เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าตำบลโคกมะม่วงมีการสร้างอาชีพจากการนำขนุนมาแปรรูปเป็น “ขนุนทอดอบกรอบ” จนสามารถสร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างมาก แต่วัตถุดิบที่เหลือจากการนำเนื้อขนุนไปทอดอบกรอบก็คือ “เมล็ดขนุน” ที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากพอสมควร จึงเกิดเป็นโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน หลักสูตร การทำขนมลูกเต๋า
จากปัญหาดังกล่าวที่กลุ่มแม่บ้านจะต้องทิ้ง “เมล็ดขนุน” ทางทีมงาน U2T ตำบลโคกมะม่วงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้ร่วมกับอาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คิดค้นวิธีการนำเมล็ดขนุนมาแปรรูป จึงเป็นที่มาของการนำเมล็ดขนุน มาทำเป็นไส้ “ขนมลูกเต๋า” โดยการนำเอาเมล็ดขนุนไปต้มในน้ำเดือดเป็นเวลาประมาณ 45 นาที จากนั้นนำมาปอกเปลือกให้สะอาดเพื่อไม่ให้กากตกลงไปเวลากวน จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ก่อนจะนำไปกวนผสมกับ น้ำตาล เกลือ กะทิ น้ำเปล่า ตามอัตราส่วน กวนให้ไส้แห้ง จากนั้นก็นำมาห่อเป็นไส้ของขนมลูกเต๋า ซึ่งเป็นการนำมาดัดแปลงจากไส้ถั่วเหลือง หรือเผือก ถือเป็นไส้ที่มีเอกลักษณ์ทางรสชาติอีกด้วย
ถือเป็นการนำวัตถุดิบที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์มาสร้างมูลค่า พร้อมกับสามารถสร้างอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้านอีกด้วย