การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม เป็นการดำเนินตามโครงการ โดยจะเป็นในขั้นตอนของการย้อมกกด้วยสีธรรมชาติ
โดยได้ดำเนินการตั้งแต่
1. การประชุมงาน
2. วางแผนการปฏิบัติ
3. ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติ สีที่มีในท้องถิ่น
4. ประสานงานกับกลุ่มทอเสื่อ
5. หาพืชธรรมชาติ ที่จะใช้ย้อมสี
6. ปฏิบัติการย้อมสีกก
7. สรุปการปฏิบัติงาน

กระบวนการย้อมสีเส้นปกด้วยสีธรรมชาติ
การย้อกกด้วยธรรมชาติมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. พืชที่เป็นแห่งสีธรรมชาติเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ใช้ในการย้อมีผ้าและสิ่งทอ เช่น แก่นฝาง ขมิ้น แก่นประดู่ แก่นขนุน  เป็นต้น วัสดุให้สีเหล่านี้จะเตรียมในรูปสารละลายที่มีน้ำเป็นคัวทำละลาย
2. สารช่วยติดสี มีหน้าที่ช่วยให้สีติดอยู่บนเส้นกก โดยสารช่วยติดสีที่นิยมใช้ในกระบวนการย้อมสีธรรมชาติส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ
1. สารช่วยติดสีเคมี  เช่น เบกกิ้งโซดา สารส้ม
2. สารช่วยติดสีธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำโคลน

ขั้นตอนการย้อมสีเส้นกกดีวยสีธรรมชาติ
1. ให้ต้มน้ละลายพืชย้อมสีที่เตียมไว้ กรองเศษออกให้เรียบร้อย
2.นำเส้นกกแห้ง ลงแช่ในน้ำอุ่น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง  ก่อนนำเส้นกกขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
3. เตรียมสารละลายที่ช่วยให้สีติด โดยละลายสารส้ม เบกกิ้งโซดาลงไปในน้ำเดือด
4. นำเส้นกกในข้อ1 .ไปแช่ในสารละลายที่ช่วยทำให้ติดสี เพิ่มความร้อนจนเดือดเบาๆ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นกกออกไปตากให้สะเด็ดน้ำ
5. ระหว่างที่รอให้น้ำสะเด็ดให้เตรียมต้มน้ำสีที่กรองแล้ว แล้วเติมเกลือ
6. นำเส้นกกที่ได้จากข้อ 4 ลงแช่ในน้ำสีต้มให้เดือด 1 ชั่วโมง
7. นำกกขึ้นตากให้แห้ง

เมื่อได้ ไหลที่แห้งแล้วจึงนำเข้าไปสู่กระบวนการทอเสื่อกก  ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการทอเสื่อกกที่ตามรูปแบบหรือลวดลายที่ได้ร่วมกันออกแบบ ให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มทอเสื่อไทยเจริญ

และได้แปรรูปไหลที่ทอเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ปลอกหมอน  กล่องทิชชู่

จากนั้น ได้ทำการประชุมงานร่วมกับคณะทำงาน เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงาน รายงานมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อื่นๆ

เมนู