1. หน้าแรก
  2. ประชาสัมพันธ์
  3. NS02 คณะพยาบาลศาสตร์ ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

NS02 คณะพยาบาลศาสตร์ ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านายณรงค์เดช ธรรมนิยม ผู้จ้างงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ NS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์

                                     ในเดือน สิงหาคม 2564 ได้มีจัดประชุมการทำงานชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดของผู้ปฏิบัติงาน       ทั้งในส่วน บัณฑิตจบใหม่ ประชาชนและนักศึกษา ในการจัดโครงการเรื่องการทำปุ๋ยใช้ในครัวเรือนเพื่อลดต้นทุนกในการปลูกผักและมีปุ๋ยปลอดภัยใช้ในครัวเรือน ความสามารถที่ไม่ธรรมดาของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นประโยชน์ด้วยมีดังนี้

 

                                                     

  1. ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
  2. ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
  3. สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรีย คือ ปุ๋ยสังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนในอัตราที่สูง โดยจุลินทรีย์ใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช
  4. นำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลิตดีขึ้นตามด้วย
  5. ลดต้นทุนการผลิต เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้สูงสุด 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง กำไรเพิ่มมากขึ้น
  6. ช่วยในการบำบัดน้ำเสีย ได้ทั้งกับน้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อ บ่อปลา ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือกับน้ำเสียจากอุตสาหกรรมก็ได้
  7. ช่วยย่อยสลายของเสียในดิน โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเข้าไปทำลายกำจัดก๊าซไฮโดรเจนโดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ และขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่มโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ที่มีประโยชน์ต่อพืช
  8. ช่วยลดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงย่อยสลายทำลายโครงสร้างของก๊าซมีเทน (methane) ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ เป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศของโลกเรา และมีอยู่มากในท้องนาที่มีน้ำขังอยู่ เพียงแค่เกษตรกรนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใส่ในนา นอกจากจะทำให้ต้นข้าวเติบโตแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการช่วยปกป้องโลกของเราได้ด้วย คุณประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทั้ง 8 ข้อนี้ นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งแล้ว ยังเหมาะกับการนำมาใช้กับสถานการณ์โลกปัจจุบัน มาเริ่มเรียนรู้วิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ในการขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สิ่งที่ต้องเตรียม ประกอบไปด้วย

ขวดน้ำพลาสติก (สามารถเตรียมได้ทั้ง 3 ขนาด คือ 600 cc  / 1500 cc / 6000 cc)

น้ำเปล่า (สามารถใช้น้ำฝน น้ำบ่อ หรือน้ำประปาที่พักค้างคืนไว้)

ไข่ (ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ไข่เน่าแล้วก็ยังได้ จุลินทรีย์ยิ่งชอบ)

น้ำปลา หรือกะปิ

ผงชูรส

ถ้วย ช้อน ส้อม

หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ลอกพลาสติกที่ปิดขวดออกก่อน และกรอกน้ำลงไปในขวดให้ได้ 70% ของขวด

ตอกไข่ใส่ถ้วย ตีไข่ขาวและไข่แดงให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่น้ำปลา และผงชูรสตามไป ตีจนเข้ากันเหมือนกำลังทำไข่เจียว  อัตราส่วน ไข่ 1 ฟอง : น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ : ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ จำง่ายๆ คือ 1:1:1)

จะใส่หรือไม่ใส่เปลือกไข่ก็ได้ ถ้าใส่ก็ช่วยเสริมแคลเซียม ให้ตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใส่ลงในไข่ที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน

ตักใข่ที่ผสมแล้วใส่ลงในขวดน้ำที่เตรียมไว้ ดังนี้

สำหรับขวด 600 cc   ใส่ครึ่งช้อนโต๊ะ

สำหรับขวด 1500 cc  ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ

สำหรับขวด 6000 cc  ใส่ 4 ช้อนโต๊ะ

เขย่าส่วนผสมให้เข้ากับน้ำ แล้วเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะแสงลงไปให้เหลือพื้นที่วางในขวดเล็กน้อย ปิดฝาขวดให้แน่น นำขวดไปวางเรียงกันในที่ที่มีแสงแดดส่องตลอดวัน เขย่าขวดบ้าง หากมีแก๊สในขวดมากก็เปิดฝาระบายออกได้ รอจนกว่าจะเป็นสีแดงเข้มทั้งขวดจึงจะนำไปใช้ได้ (ถ้าใส่หัวเชื้อใช้เวลา 2 อาทิตย์จึงแดงดี ถ้าไม่มีหัวเชื้อใช้เวลาประมาณ 1 เดือน)

กิจกรรมถัดมาเป็นกิจกรรมในส่วนของการจัดกิจกรรมจัดโครงการมีแล้วแบ่งปันเพื่อมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 ในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการมองของจำเป็นใช้ในโรงพยาบาลสนามและสถานที่กักตัว เช่น ข้าวสาร มาม่า ปลากระป๋อง เจลแอลกอฮอล์ หน่สกากอนามัย การดาษทิชชู่ นม น้ำ เป็นต้น

และการพัฒนาในส่วนของกลุ่มผ้าไหม จะจัดทำโครงการเกี่ยวกับการยกระดับการทอผ้าที่แปลกและแตกต่างการสร้างลวดลายอัตลักษณ์ลวดลายประยุกต์และการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายในโลกออนไลน์ เป็นต้น

ดังนั้นการจัดทำโครงการครั้งนี้ได้บบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และชาวบ้านได้องค์ความรู้เพื่อที่จะใช้ในการขอรับมาตรฐานข้าวเพื่อเป็นใบสำคัญในการทำข้าวและได้เรียนรู้จากการยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

ต้องขอขอบพระคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ได้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการทำงานในส่วนของบัณฑิตจบใหม่และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และ ผู้นำชุมชนทุกชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และประชาชนทุกชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการทำงานให้ราบรื่นไปด้วยดี

อื่นๆ

เมนู