แผนที่ในวัดระหาน สถานที่ที่สำรวจ เกาะแก้ว (ประวัติเกาะแก้ว)

ข้าพเจ้า นางสาวจันทรรัตน์ ฮวดศรี ประเภท นักศึกษา

หลักสูตร : การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

จากการได้ลงพื้นประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าไดทการลงพื้นที่ร่วมจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชนที่วัดระหาน และได้สำรวจพื้นที่ภายในวัดเพื่อจัดทำแผนที่ ได้ลงพื้นที่สอบถามประวัติความป็ของวัดจากสมาชิกในชุมชนเพื่อที่จะทราบข้อมูลต่างๆโดยคณะทีมงานได้สอบถามข้อมูลกับผู้นำชุมชน สมาชิกภายในชุมชน และเจ้าอาวาสประจำวัด

จากการสอบถาม เพื่อจะได้เขียนแผนที่ภายในวัดไปสอบถามชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงกับวัดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาเกาะแก้ว ( เกาะกระต่าย ) ชื่อว่า คุณตาตุ แฉล้มรัมย์ อดีตผู้ใหญ่บ้านของบ้านระหาร ซึ่งก็ได้ทราบเรื่องราวและที่มาคราวๆ เท่าที่คุณตาจำได้ คุณตากล่าวมาว่า เดิมที  พื้นที่เกาะเกิดจากการที่หลวงปู่ ได้นำที่นาของตนเองไปแลกเปลี่ยนกับเจ้าของที่คนเดิมเพื่อให้ได้พื้นที่ตรงเกาะแก้วหรือเกาะกระต่ายมา เกาะกระต่ายเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขึ้น เพราะมีผู้มีจิตศรัทธานำกระต่ายมาบริจาคให้กับวัดหลวงปู่จันทร์แรมจึงนำกระต่ายเหล่านั้นไปเลี้ยงไว้บริเวณเกาะแก้ว จึงเป็นที่ ชื่อ เรียกกันว่า เกาะกระต่าย

วัดระหานเกาะแก้วธุดงคสถานสร้างวัดเกาะแก้วธุดงคสถานความเป็นมาของคำว่าเกาะแก้วหลวงปู่เล่าว่า “ได้เคยไปนอนเฝ้านากับโยมพ่อซึ่งที่นาอยู่ในบริเวณวัดแห่งนี้มีป่าต้นยางสูงเต็มไปหมดถ้าวันไหนตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำจะปรากฏควงไฟสว่างมีสีนวลเท่าลูกมะพร้าวลอยขึ้นไปจากคงไม้ยางบริเวณที่เป็นเกาะอยู่ปัจจุบันนี้แล้วจะลอยไปทางทิศตะวันตกหายลับไปในบริเวณป่ายางหลังจากนั้นในคืนวันแรม 14 ค่ำจะเห็นดวงไฟลักษณะเช่นเดิมลอยกลับมาในที่เก่าเมื่อมาถึงยอดยางก็จะแตกกระจายหายลับไปชาวบ้านจึงเรียกขานบริเวณนี้ว่า เกาะแก้ว อันเป็นที่มาของนามสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งนี้” ปี 2536 หลวงปู่ได้มาสร้างวัดเกาะแก้วธุดงคสถาณ ณ บ้านระหาน ตำบลบ้านด่าน กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้นำพาชาวบ้านและศรัทธาสาธุชนทั่วไปสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาเป็นที่สัปปายะแก่พระภิกษุสามเณรที่มาพานักเพื่อปฏิบัติธรรมและเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญกุศลของสาธุชนทั้งหลายฯ

จากประวัติที่ได้ลงพื้นที่สอบถามความเป็นมาของเกาะแก้ว คณะทีมงานได้เล็งเห็นถึงความต้องการและความสำคัญ จึงได้หาแนวทางการพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนโดนทีมงานอยากส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในชุมชน เช่นการประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุ๊กของชุมชน นำเสนอความเป็นมาของวัดระหาจในด้านต่างๆที่มีความเป็นเอกลักษณ์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น หรือจัดให้มีการทัศนศึกษาสำหรับเด็ก นักเรียน หรือผู้ที่มีความสนใจ ให้เข้ามาเรียนรู้ จะช่วยให้มีการท่องเที่ยวภายในวัด และในชุมชนมากขึ้น และสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย

 

 

อื่นๆ

เมนู