การย้อมสีเส้นกกด้วยธรรมชาติมี 2 ส่วนที่สำคัญคือ

   1. พืชที่ให้สีธรรมชาติ เช่น แก่นฝาง ฝรั่ง แก่นประดู่ แก่นขนุน แก่นสีเสียด เป็นต้น 
2. สารช่วยติดสี Mordant) มีหน้าที่ช่วยให้สีติดอยู่บนเส้นกก สารช่วยติดสีที่นิยมใช้ในกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ

ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ       

        2.1 สารช่วยติดสีกลุ่มเคมีเป็นเกลือของโลหะอลูมิเนียม (สารส้ม) เหล็ก (เฟอรัสซัลเฟต) ทองแดง (จุน) เป็นต้น
2.2 สารช่วยติดสีกลุ่มธรรมชาติเป็นสารประกอบธรรมชาติ ได้แก่ แทนนิน สารส้ม น้ำปูนใสกรดธรรมชาติ น้ำบาดาล น้ำโคลน เป็นต้น


เทคนิคการใช้สารช่วยคิดในการย้อมสีธรรมชาติ
1. การใช้สารช่วยติดสีก่อนการย้อม (Pre mordant) คือการนำเส้นไยไปย้อมกับสารช่วยติดสี ก่อนนำไปย้อมสีธรรมชาติ
2. การใช้สารช่วยติดสีพร้อมการย้อมสี (Metamoridant) เป็นการเติมสารช่วยติดสีลงในน้ำสี แล้วจึงนำเส้นใยลงไปย้อม
3. การใช้สารช่วยติดสีหลังการย้อมสี (Post mordant) นำเส้นใยลงย้อมในน้ำสีก่อนแล้วจึงนำไปย้อมกับสาวช่วยติดสี ในการย้อมกกด้วยสีธรรมชาติ จะใช้สารส้มและเกลือ เป็นการช่วยติดสี ก่อนการย้อมสี


ขั้นตอนในการย้อมเส้นด้วยสีธรรมชาติ (เส้นกก 2 กิโลกรัม)
1. เตรียมน้ำอุ่นและนำเส้นกกแห้งลงแช่เป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อนนำเส้นกกขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2. เตรียมสารละลายช่วยให้ติด โดยต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสารส้มเติมลงไป 300 กรัม จากนั้นปรับสภาพให้เป็นด่างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู 3 ช้อนโต๊ะหรือใช้น้ำมะขามเปียก 400 กรัม
3. นำเส้นตามข้อที่ 1 ลงในสารละลายที่ช่วยทำให้สีติด (ตามข้อ 2) เพิ่มความร้อนจนเดือดเบา ๆ (70 องศา) เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมงแล้วนำเส้นกกขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. ต้มพืชให้สีเช่น แก่นขนุน 8 กก. เหง้ากล้วย 10 กก. เปลือกมะหาด 8 กก. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตักกากวัตถุให้สีธรรมชาติออก (ควรต้มไว้ก่อน)
5. นำน้ำสีต้มให้เดือด (70 องศา) เติมเกลือ 3ถุงเล็ก (60กรัม) ยำเส้นกกในข้อ3ลงต้ม เป็นเวลา 1.40 ชั่วโมง (ถ้าต้องเพิ่มสีสว่าง เติมสารส้มลงไป 3 ช้อนโต๊ะถ้าต้องการสีเข้ม เติมผงสนิมลงไป 1 ช้อนโต๊ะ หรือแช่น้ำโคลน
6. นำเส้นขึ้นมาตากให้แห้ง

 

อื่นๆ

เมนู