Story Branding คืออะไร? หลายท่านคงสงสัยว่า Story Branding มันคืออะไรกันแน่เคยได้ยินแต่ Storytelling สำหรับ Story Branding คือ การนำการเล่าเรื่อง (Storytelling) และการสร้างแบรนด์ (Branding) นำมาผสมเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็น Story Branding หรือเข้าใจง่าย ๆ  คือ “การสร้างเรื่องราวให้เล่าเรื่องแบรนด์” สะท้อนถึงสินค้าและบริการของธุรกิจ  เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าให้สมาชิกและผู้อ่านบทความ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจยุคปัจจุบัน

เมื่อวันเสาร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2564  ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ “GISTDA”  ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกของมูลเกษตรกร พื้นที่การเกษตร และกิจกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวกับการเกษตรลงในระบบสารสนเทศ และสอนบันทึกข้อมูลกิจกรรมทางการเกษตรลงในแอพพลิเคชั่น G-RICE เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศให้ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตรได้ชมกระบวนการต่าง ๆ  ที่เกษตรกรทุกครัวเรือนใช้จนกว่าจะได้ผลผลิต เช่น ขนุน ทุเรียน ลำไย เงาะ และมะขาม  จนนำมาสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปลรูปต่าง ๆ  เพื่อจำหน่ายสู่ท้องตลาด

ในยุคนี้เป็นยุคที่การทำธุรกิจง่ายที่สุด และยากที่สุด ง่ายที่สุดเพราะทุกคนมีเครื่องมือในการขายที่ดีที่สุดอยู่ในมือคุณแล้ว ณ วันนี้ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเรามีสื่ออย่างเดียวคือ Paid Media ซึ่งมันทำให้เกิดการผูกขาด ต้องจ่ายเงินสูงมาก เพื่อเป็นเจ้าของมัน แต่ทุกวันนี้มีสื่อที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Own Media , Earned Media สื่อได้เปล่า ซึ่งเราสามารถเป็นเจ้าของสื่อเหล่านั้นได้เองง่าย ๆ  และยากที่สุดเพราะตัวเลือกในการซื้อก็เพิ่มมากขึ้น ลูกค้ามีสิทธิเลือกมากขึ้น

การเล่าเรื่องราว มันคือการที่คุณต้องนำข้อมูลต่าง ๆ  มาจัดท่วงทำนอง จัดรูปทรงให้เรื่องราวเหล่านั้นออกมางดงามและน่าสนใจ ถ้าหากชุดข้อมูลเปรียบเสมือนแผ่นปิดทอง มันก็เหมือนการที่คุณนำแผ่นทองแต่ละแผ่น มาแปะรวมกันที่ระฆัง จนระฆังกลายเป็นระฆังทอง เป็นเรื่องราวที่น่าจดจำ และน่าสนใจ ซึ่งสิ่งที่นักเล่าเรื่องต้องทำ คือการสร้างพาหนะบางอย่าง ที่ทำให้ผู้ฟัง โดยสารไปกับพาหนะนั้น ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยที่ผู้ฟังไม่กระโดดหนี และส่งมอบความหมายใส่ในภาชนะ จากนั้นบรรจุลงในหีบห่อแล้วส่งมอบให้กับผู้ฟัง  เมื่อผู้ฟัง ฟังเรื่องราวบางสิ่งบางอย่างแล้ว มันจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงความจริงในหัวผู้รับสาร เกิดเป็นความจริงใหม่ในหัวผู้รับสาร หรือเรียกว่า “ทราบแล้วเปลี่ยน” ง่าย ๆ  มันคือการเปลี่ยนจากคนที่จ่ายเงินที่อื่น มาจ่ายเงินให้กับสินค้าและบริการของคุณ และเปลี่ยนจากคนที่จ่ายเงินให้กับสินค้าและบริการของคุณ หันมาอยู่กับเราตลอดไป

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เห็นนี้เป็นผลิตภัณฑ์ขนุนแปรรูป คือ “บักมี่” เป็นขนุนทอดอบกรอบ ตรา ระเริง  ผลิตภัณฑ์น้องใหม่แต่หน้าเก่าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเริงแก้ว ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งถูกสร้างและพัฒนาขึ้นโดยทีม “ตะลุยเดิ่น”  จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ซึ่งการที่เราจะทำให้ผลิตภัณฑ์ขนุนทอดนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหลาย ๆ  กลุ่มลูกค้า เราจะต้องร่วมด้วยช่วยกันตั้งแต่ทีมงาน ชาวสวน และกลุ่มรัฐวิสาหกิจ ในการอัปเดตขั้นตอนต่าง ๆ  ตั้งแต่การปลุกขนุน การให้ปุ๋ย การรดน้ำ การตัดแต่งต้น จนนำมาสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขนุนทอดกรอบ “บักมี่” ตรา ระเริง ซองนี้  เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต

ผู้นำเสนอเรื่องราว : นายปภังกร  จรเอ้กา

อ้างอิง : อาจารย์โชน  พีระวัฒน์

 

อื่นๆ

เมนู