนเงินล้านและกองทุนปุ๋ยเพื่อเกษตรกร และมีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนอื่น ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ         บ้านหนองขาม                หมู่ที่ 7

ทิศใต้                 ติดต่อกับ         บ้านมะค่าตะวันออก       หมู่ที่ 11

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         บ้านหนองปรือน้อย        หมู่ที่ 9

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ         บ้านหนองปรือ               หมู่ที่ 3

แบ่งคุ้มบ้านออกเป็น 4 คุ้มหลัก คือ

  1. คุ้มเหนือนครพิงค์
  2. คุ้มอีสานบูรพา
  3. คุ้มใต้นครพิงค์
  4. คุ้มตะวันแดง

 

จำนวนประชากร

                   ชุมชนบ้านปรือพัฒนา มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 179 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 740 คน แยกเป็น เพศชาย 320 คเพศหญิง 420 คน

รายชื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

  1. นางสุวรรณ กรุกรัมย์
  2. นางดวงพร โกรัมย์
  3. นางดวงพร อาญาเมือง
  4. นางอารยา อาจทวีกุล
  5. นางสนอง เรืองรัมย์
  6. นางไสว อุคสารัมยจ
  7. นางสองเมือง กล้าณรงค์
  8. นางกองชุน สุทธิสุข
  9. นางเฉลา ดาวซ้อน
  10. นางกิมเลี้ยง กระเชิญรัมย์
  11. นางยุรกิจ เกรัมย์
  12. นางประกอบ เกรัมย์
  13. นางเสวียน โกรัมย์
  14. นางเสงี่ยม ทานรัมย์
  15. นางสิริรันต์ มะโนรัมย์
  16. นางละอองดาว อาญาเมือง

รายชื่อกรรมการหมู่บ้าน

  1. นายสุชาติ กริดรัมย์
  2. นายขันชิต ขาลรัมย์

รายชื่อกรรมการหมู่บ้าน

  1. นายมา เกรัมย์
  2. นายเบียน อินรัมย์

 รายชื่อสารวัตรกำนัน

  1. นายอนุวงค์ ทรงประคำ

รายชื่อสารวัตรกำนัน

  1. นายสมพร สัตตารัมย์

วัฒนธรรม

การทำบุญหมู่บ้าน

                ช่วงเวลาจะทำบุญกันในช่วง เดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี ในตำบลสวายจีกมีหลายหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านจะทำบุญไม่พร้อมกันแล้วแต่ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านจะตกลงกัน ไม่กำหนดวันแน่นอนความสำคัญ   การทำบุญบ้านกระทำเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์หมู่บ้าน จะทำเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้านจะช่วยกันบริจาคเงินในการจัดงานทำบุญหมู่บ้านร่วมกัน ถ้าหากปีใดมีเงินเหลือจ่ายหลังจากหักค่าใช้จ่าย ก็จะบริจาคให้กับวัดหรือตั้งเป็นกองทุนในปีต่อไป

พิธีกรรม การทำบุญบ้านนั้นชาวบ้านจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ในตอนเย็น หลังจากเสร็จจาพิธีกรรมทางสงฆ์แล้ว ชาวบ้านก็จะมีการแสดงมหรสพ การร้องรำ ฟังเพลง กันทั้งคืนจนรุ่งสาง ตอนเช้าของอีกวันก็จะมีการนิมนต์พระมาเพื่อถวายภัตตาหารเช้าและเทศนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งตามแบบอย่างชาวพุทธ ซึ่งกิจกรรมในส่วนนี้ก็จะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงนำอาหารมาถวายพระร่วมกันด้วย หลังจากเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้วชาวบ้านจะรับ ประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดการหล่อหลอมรวมกันทางจิตใจ ชาวบ้านเกิดความสามัคคีเพราะมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ประเพณีเรียกขวัญข้าว

                ช่วงเวลา จะทำพิธีกันในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณ 3 เดือน ของทุกปีความสำคัญประเพณีการเรียกขวัญข้าว จัดขึ้นเพื่อเป็นการเรียกขวัญข้าวหลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีเรียกขวัญข้าว

พิธีกรรม จะจัดกันที่วัดในตอนเย็น ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกไปรวมกันที่วัด หมอขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญข้าว เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำข้าวไปเก็บไว้ที่ยุ้งฉางเพื่อความเป็นศิริมงคล

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์

                ช่วงเวลาจะทำพิธีกันในช่วงข้าวตั้งท้อง ประมาณเดือน 11 หรือเดือน 12 ความสำคัญ ประเพณีกวนข้าวทิพย์จัดขึ้นเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ผู้ที่ได้รับประทาน โดยชาวบ้านจะนำส่วนประกอบที่จะทำข้าว ได้แก่ น้ำตาล มะพร้าว และอื่น ๆ แล้วแต่ว่าใครจะมีอะไรไปรวมกันที่วัด แต่ถ้าปีใดเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดีก็จะเว้นไปทำปีต่อไป

พิธีกรรม ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะจัดขึ้นในตอนเย็น ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน ชาวบ้านจะนำธัญพืช  ได้แก่ ถั่ว งา มะพร้าว น้ำตาล นมข้นหวาน และอื่น ๆ มารวมกัน โดยจะใช้หญิงสาวพรมจารีย์นุ่งขาวห่มขาวเป็นผู้กวน ในระหว่างนั้นจะสวดมนต์ประกอบพิธีจนแล้วเสร็จ ในวันรุ่งขึ้นจะมีการทำบุญ ชาวบ้านจะนำข้าวทิพย์มาแบ่งกัน

การเข้าหมอหรือการเล่นมะมวด

                ลักษณะความเชื่อ ชาวบ้านจะเชื่อกันว่าถ้าคนในบ้านเจ็บป่วยรักษาไม่หาย เขาก็จะไปเชิญหมอเข้าทรงมาทำพิธีติดต่อกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อถามไถ่ว่ามีบรรพบุรุษไม่พอใจ ทักท้วงเรื่องอะไร และต้องการอะไร ถ้าทำตามที่ผีบรรพบุรุษต้องการก็จะหายจากการเจ็บป่วย ความสำคัญ เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของคนในบ้าน พิธีกรรม การเข้าทรง หรือ เข้าหมอจะต้องมีอาจารย์หมอมาเป็นผู้ทำพิธีให้ ซึ่งบางครั้งต้องเชิญมาจากหมู่บ้านอื่น ในการเข้าหมอจะสร้างโรงพิธีขึ้นมาง่าย ๆ โดยมีเสาและมุงหลังคาด้วยใบมะพร้าวหรือผ้าสไบ โรงพิธีจะสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสมอ มีการวางกระโจม บายศรีสำรับกับข้าว 1 สำรับ เหล้า 1 ขวด ไว้รับรองวิญญาณบรรพบุรุษรับประทานเพื่อเป็นศิริมงคล

ผ้าพื้นบ้าน

             ผ้าพื้นบ้านในชุมชนบ้านปรือพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นผ้าฝ้าย และผ้าไหม เส้นไหมที่ชาวบ้านปรือพัฒนานำมาทอเป็นผืนผ้านั้น ส่วนใหญ่ได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาวบ้านเองผ้าฝ้าย โดยราคาของผ้าฝ้าย ผืนละ 250 – 1300 บาท และผ้าไหม ผืนละ 2400 – 2600 บาท สามารถติดต่อได้ที่

   ชื่อ นางเลียว แก้วศรี บ้านเลขที่ 18 หมู่ 18 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เบอร์โทรศัพท์ 096-490-0307

แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนบ้านปรือพัฒนา คือ วัดชุมพรวิสัย และสวนสุขภาพหลวงปู่ดอน

จำนวนนักเรียน นักศึกษา และบัณฑิตในหมู่บ้านปรือพัฒนา หมู่ที่ 18 มีดังนี้

  1. นักเรียน ตั้งแต่ปฐมศีกษาชั้นปีที่ 1 – 6 มีจำนวน 44 คน
  2. นักศึกษา ตั้งแต่นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4   มีจำนวน 5 คน
  3. บัณฑิต จบตั้งแต่ปีการศึกษา 61 – 64 มีจำนวน  4 คน

วิดีโอการปฏิบัติงานเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

อื่นๆ

เมนู