ข้าพเจ้า นายวสุ ภูริพงษ์จินดา เจ้าหน้าที่โครงการ U2T ประเภทประชาชน ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง NS03 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม ในโครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T ในหัวข้อที่ 8 ผู้แทนตำบล พื้นที่ ตำบลวังเหนืออำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ได้ดังนี้
แบบสอบถามนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ โดยผู้ให้ข้อมูลในหัวข้อที่ 8 ผู้แทนตำบล ในพื้นที่ คือ คุณอนงค์ สีสังข์ ตำแหน่ง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ หน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลวังเหนือ ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ให้ข้อมูลในการร่วมกิจกรรมของหน่วยงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) ซึ่งเป็นโครงการที่ดีต่อชุมชนดังนี้
หน่วยงานได้มีส่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการ ตามบริบทของชุมชน ได้แก่
- การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ)
- การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว)
- การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ที่ส่งผลต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบลเป้าหมาย
- เกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่
- การเฝ้าระวัง ประสานงานและติดตามข้อมูลสถานการณ์การระบาดของ COVID และโรคระบาดใหม่การเฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับสภาพแวดล้อม ระบบรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค (การสอบสวนโรค การคัดกรอง จัดระดับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย กลุ่มสัมผัส การวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มการระบาดในพื้นที่)
- เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน
ซึ่งหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ได้มีส่วนร่วมในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T โดยเป็นสื่อกลางในการขยายวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของโครงการไปยังชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดความเข้าใจในโครงการมากขึ้น
ผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานและพื้นที่ชุมชน จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T ทำให้ชุมชนและพื้นที่เกิดการฟื้นฟูทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน นำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการจ้างงานทำให้คนในชุมชนมีรายได้ เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน
ในการดำเนินงานโครงการ U2T ทำให้หน่วยงานเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยหน่วยงานมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน พัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ดังนี้
- เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาสินค้าในชุมชน เพื่อยกมาตรฐานสินค้าในชุมชนให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน
- เป็นหน่วยงานที่ทำให้เกิดการจ้างงานของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีรายได้
- เป็นส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เมื่อมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนก็จะทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
- เป็นศูนย์ประสานงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) เฝ้าระวังและติดตามผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง การส่งต่อการรักษา ประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชนอย่างรวดเร็ว
จากโครงการและกิจกรรมดังกล่าวที่หน่วยงานได้ร่วมดำเนินการ ทำให้ชุมชนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในการพัฒนาชุมชนมากขึ้น ทำให้ภาพลักษณ์ของหน่วยงานในมุมมองจากชุมชนดีขึ้น
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T ไม่มีผลกระทบด้านลบอื่นๆจากการดำเนินกิจกรรมในโครงการแน่นอน เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นในทุกด้าน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T เป็นผลดีต่อ หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน/ชุมชน ในส่วนตัวคิดว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T เป็นโครงการที่ดีมากๆ และควรจะมีโครงการนี้แบบยั่งยืนต่อไป