ประวัติหลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ

          ตำบลบ้านด่านเป็นตำบลที่มากมายไปด้วยวัฒนธรรม ประเพณี  และความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ และยังมีพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฎิบัติชอบ มีกิจวัตรอันงดงานน่าเลื่อมใส อย่าเช่น หลวงปู่จันทร์แรม  เขมสิริ แห่งวัดระหาร ที่ทุกคนยกย่องว่าเป็นพระสุปฎิบัญโณ และเกจิอาจารย์ แห่งศรัทธาพุทธสกนิกชน ในช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ข้าพเจ้าได้ดำเนินโครงการทำแผนที่แหล่งท่องเที่ยวและประวัติหลวงปู่จันแรมทร์   เขมสิริ อายุ๘๗ปี  โดยการสำรวจประวัติหลวงปู่จากผู้ที่ใกล้ชิดและผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้เกี่ยวกับหลวงปู่  จึงเป็นแรงบรรดาใจที่จะถ่ายทอดเป็นบทความในพระอริยบุคลที่ปฏิบัติเป็นต้นแบบ

         พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) ท่านมีนามเดิมว่า จันทร์ นามสกุล ร้อยตะคุ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ เวลาเย็น ณ บ้านปะหลาน ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามเดิมทีนั้น ครอบครัวของหลวงปู่ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีถิ่นฐานทำกินอยู่ที่บ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า ซึ่งตามภาษาอีสาน เรียกขานกันว่า “นายฮ้อย” อันเป็นที่มาของนามสกุลว่า ฮ้อยตะคุ (เรียกตามภาษาท้องถิ่นอีสาน) หรือร้อยตะคุ นั่นเอง ต่อมาโยมบิดาของท่านได้อพยพโยกย้ายครอบครัวไปทำมาหากินอยู่ที่บ้านปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งหลวงปู่ได้ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านแห่งนี้เมื่อตัดสินใจว่าจะบวช บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นนาคที่วัดกระดึงทอง ซึ่งขณะนั้นมีพระอาจารย์แก้วเป็นผู้ปกครองได้รับเข้าเป็นนาคแล้วถามว่า “จะบวชนานไหม” หลวงปู่ตอบว่า “บวช ๓ ครับ” เพราะไม่กล้าบอกออกไปว่าจะบวชไม่สึก เพราะโดยอุปนิสัยของท่านแล้ว ถ้าทำอะไรยังไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้จะไม่พูดไปก่อน แต่คำว่า “สาม” ของท่านนั้น คงจะหมายถึงปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย ซึ่งท่านได้อุทิศถวายให้แก่พระพุทธศาสนาแล้วในสมัยนั้น การจะบวชเป็นพระธรรมยุติ เป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควร จะต้องเดินทางไปเป็นแรมคืนทีเดียว เพราะในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ที่เป็นวัดธรรมยุติมีพัทธสีมาสามารถให้การอุปสมบทได้ ก็มีเพียงวัดเดียวเท่านั้น คือ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบูรพาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ โดยมี พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพสุทธาจารย์ (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูคุณสารสัมบัน แห่งวัดวชิราลงกรณวราราม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า เขมสิริ ขณะที่ท่านอายุได้ ๒๓ ปีเต็ม  ในช่วงบั้นปลายชีวิต หลวงปู่จันทร์แรม เริ่มอาพาธด้วยโรคหัวใจ ต้องเข้ารับการรักษาและดูแลจากคณะแพทย์อย่างใกล้ชิด กระทั่งเมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น. วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ หลวงปู่จันทร์แรม กำลังฉันภัตตาหารเพล เกิดหมดสติล้มฟุบลงกับพื้น คณะศิษย์ที่อยู่บริเวณนั้นต่างช่วยกันรีบนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนบุรีรัมย์ ครั้นมาถึงโรงพยาบาลเอกชนฯ คณะแพทย์ช่วยกันปั๊มหัวใจ กระทั่งหลวงปู่จันทร์แรมหัวใจทำงานอีกครั้ง แต่หลวงปู่จันทร์แรมยังไม่รู้สึกตัว จึงได้นำตัวหลวงปู่จันทร์แรม ส่งไปรักษาต่อที่ห้องไอ.ซี.ยู. โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ หลวงปู่ได้มรณภาพเมื่อวันที่๘ ธันวาคม ๒๕๕๒.รวมสิริอายุ๘๗ปี ๒๐๓ วันพรรษา ๖๕

         ดังนั้น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในท้องที่ จึงได้จัดทำประวัติหลวงปู่มาเพื่อเป็นต้นแบบและนำคำสอนหลวงมาเผยแผ่เพื่อเป็นแนวทางในการคิดการปฎิบัติตัวปล่อยว่างไม่ยึดติดในสิ่งที่เป็นรูปธรรม เกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งที่ดิ้นล้นเงินทอง  เกรียติยศเช่นนี้ “เอาล่ะ บ้านแห่งนี้ ฉันจะไม่กลับมาเหยียบในเพศเป็นฆราวาสอีก” เพราะพิจารณาเห็นว่า ชีวิตของฆราวาสแก่นสารสาระไม่ได้เลย มันขัดข้องวุ่นวายไปหมด เฉกเช่นคนอื่นๆ ได้อีกต่อไป แม้ว่าจะพยายามทำตามอย่างหนุ่มๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน ถึงจะมีสาวๆ มาหลงรัก ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างที่คนอื่นๆ เขาต้องการได้เลย กลับมามองเห็นว่า คนเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้สูงศักดิ์ หรือยาจกผู้เข็ญใจ ก็ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ไม่ว่าจะคิดอะไรก็มาลงที่ความตายทุกทีจากความดีทิ้งไว้ แต่ตำนานการเป็นจันทร์เต็มดวง เป็นหนึ่งในผู้รู้ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้เบิก ตามวิถีที่พระพุทธองค์และพระสุปฏิปันโนผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์นำพาดำเนิน

                     

 

อื่นๆ

เมนู