ชื่อเรื่อง การประเมินศักยภาพตำบล 16 เป้าหมาย
ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาลัย 1 ตำบล
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้า นาย พฤฒิธร มีชั้นช่วง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน หมู่ที่11 บ้านบุ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในระหว่างวันที่ 1 – 17 มีนาคม 2564 ตามโครงการยกระดับเศรฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ หมู่ 11 บ้านบุ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน ข้าพเจ้าได้ขอความกรุณาผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและตอบคำถามในทุกคำถามเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนา
ก่อนที่จะดำเนินการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและสำรวจชุมชน ข้าพเจ้าได้ขออนุญาตผู้นำชุมชน คือผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 จากการสอบถามผู้นำชุมชนส่วนใหญ่คือเกษตรกร พืชเศรษฐกิจของชุมชนคือ ปลูกข้าวเพื่อจัดจำหน่าย โดยเป็นพ่อค้าคนกลางเอง คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงทำนาเป็นหลักในการเลี้ยงชีพ และพืชผักสวนครัวอื่น ๆ ที่ดินทำกินของคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ความต้องการของคนในชุมชนคือต้องการแหล่งน้ำบาดาลไว้อุปโภคบริโภค
จากการสำรวจพบว่า
จุดแข็ง | จุดอ่อน |
– สินค้ามีคุณภาพดีความชำนาณการของบุคลากร
– บรรจุผลิตภัณฑ์ทั้นสมัย – มีความแข็งแกร่งของตราสินค้า – ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ – มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง |
– เงินทุนไม่เพียงพอ
– ต้นทุนการผลิตสูงจำนวนแรงงานไม่พอ – ช่องทางการจำหน่ายไม่เพียงพอ – ไม่มีงบประมาณในการโฆษณา
|
โอกาส | อุปสรรค |
– การแข่งขันยังมีน้อยคู่แข่งขันเลิกกิจการ
– จำนวนผู้บริโภคมีจำนวนมากข้น – ทัศนคติที่ดีต่อสินค้าของผู้บริโภค – มีคนกลางที่ช่วยเหลือจัดจำหน่ายมาก – เทคโนโลยีหรือวิชาการใหม่ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ธุรกิจ |
– ราคาต้นทุนวัตถุดิบและอุปกรณ์สูงขึ้น
– มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใหม่ – สินค้าถูกกดราคาจากคนกลาง – จำนวนผู้บริโภคลดน้อยลง
|
ดังนั้นข้าพเจ้าได้สอบถาม คุณชนะชัย เชยรัมย์ ท่านเป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ท่านได้กล่าวว่า : ทางชุมชนเราได้มีการจัดโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ,ชุมชนนวัตวิถี OTOP ,ชุมชนท่องเที่ยว ,ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ,เลี้ยงจิ้งหรีด , มีน้ำประปาเป็นของชุมชนตัวเอง , สถานที่ราชการ ได้แก่ อบต. , โรงเรียน , สถานีตำรวจ , ศูนย์การเรียนรู้ กศน. , โฮมสเตย์ , ประเพณีโกนตา , ศาลาทรงงานพระพันปี , การอบรมส่งเสริม OTOP ได้แก่ เลี้ยงจิ้งหรีด , ทอผ้าไหม ,เกษตรผสมผสาน , ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม , การทำขนม เป็นต้น
ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรว่า : ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของชุมชน ได้แก่ เลี้ยงไหม , เลี้ยงจิ้งหรีด เพื่อทำเป็นอาหารหรือน้ำพริกจิ้งหรีด ในหมู่ที่ 11 ซึ่งคนในชุมชนได้นำมาแปรรูป โดยข้าพเจ้าได้เล็งเห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการทำน้ำพริกจิ้งหรีดสามารถเป็นสินค้า OTOP ที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้เป็นอย่างมาก เพียงแต่ชุมชนยังขาดความรู้เรื่องการตลาดและการพัฒนาผลิตผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายและเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป หากทางมหาวิทยาลัยและคณะทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้เข้ามาส่งเสริมและช่วยเหลือคนในชุมชน ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์ของตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จะต้องเป็นที่รู้จักและสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้อย่างแน่นอน