1. หน้าแรก
  2. พยาบาลศาสตร์
  3. NS01 - ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน
  4. อาชีพเสริมการจักรสานตะกร้าพลาสติก ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม 2564

อาชีพเสริมการจักรสานตะกร้าพลาสติก ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม 2564

 

                                อาชีพเสริมการจักรสานตะกร้าพลาสติก

ข้าพเจ้านางสาวนภาพร นาคินชาติ บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

 

สมัยก่อนปู่ ย่า ตา ยาย ได้ทำการจักสานของใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต โดยนำวัสดุจากวัสดุธรรมชาติมาใช้ในการจักสาน เช่น ไม้ไผ่ หญ้าแฝก กก ผือ และอีกหลายๆ อย่าง จนก่อให้เกิดงานอาชีพสืบต่อกันมาเป็นภูมิปัญญาสู่ลูกหลานแต่วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติเหล่านั้นไม่คงทนเท่าที่ควร ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้มีการดัดแปลงจากอุปกรณ์เหล่านี้ไปเป็นการจักรสานจากพลาสติกแทน โดยได้นำเอาเส้นพลาสติกที่มีลักษณะคล้ายตอกแต่มีสีสันลวดลายที่สวยงามและคงทนมาทำการจักรสาน ซึ่ง ณ ปัจจจุบันคนในชุมชน ตำบลบ้านด่าน ดำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ได้นิยมทำเป็นอาชีพเสริม คือ การจักรสานตะกร้าพลาสติก

การจักสานตะกร้าพลาสติกถือเป็นอาชีพที่กลุ่มผู้สูงอายุและชาวบ้าน ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้หารายได้ ในยามที่ว่างจากการทำสวน ทำไร่ คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาในการทำจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้งจากการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่มีการจักรสานวัสดุหวาย ไม่ไผ่อยู่แล้ว ทางหน่วยงานเทศบาลตำบลบ้านด่านได้จัดโครงการการทำตะกร้าพลาสติกโดยได้นำวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการทำตะกร้าสานพลาสติกมาให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเทศบาลและกระจายสู่คนในชุมชนจนได้เกิดเป็นกลุ่มฝึกอาชีพอยู่ที่วัดบ้านด่าน

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสานตะกร้าพลาสติก คือ

  1. กรรไกร

2.เส้นพลาสติก

3.สายยาง

4.เหล็กหลวด

และมีขั้นตอนและวิธีการทำดังนี้ ใน

  1. เตรียมวัสดุจะมีการเตรียมพลาสติกแม่แบบการสานตะกร้าพลาสติกตามความต้องการ
  2. เลือกสีเส้นพลาสติกให้เหมาะสมกัน
  3. เริ่มสานตะกร้าพลาสติกตามแม่แบบที่ออกแบบไว้
  4. จัดเส้นพลาสติกแล้วให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลายโดยขัดเว้นเส้น
  5. ทำการขึ้นลายข้างตะกร้าโดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ
  6. ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลายสานสลับเส้น
  7. ขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้วให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม
  8. เมื่อสานเสร็จแล้วให้บีบตามขอบของตะกร้าเพื่อทำให้เป็นทรง

สำหรับการกระจายความรู้เรื่องการสานตะกร้าพลาสติกสู่ชุมชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและชาวบ้านมีรายได้ โดยแหล่งตลาดคือหน่วยงานของเทศบาลผู้สูงอายุหรือชาวบ้านสามารถนำตระกร้าที่สานเข้ามาขายในหน่วยงานเทศบาล หรือแจ้งกับทางผู้ใหญ่บ้านให้หน่วยงานเทศบาลมารับตระกร้าสานเข้าไปขายในส่วนกลาง โดยราคาที่ทางเทศบาลรับซื้อจะอยู่ที่ 50 ถึง100 บาทเพื่อนำมาขายต่อในราคาเฉลี่ย 150- 250 บาท

ใช้เงินลงทุนประมาณ ลงทุน 700  บาท ซึ่งรายได้เฉลี่ยรายได้จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของทางเทสบาลว่าต้องการรับซื้อตะกร้าพลาสติกจำนวนเท่าไร

 

สำหรับปัญหาที่พบในตอนนี้คือแหล่งตลาดที่กระจายสินค้าออกจากเทศบาลเนื่องจากการที่เทศบาลรับซื้อตะกร้าและตั้งขายไว้ในสำนักงาน กลุ่มลูกค้าก็มีเพียงผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือผ่านไปมาในสำนักงานเทศบาลและยังขาดความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลวดลายที่ทันสมัยและสีสันของตะกร้าพลาสติกที่ควรมีลวดลายหลากหลายมากกว่านี้

ข้อเสนอแนะความต้องการเกี่ยวกับการจักรสานตระกร้าพลาสติกว่าอยากให้มีการจัดการอบรมเกี่ยวกับการจักรสานตะกร้าให้มีลวดลายและสีสันที่หลากหลายขึ้นและ และต้องการพัฒนากลุ่มการตลาดเป็นการขายสินค้าออนไลน์ มีการโฆษณาสินค้า และเพิ่มมูลค้าสินค้าจากที่มีอยู่ อาจจะทำให้ตะกร้าพลาสติกของตำบลบ้านด่านได้รับความนิยมและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนมากขึ้น

 

อื่นๆ

เมนู