คหกรรมใบตอง

                     ได้ลงพื้นที่ ในเขตตำบลบ้านด่าน สภาพดินในเขตพื้นที่ตำบลบ้านด่าน ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงมีแม่น้ำ ห้วยบึง หลายสายส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปะปนทราย เป็นส่วนใหญ่เหมาสำหรับใช้ทำการเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะปลูก กล้วย  ร้อยละ90% ของพื้นที่ และส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมีฝีมือในด้านคหกรรมใบตองในส่วนกลาง ที่พอประกอบและช่วงในช่วงเทศการ งานบุญต่างๆได้ หรือบางคนอาจใช่ในการประกอบอาชีพ

                      คหกรรมงานที่นำใบตองมาประดิษฐ์ให้เป็นชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้งานได้ เช่น บายศรี กระทง เป็นต้น งานใบตองเป็นงานที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยที่มีความละเอียด สวยงามของไทยมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และมีการสืบต่อกันมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน อาจจะมีการประยุกต์แต่ก็ยังมีแบบดั่งเดิมอยู่ ปัจจุบันนำมาประยุกต์เพื่อให้เป็นงานธุรกิจเพราะงานใบตองในปัจจุบันนิยมใช้กันมากหลายเช่น

 1.ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
1.1 ใช้ใส่อาหาร ห่ออาหาร ห่อขนม ห่อของ ห่อผัก ห่อดอกไม้ ช่วยให้สดทนนาน
1.2 ช่วยให้ขนมและอาหารสีสวยและมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน
2. ประโยชน์ในโอกาสพิเศษ
2.1 งานวันสำคัญ ประดิษฐ์ภาชนะใส่ดอกไม้ ขนม ผลไม้ และใส่อาหารนำไปให้บุคคล
ซึ่งเคารพนับถือ ในวันคล้ายวันเกิด วันปีใหม่ วันขึ้นบ้านใหม่ วันประสบความสำเร็จ วันฉลองโชคชัย วันเยี่ยมไข้ หรือแม้แต่วันจากไป
2.2 งานประเพณีนิยม ชาวไทยยมประดิษฐ์ผลงานดอกไม้ใบตองแบบประณีตศิลป์ใช้ในงานพิธีเช่น พานขันหมาก ขันหมั้น ขันสินสอด พานรับน้ำสังข์ บายศรี กระทงลอย ใช้ในงานต่าง ๆ
ซึ่งล้วนแต่เป็นประเพณีที่งดงามของชาวไทยที่ควรจะฟื้นฟูและรักษาไว้
2.3 งานพิธีทางศาสนา เช่น พานดอกไม้ธูปเทียน กระทงดอกไม้ แต่งเทียนพรรษา กระถางธูป เชิงเทียน เป็นต้น
3. สร้างสรรค์ศิลปะมรดกของชาติ ผลงานประณีตศิลป์เป็นศิลปะมรดกแขนงหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเพระมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความละเอียด ประณีต อ่อนโยน มีระเบียบ มีความสง่างาม มีความงามแบวิจิตรพิสดาร ที่ไม่มีชาติใดในโลกมีเหมือน                                                                                                                                                                                                                    4.ช่วยให้จิตใจสงบร่มเย็น การนำใบตองมาประดิษฐ์เป็นสิ่งสวยงามย่อมนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน ความสงบร่มเย็นแห่งจิตใจ เพราะจิตใจมีสมาธิ ความคิดก็เกิดจิตนาการ ผู้ที่ทำงานใบตองจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี คิดแต่สิ่งที่ดีงาม อันนำมาซึ่งความประพฤติชอบ
5. เป็นอาชีพหลักและอาชีพรองถ้ามีใจรักงานด้านนี้และมีงานอื่นเป็นหลักอยู่ก็ใช้เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรองช่วยเพิ่มรายได้
ให้แก่ครอบครัว หรือถ้ามีใจรักมาก ๆ ก็ใช้เป็นอาชีพหลักได้

 งานใบตองสามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะการนำไปใช้งานได้ ดังนี้

1.ประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหาร ซึ่งงานใบตองประเภทนี้พบเห็นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวันในยุคหนึ่งใบตองไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความทันสมัยและความสะดวก ของพลาสติก แต่ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้ลดใช้พลาสติก จึงมีการนำใบตองกลับมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกครั้ง งานใบตองประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหารได้แก่ การห่อแบบต่างๆ กระทงถาดใบตองและกระเช้า

2.ประเภทกระทงดอกไม้ มีหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละแบบพัฒนาและสร้างสรรค์ได้อย่างสวยงาม กระทงทุก ๆ แบบสามารถนำไปใช้ได้หลายโอกาส เช่น ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย ใช้เป็นเครื่องสักการะพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชุดขันหมาก เป็นต้น

3. ประเภทกระทงลอยกระทองลอย คือ ภาชนะสำหรับใส่ดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งของ ที่ลอยน้ำได้ ส่วนใหญ่ประดิษฐ์จากใบตองซึ่งใช้ในเทศกาลวันลอยกระทง

4. ประเภทบายศรีบายศรี คือ ภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษ เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาว หวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่างๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร์ บายศรีหลวง” คือ บายศรีที่ใช้ในการประกอบราชพิธีต่าง ๆ ส่วน “บายศรีราษฎร์” คือ บายศรีที่ใช้สำหรับสามัญชนทั่วไป แต่หากจำแนกตามการนำไปใช้ สามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น บายศรีเทพ, บายศรีพรหม, บายศรีใหญ่, บายศรีบัลลังก์ บายศรีต้น, บายศรีปากชาม เป็นต้น ด้วยบายศรีเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย การประดิษฐ์บายศรีจึงต้องระมัดระวัง ประดิษฐ์องค์ประกอบต้องครบถ้วน และความระมัดระวังการนำไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อความเป็นมงคลสิริสวัสดิ์ในชีวิต

                    งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป

                                 

อื่นๆ

เมนู