ข้าพเจ้า: นายกฤษณะชัย แขวรัมย์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร:พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดของไทยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแต่ละปีไม่น้อย ด้วยประโยชน์ของอ้อยที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลและพลังงานทดแทนทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยหลายล้านไร่ให้ผลผลิตอ้อยรวมกว่าร้อยล้านตันซึ่งปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยมากกว่า 200 สายพันธุ์ทั่วโลกแต่ที่นิยมปลูกกันมีประมาณ 30 สายพันธุ์ โดยอ้อยที่ปลูกมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่ อ้อยเคี้ยว และอ้อยทำน้ำตาล

จากการลงพื้นที่สำรวจชาวบ้านตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ทำไร่ ทำนา จากการสอบถามชาวบ้านเมื่อว่างเว้นจากกิจกรรมการเก็บผลผลิตทางการเกษตรจากการทำนาช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ธันวาคมต่อมาในช่วงเดือน มกราคม จะเป็นการเริ่มบขวนการ การปลูกอ้อยของเกษตรกรซึ่งในตำบลบ้านด่านชาวเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมปลูกอ้อยสำหรับไว้ทำน้ำตาลสายพันธุ์ที่ทางกรมวิชาการเกษตรแนะนำได้แก่ กลุ่มพันธุ์อู่ทอง เช่นอู่ทอง 12 กลุ่มพันธุ์ขอนแก่นเช่นพันธุ์ขอนแก่น 3 กลุ่มพันธุ์ เค แอลเค และซีเอสบี จากสำนักงานอ้อย เช่น เค 88-92 พันธุ์แอลเค 92-11และจะเริ่มเก็บผลผลิตในช่วงเดือน มีนาคม เมษายนผลผลิตส่วนใหญ่จะถูกนำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาลซึ่งตั้งอยู่ที่เลขที่ 237 หมู่ที่ 2 ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ราคาของอ้อยจะขึ้นอยู่กับระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ 98.17 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 937.19 บาทต่อตันอ้อย และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อยเท่ากับ 55.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เท่ากับ 394.29 บาท/ตันอ้อย

แม้อ้อยทำน้ำตาลที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยเป็นอย่างมากแม้อ้อยจะเป็นพืชปลูกง่ายเก็บเกี่ยวได้หลายครั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตอ้อยและความหวานสูงยังเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยสนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศให้แข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกโดยพันธุ์อ้อยที่ดีต้องให้ผลผลิตสูงและความหวานสูงต้านทานต่อโรคและแมลงมีลักษณะทางการเกษตรที่ดี เช่น ไว้ตอได้หลายครั้ง ทนทานต่อการหักล้ม เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรและปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญในแต่ละภูมิภาคเพื่อให้มีอ้อยพันธุ์ดีส่งเสริมชาวไร่อ้อยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้มีอาชีพที่มั่นคงยั่งยืนต่อไปทั้งนี้ความเหมาะสมของแต่ละสายพันธุ์ยังขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ และที่สำคัญผลผลิตอ้อยที่ดียังขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอ้อยของชาวไร่แต่ละรายด้วย

 

อื่นๆ

เมนู