ข้าพเจ้า นายลิยสิทธิ์ ระวังดี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร.) ตำบลวังเหนือ  อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากการปฏิบัติงานในไตรมาสที่ 3 นั้น สรุปรายงานผลการดำเนินงานได้ดังนี้

ข้อมูลพื้นฐานตำบลวังเหนือ

          ตำบลวังเหนือ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ประชากร ประมาณ 4,546 คน มีวัด 2 แห่ง  โรงเรียนอีก 2  โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง ฝั่งทางทิศตะวันตกของชุมชนเป็นพื้นที่ลุ่ม ทิศตะวันออกของชุมชนเป็นพื้นที่ดอน ภาษาที่ใช้สื่อสาร คือ ภาษาเขมร ลาว ส่วย

การพัฒนาพื้นที่

  โจทย์พื้นที่

    ส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชนอย่างยั่งยืนยกระดับสินค้าโอทอป พัฒนาสร้างทักษะในการสร้างอาชีพ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์

 กิจกรรม

  1. การทำปุ๋ยชีวภาพและการทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะ
  2. ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ขนมไทย และจักสาน โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และ การรับรองมาตรฐาน

    3.การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการในวัยเด็ก

     4.การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  1. การอบรมนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ การเขียนโฆษณา เขียนเนื้อหาสินค้า
  2. พัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกยกระดับการท่องเที่ยว
  3. การสร้างรายได้เพื่อหนุนเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

แผนพัฒนาตำบล   ข้อมูลทุติยภูมิ

                             ศักยภาพตำบล

                            ตรวจสอบข้อมูลกับพื้นที่

                            วางแผนแก้ไขปัญหา

                           โครงการ/กิจกรรม

                           การจัดสรรผลประโยชน์

                           ประเมินผล

                           แผนพัฒนาตำบล

ผลลัพธ์

  • เกิดการจ้างงานในชุมชน
  • ผู้รับจ้างงานได้พัฒนาทักษะครบทั้ง 4 ด้าน
  • ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยการเข้ามามีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยกับชุมชน
  • เกิดการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Community Big Data)

เชิงเศรษฐกิจ

    ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น                                                                                                                                                     ต้นทุนในการผลิตลดลง                                                                                                                                                         การติดตามผลงานจากการจากการอบรมจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านอาชีพอย่างรวดเร็ว ลดอัตราการว่างงาน

เชิงสังคม

   ประชนชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดทักษะการประกอบอาชีพใหม่ โดยการพัฒนาผ้าทอ ขนมไทย  และจักสาน เพื่อยกระดับสินค้า OTOP ให้มีคุณภาพมากยิ่งขี้น เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนสร้างผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP

 

 

 

อื่นๆ

เมนู