ถอดบทเรียนจากการทำตะกร้ารีไซเคิล
1.สิ่งที่ได้จากการทำ
การรีไซเคิลโดยการนำกระป๋องเครื่องดื่มมาแปรรูปเป็นตะกร้าโดยมีลวดลายเฉพาะตัว มีความสวยงามและแข็งแรงทนทาน โดยการออกแบบเป็นลักษณะต่างๆเช่น ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม และได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย อีกทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย ข้าพเจ้ายังได้รับความรู้ในการทำตะกร้าจากกระป๋องเครื่องดื่มน้ำอัดลม และได้มีโอกาสทำจริง เรียนรู้จริงเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้กับตัวเอง
2.ปัญหาในการทำตะกร้า/ เกิดจากอะไร
-การทำตะกร้าจากกระป๋องเครื่องดื่มถือได้ว่ามีขั้นตอนการทำที่หลากหลาย และจำเป็นต้องใช้ความประณีตสูงเพื่อให้ตะกร้าที่ทำออกมาเป็นตะกร้าที่มีคุณภาพ เพราะในการทำตะกร้าครั้งแรกของผู้ปฏิบัติงานยังขาดความชำนาญจึงส่งผลให้ตะกร้าที่ได้ออกมายังไม่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จำนำไปจำหน่าย
-ขั้นตอนในการทำมีหลายขั้นตอน ผู้ปฏิบัติงานยังขาดทักษะในการทำตะกร้า เช่น ตัดกระดาษตามแบบไม่เท่ากันการสานตะกร้ายังใช้แรงไม่มากพอ การเจาะรูตะกร้ายังไม่ตรงตามแบบที่วางไว้
3.การแก้ไขปัญหา
-ผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้เพิ่มเติมและพัฒนาทักษะจากการทำตะกร้า เกิดการลองถูกลองผิด จนสามารถทำตะกร้าให้ออกมามีความแข็งแรงทนทานและมีความสวยงามให้สามารถนำไปพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายได้
-ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาในขั้นตอนการทำ เช่น ตัดกระดาษตามแบบให้เท่ากันและวัดความสูง ความกว้าง ความยาวให้เท่ากันทุกชิ้น ในขั้นตอนการสานตะกร้าควรต้องใช้คีมดึงลวดในการดึงริบบ้อนเพื่อให้ตะกร้ายึดกันแน่นและเพิ่มความแข็งแรง การเจาะรูจำเป็นต้องใช้ความอดทนและตั้งใจเพื่อให้รูตะกร้ามีความเป็นระเบียบตรงตามรูปแบบที่ร่างไว้
4.ถ้าอยากได้รูปทรงนี้ มีวิธีจะต้องทำอย่างไร
-วางแผนกับเพื่อนภายในกลุ่ม พูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-เลือกลายตะกร้าที่จะทำ และร่างแบบรูปทรงของตะกร้า
-แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มตามความถนัดของแต่ละคน
-เริ่มลงมือทำตะกร้าตามที่วางแบบไว้
-เช็คความเรียบร้อยจนกระทั้งออกมาเป็นตะกร้าตามแบบที่วางไว้อย่างสมบูรณ์
5. โมเดลตะกร้าแต่ละแบบ
หลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติงานเรียนรู้การทำตะกร้าจากกระป๋องเครื่องดื่มอย่างจริงจัง ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์จากการร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้จนได้รับทักษะในการทำงานร่วมกันในสังคม สามรถจัดการกับขยะประเภทกระป๋องเครื่องดื่มมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถพัฒนาเป็นสินค้าภายในชุมชนได้อีกด้วย