วัดกระดึงทอง

ข้าพเจ้านางสาว นภาพร นาคินชาติ บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

จากกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับข้าวแต๋นให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ( มผช.) ในเดือน สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้ทำการจัดกิจกรรมทำข้าวแต๋นแบบสำเร็จรูป ให้มีสีสันที่แปลกใหม่ และมีหลายรสชาติให้แก่ชาวบ้านตำบลบ้านด่านและได้ติดตามผลหลังจากดำเนินกิจกรรม พบว่าชาวบ้านสามรถนำไปทำเองได้ และสามารถต่อยอดได้เป็นอย่างดี และได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเรื่อง วัดกระดึงทอง

จากการดำเนินงานลงสำรวจข้อมูลพบว่าสถานที่ที่สำคัญของตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สถานที่ที่สำคัญ ที่คนในตำบลรู้จัก คือ วัดกระดึงทอง ประวัติความเป็นมา ของวัดกระดึงทอง โดยสังเขป วัด

วัดกระดึงทอง   ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 1 บ้านกระดึง  หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านด่าน  กิ่งอำเภอบ้านด่าน (เดิมขึ้นอยู่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์)  จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชากรที่ทำนุบำรุงวัดวา และทำบุญที่วัดนี้ 600  ครัวเรือน เนื้อที่  40 ไร่ ประเภทวัด เป็นวัดราษฎร์ วัดสายธรรมยุต  สายวิปัสนากรรมฐาน

เจ้าอาวาสมาแล้ว  3  รูป

  1. หลวงพ่อแก้ว ธมฺมทินโท
  2. หลวงพ่อเสร็จ ญาณวุธโฒ เป็นพี่ชายหลวงปู่เหลือง
  3. หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม (พระราชปัญญาวิสารัท) เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)   เป็นเจ้าอาวาสปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างในวัด มีดังนี้
  4. ศาลาเอนกประสงค์ชั้นเดียวใช้สำหรับฉันภัตตาหารเช้า,ทำวัตรเช้า
  5. ศาลาการเปรียญสองชั้นชั้นล่างเป็นที่ประชุมฯของพระสังฆาธิการซึ่งจุได้ 200 รูป (ปัจจุบันจัดเป็นศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์) ส่วนชั้นสองไว้สำหรับทำกิจกรรมทางสงฆ์ ลงสังฆกรรม,ทำวัตรเย็นฯ
  6. กุฎี ๒๓ หลัง มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา ประมาณ 25-30 รูปทุกปี
  7. สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธรรมยุต)
  8. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มีเด็กในศูนย์ 80 คน ครูพี่เลี้ยง 4 คน
  9. อุโบสถ 1 หลัง
  10. เมรุ และศาลาบำเพ็ญกุศล
  11. โรงครัว ๑หลัง
  12. ห้องน้ำ 4 แห่ง จำนวน 46 ห้อง

ได้รับอนุญาตตั้งวัด ที่ “วัดกระดึงทอง”วันที่ 23  เมษายน พ.ศ. 2514

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 9  ก.ค. 2516 กว้าง 40  เมตร  ยาว  80  เมตรปี พ.ศ.   2516

เริ่มทำการก่อสร้างอุโบสถ  หน้าต่าง  5  ห้อง กว้าง 8  เมตร  ยาว  24 เมตรปี พ.ศ.    2516 (ปัจจุบันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

เจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง คือ พระราชปัญญาวิสารัท หรือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม อดีตเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)  ซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันในนาม หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง ที่มีลูกศิษย์มากมาย และเป็นที่รู้จักวงกว้างในจังหวัดบุรีรัมย์

รักษาตัวนามเดิม เหลือง นามสกุล ทรงแก้ว

เกิด วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม  2547 เวลาใกล้รุ่งแรม  4  ค่ำเดือน  6  ปีเถาะ

ภูมิลำเนา บ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์   จังหวัดสุรินทร์

โยมบิดาชื่อ นายเที่ยง นามสกุล ทรงแก้ว

โยมมารดาชื่อ เบียน  นามสกุล ทองเชิด

มีพี่น้อง 8  คน  (ชาย 6 คน หญิง 2 คน ข้าพเจ้าเป็นคนที่ 6)

ใช้ชามกะละมังขนาดกลางใบเดียว สำหรับใส่อาหารฉัน ไม่ให้ใช้ภาชนะมาก คือให้ใส่ทั้งข้าวทั้งแกง และพริกผักรวมกันที่นั้น  เรียกว่าฉันรวม..

เนื่องจากว่าเราเกิดอยู่ในตระกูลบ้านนอก  และในสมัยโน้นยังไม่เจริญรุ่งเรืองเหมือนสมัยนี้   การศึกษาเล่าเรียนก็ยังไม่ทั่วถึงพวกเด็ก ๆบ้านนอกโดยมากเหตุออกบวช

เหตุที่จะออกบวชนั้น เพราะมีพี่ชายออกบวชอยู่แล้ว 3 องค์ คือองค์ที่ 1 ชื่อ พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล  องค์ที่ 2  ซื่อพระอาจารย์สมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ  (ทั้งสององค์ได้มรณะภาพแล้ว) และองค์ที่ 3 บวชได้ 7  พรรษาก็ลาสิกขาบทยังมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะพี่ชายใหญ่ท่านออกบวชตั้งแต่ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักเดียงสา ด้วยมีพระอาจารย์สาม อากิญจโน อยู่วัดบูรพาราม เป็นผู้ชักชวนท่านไปบวชอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ขนตยาคคโม  ที่สำนักวัดป่าสาลวัน  จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นสำนักพระนักปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน  เมื่อท่านบวชอยู่ได้หลายปีแล้ว  จึงกลับไปเยี่ยมบ้านที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อท่านกลับจังหวัดนครราชสีมา  ท่านจึงพาข้าพเจ้าไปบวชด้วย แต่ท่านพาไปกราบนมัสการหลวงปู่ดูลย์ ที่วัดบูรพารามเสียก่อนและพักอยู่ที่นั่น  7   วัน  ในระยะนี้ปรากฏว่าได้พบปะกับพระมหาโชติ พระมหาเปลี่ยน และพ่อขาวเนตรด้วย

เมื่อครบกำหนดวันแล้ว จึงได้กราบนมัสการลาหลวงปู่ดูลย์ กลับนครราชสีมาโดยทางรถไฟ ไปพักอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวม ป่าช้าที่ 2 ข้าพเจ้ารู้แปลกใจหรือประทับใจที่สุดในชีวิต ในเมื่อไปเห็นสถานที่ตั้งวัดป่าอันตั้งอยู่ในท่ามกลางป่าช้าอันรกชัฏ และเป็นป่าช้าจริง ๆ ด้วย ในที่ใกล้บริเวณเขตวัดเต็มไปด้วยหลุมผีทั้งนั้น และอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านด้วย กุฏิโดยมากมีแต่หลังเล็ก ๆ ตั้งอยู่ห่างจากกัน อยู่หลังละองค์  เมื่อตกกลางคืนมาทำให้รู้สึกหวาดเสียวน่ากลัวมาก  ข้าพเจ้าไปถึงครั้งแรกท่านจัดให้นอนอยู่ข้างนอกแต่ผู้เดียว  จึงทำให้เกิดความเป็นทุกข์ทรมานใจ ทั้งนี้เพราะเรายังเป็นเด็กใหม่ต่อสถานที่ไม่เคยเห็น และยังไม่รู้อะไรเลย

อยู่ด้วย )ในวันต่อมา สำหรับข้าพเจ้าท่านพระอาจารย์ฉัตร ก็จัดการให้โกนผมเป็นหัวโล้น  นุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีลแปดฉันเอกาตามระเบียบของวัดป่า แล้วท่านอาจารย์ฝั่น ท่านก็แนะนำพร่ำสอน พระภิกษุสามเณร ทุกเข้าค่ำ  แต่เด็กผู้บวชขาวใหม่ท่านมีฝึกให้เป็นพิเศษเพราะอยู่รับใช้ท่านโดยใกล้ชิด  โดยมากท่านก็แนะนำพร่ำสอนให้รู้จักข้อวัตต์ปฏิบัติ  ตั้งแต่ต้นให้รู้จักกราบรู้จักไหว้  ให้รู้จักประเคนสิ่งของพระ   ให้รู้จักเทกระโถน  ล้างบาตร  เช็ดบาตร ผูกมัดโสลกบาตร  ให้รู้จักกราบน้ำใส่กาใส่ขวด  ให้หมั่นปัดกวาดศาลาโรงธรรม กุฏิวิหาร  ที่นั่งนอน  และให้รู้จักเคารพครูบาอาจารย์ พระภิกษุสามเณร รู้จักใช้คำพูดกับพระเณร  ทายกทายิกาและแขกคนทั่วไป

นอกจากนี้ท่านก็สอนให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระทุกค่ำเช้า ฝึกสอนให้รู้จักเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา  อนึ่งท่านมักสอนพระเณรเถรชีว่า  เราเป็นนักบวชต้องประพฤตจิตเป็นคนเลี้ยงง่าย ต้องฝึกตนเป็นคนสันโดดมักน้อย  ยินดีตามมีตามได้  ให้ฝึกตนเป็นคนนอนน้อย กินน้อยพออยู่ได้อย่าโลภมาก เด็กผู้บวชเป็นขาวถือศีลแปด ภาชนะที่ใส่อาหารฉันท่านให้มักจะถูกปล่อยให้อยู่ตามบุญตามกรรม   ข้าพเจ้าอายุ  11  ปี   จึงได้เรียน

พ.ศ.2482 จึงได้เข้าโรงเรียนประชาบาล  ที่วัดนิลาเทเวศน์  บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

พ.ศ.2485 เรียนจบประถม  ๓   อายุครบกำหนดเขาก็ให้ออกจากโรงเรียน

พ.ศ.2486พระพี่ชายพาไปอยู่วัดด้วย    ที่วัดป่าศรัทธาราม   จังหวัดนครราชสีมา    พอใกล้จะเข้าพรรษาท่านก็พาไปอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรีตามคำสั่งของท่านอาจารย์ใหญ่วัดป่าสาลวัน  ( ท่านเจ้าคุณปราจีนมุนีขอพระไป )

บรรพชาสามเณร

พ.ศ.2587กลับจากปราจีนบุรี มาบวชเณรที่วัดสุทธจินดา  จ.นครราชสีมา  โดย มีพระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์  แต่ท่านพาไปจำพรรษาที่   วัดป่าดอนขวาง ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันคือ วัดดอนขวาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย)   สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนี้

พ.ศ.2488 ไปฝึกหัดปฏิบัติอาจารย์อยู่ที่ วัดป่าสาลวันระยะหนึ่ง

พ.ศ.2489 ขอมาเรียนนักธรรมและบาลีที่วัดศาลาทอง   สอบนักธรรมชั้นโท ได้   แต่บาลีไม่ได้สอบเพราะป่วยจึงหยุดเรียนบาลีแต่นั้นมา

อุปสมบท

พ.ศ.2490 บวชพระที่วัดสุทธจินดา โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาเขียน ฐิตสีโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์  จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธารวม ทั้งปฏิบัติและเรียนนักธรรม  ในปีนี้สอบนักธรรมชั้นเอกได้ ได้รางวัลจากอาจารย์

พ.ศ2491 อยู่วัดป่าศรัทธารวม   สวดปาฏิโมกข์   และช่วยสอนนักธรรมพระอาจารย์บุญมา  ที่อยู่วัดศาลาทอง ตามวาระที่มอบให้จนตลอดพรรษา

พ.ศ.2492 ไปพักที่วัดป่าสาลวัน    จนใกล้จะเข้าพรรษา   ท่านเจ้าคุณพระอริยเวที(เขียน ฐิตสีโล)  วัดสุทธจินดา พาไปจำพรรษาที่วัดรังสีปาลิวัน   บ้านโพน  อำเภอคำม่วง  จังหวัดกาฬสินธุ์  บ้านเกิดของท่านอยู่   8   ปีเต็ม

พ.ศ.2494 พระอาจารย์แดงขอให้ไปช่วยสวดปาฏิโมกข์และสอนนักธรรมที่วัดสักกะวัน   อ.สหัสขันธ์   จ.กาฬสินธุ์  1 พรรษา

พ.ศ2495 กลับวัดรังสีปาลิวัน   บ้านโพน  ตั้งใจปฏิบัติและช่วยสอนนักธรรมให้พระวัดบ้านด้วย  พร้อมกับมีการอบรมทายกทายิกาเกือบทุกวันในพรรษา

พ.ศ.2497-2498    เจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์ (ธรรมยุต) ขอตั้งให้เป็นผู้ช่วยดูแลอบรมหมู่คณะ   ในเขตอำเภอสหัสขันธ์   จังหวัดกาฬสินธุ์

พ.ศ.2499         เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระอริยเวที(เขียน ฐิตสีโล) และท่านตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน บ้านโพน ด้วย

พ.ศ2500          ท่านเจ้าคุณพระอริยเวที(เขียน ฐิตสีโล) พาไปปฏิบัติกรรมฐานเพื่อบูชา ๒๕   พุทธศตวรรษ ที่ถ้ำพระขันตี(ภูมากยอ)  ๑ พรรษา

พ.ศ.2501-2502  กลับบุรีรัมย์และจำพรรษาอยู่ที่วัดกระดึงทองจนถึงทุกวันนี้

พ.ศ.2515ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง   และเป็นเจ้าคณะตำบลด้วย

พ.ศ2517          ได้รับวุฒิบัตร “พระสังฆาธิการชั้นต้น” เปิดสนามสอบนักธรรมด้วย

พ.ศ.2518         ได้รับวุฒิบัตร “พระสังฆาธิการชั้นสูง” และเป็นกรรมการสนามหลวงแผนกธรรม

พ.ศ 2519         ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น“พระครูวิริยาภิวัฒน์” และได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2531         ได้รับตราตั้งให้เป็น    เจ้าคณะอำเภอจังหวัดบุรีรัมย์(ธรรมยุต)

พ.ศ.2522         ได้รับตราตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)

พ.ศ.2533         ได้รับตราตั้งให้เป็น  เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธรรมยุต)

พ.ศ.2528         ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “พระชินวงศาจารย์”

พ.ศ.2529-2530 นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอริยเวที(เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ท่านเป็นอัมพาตอยู่หลายปี ให้ท่านมาจำพรรษาเพื่อช่วยกันรักษาอยู่ที่วัดบุรีรัตน์พัฒนาราม   จังหวัดบุรีรัมย์

พ.ศ2535          ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปัญญาวิสารัท ปฏิบัติสัทธรรมพินิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ.2551         ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธรรมยุต)

 

ความมีชื่อเสียงของหลวงปู่เหลืองพ.ศ.2519ได้รับสัญญาบัตรที่พระครูวิริยาภิวัฒน์และเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2521        ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองบุรีรัมย์ (ธ)

พ.ศ. 2522        ให้รักษาการแทน เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ)

พ.ศ. 2523        ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดบุรีรัมย์

พ.ศ. 2528        ได้รับตราตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชินวงศาจารย์

พ.ศ. 2535        ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปัญญาวิสารัท

จนถึงปัจจุบัน

หลักคำสอนและการปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่เหลือง นั้น ท่านก็แนะนำพร่ำสอน พระภิกษุสามเณร ทุกเข้าค่ำ  แต่เด็กผู้บวชขาวใหม่ท่านมีฝึกให้เป็นพิเศษเพราะอยู่รับใช้ท่านโดยใกล้ชิด  โดยมากท่านก็แนะนำพร่ำสอนให้รู้จักข้อวัตต์ปฏิบัติ  ตั้งแต่ต้นให้รู้จักกราบรู้จักไหว้  ให้รู้จักประเคนสิ่งของพระ   ให้รู้จักเทกระโถน  ล้างบาตร  เช็ดบาตร ผูกมัดโสลกบาตร  ให้รู้จักกราบน้ำใส่กาใส่ขวด  ให้หมั่นปัดกวาดศาลาโรงธรรม กุฏิวิหาร  ที่นั่งนอน  และให้รู้จักเคารพครูบาอาจารย์ พระภิกษุสามเณร รู้จักใช้คำพูดกับพระเณร  ทายกทายิกาและแขกคนทั่วไป

นอกจากนี้ท่านก็สอนให้รู้จักสวดมนต์ไหว้พระทุกค่ำเช้า ฝึกสอนให้รู้จักเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา  อนึ่งท่านมักสอนพระเณรเถรชีว่า  เราเป็นนักบวชต้องประพฤตจิตเป็นคนเลี้ยงง่าย ต้องฝึกตนเป็นคนสันโดดมักน้อย  ยินดีตามมีตามได้  ให้ฝึกตนเป็นคนนอนน้อย กินน้อยพออยู่ได้อย่าโลภมาก เด็กผู้บวชเป็นขาวถือศีลแปด ภาชนะที่ใส่อาหารฉันท่านให้ใช้ชามกะละมังขนาดกลางใบเดียว สำหรับใส่อาหารฉัน ไม่ให้ใช้ภาชนะมาก คือให้ใส่ทั้งข้าวทั้งแกง และพริกผักรวมกันที่นั้น  เรียกว่าฉันรวม..

ภูมิทัศน์ภายในวัดกระดึงทอง มีบรรยากาศร่มรื่น มีต้นไม้น้อยใหญ่รายล้อมทั่วทั่งบริเวณวัด มีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ตั้งอยู่กลางบริเวณวัดทำให้เงาจากต้นโพธิ์ปกคลุมทั่วบริเวณวัด มีรูปเหมือนของพระราชปัญญาวิสารัท  หรือ หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม ที่มีหน้าตักขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางบริเวณวัดให้กับพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ มีศาลาหอฉันชื่อ ศาลาฉันทาคมานุสรณ์ ภายในศาลามีการตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และให้พุทธศาสนิกชนได้เข้ามาทำบุญประกอบพิธีทางศาสนาเช่นกัน มีโบสถ์เพื่อใช้ในพิธีอุปสมบท ซึ่งตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม

เอกลักษณ์ของวัดกระดึงทอง มีเจ้าอาวาสที่เป็นพระเกจิชื่อดัง และเป็นอดีตเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธรรมยุต)  ทำให้วัดมีประชาชนที่รู้จักอย่างมาก และทุกปีทางวัดกระดึงทองมีการจัดงานทำบุญอายุวัฒนมงคล พระราชปัญญาวิสารัท (หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม) มีพิธีสรงน้ำหลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม ทำให้ลูกศิษย์จากทั่วประเทศพากันมากราบไหว้ และภายในงานยังมีการจัดตั้งโรงทานมากกว่า 30 โรงทาน

กิจกรรมที่วัดมีดังนี้

  1. เป็นที่สอบธรรมสนามหลวง ซึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์(ธรรมยุต) มีสนามเดียว
  2. เป็นที่ประชุมพระสังฆาธิการในจังหวัดฯ
  3. เป็นศูนย์อบรมจริธรรมในนักเรียน ในกลุ่มอาชีวะ
  4. จัดกิจกรรมตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

จากปัญหาพบ เนื่องจากที่วัดแห่งนี้เป็นที่ประชุมและสถานทีสอบธรรมสนามหลวง  ซึ่งมีแห่งเดียวในจังหวัด  สิ่งที่ขาดคือ  สถานที่จัดสอบ ไม่เพียงพอ  ,โต๊ะ,เก้าอี้, งบประมาณในการจัดสอบ อยากให้มีการบูรณะศาลาเอนกประสงค์ เนื่องจากหน้าฝนน้ำท้วมทุกปีและ หาทุนจัดซื้อเก้าอี้เบาะพับสำหรับนั่งเรียนและอบรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนา การสอบธรรมสนามหลวงให้เพียงพอต่อการจัดสอบ และอยากพัฒนาในเรื่องของ ชีวประวัติอยากให้มีนักเล่าเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติ พระราชปัญญาวิสารัท (หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม)และวัดกระดึงทอง ตำบลบ้านด่าน  อำเภอบ้านด่าน  จังหวัดบุรีรัมย์ โดยละเอียดว่าความเป็นมาของวัดกระดึงทอง เพื่อให้ศรัทธาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ที่แวะเวียนมากราบไหว้มากขึ้น

อื่นๆ

เมนู