ธนาคารน้ำใต้ดินแบบระบบบ่อปิดเป็นการสร้างจุดรวมน้ำเพื่อส่งผ่านน้ำจากชั้นผิวดินลงสู่ระบบน้ำใต้ดิน โดยการขุดบ่อที่มีขนาดความลึกเป็นสองเท่าของขนาดความกว้างของปากบ่อ และใช้วัสดุที่ช่วยสร้างโพลงอากาศในบ่อ เช่น ก้อนหิน เศษอิฐ บล็อก หรือเศษวัสดุคงทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปใส่ในบ่อที่ขุดจนเกือบถึงปากบ่อ แล้วให้ใส่หินขนาด 1-2 นิ้ว ปิดปากบ่อจนเต็มหลุม ทั้งนี้ให้ใส่ท่อ PVC ตรงกลางบ่อโดยท่อ PVC ดังกล่าวจะต้องมีความยาวที่สูงกว่าปากบ่อ สำหรับช่วยระบายอากาศจากก้นบ่อออกมาเพื่อให้น้ำสามารถไหลงลงไปแทนที่อากาศในบ่อได้สะดวก
ส่วนขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
- สำรวจจุดรวมน้ำหรือจุดที่พบน้ำท่วมขัง โดยขุดบ่อให้ทะลุชั้นดินเหนียว ขนาดแล้วแต่ธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 2 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)
- ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.80 เมตร
- นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
- นำหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)