ข้าพเจ้า นางสาวกัญธนาญา เฮ่ประโคน ประเภทภาคประชาชน

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

          ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ ต่อมาได้มีการนำมาปลูกทางจังหวัดบุรีรัมย์มากขึ้น ทำให้มีคนหันมาปลูกยางมากขึ้นจากการทำนา ลักษณะต้นยางพาราที่นิยมปลูกในตำบลบ้านด่านคือ ยางพาราพันธุ์ RRIM 600 (RRIM ย่อมาจาก Rubber Research Institute of Malaysia หรือ สถาบันวิจัยยางแห่งประเทศมาเลเซีย) เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูง เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสภาพพื้นที่ในตำบลบ้านด่านส่วนมากจะเป็น นาดอนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ทำนาไม่ได้ผลผลิตจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ทางเกษตรอำเภอบ้านด่าน จึงได้มีการผลักดันให้มีการปลูกยางพารามากขึ้น เพราะยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงกับปัญหาภัยแล้งน้อยมากกว่าพืชชนิดอื่น และคาดว่าแนวโน้มเกษตรกรจะหันมาปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจการปลูกยางพาราในตำบลบ้านด่าน พบว่าส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมหันปลูกยางพารา เพราะมีรายได้ดี และยางพาราสามารถให้ผลผลิตกับสภาพพื้นที่ที่เป็นนาดอนได้ดี จากข้อมูล มีเกษตรกรปลูกยางพาราในพื้นที่ตำบลบ้านด่านทั้งหมด 347.54 ไร่ โดยต้นทุนในการผลิตจะมีค่าอุปกรณ์ ค่าต้นกล้า และค่าแรงงาน มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน (ขึ้นอยู่ว่าเกษตรกรเริ่มปลูกในช่วงไหนของปี) การขายยางสามารถขายน้ำยางสด และยางแผ่นดิบ ซึ่งน้ำยางสดจะได้ราคามากกว่ายางที่แปรรูปเป็นแผ่นแล้ว ราคายางอยู่ที่ น้ำยางสด 65.00 บาท/กก. ยางแผ่นดิบ 61.90 บาท/กก (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มีนาคม  2564) ราคายางยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่น่าห่วง คือ ปัญหารการยืนต้นตายของต้นยางพารา ซึ่งทางเกษตรอำเภอได้คิดแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา คือ ให้เจ้าหน้าที่ออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกรในปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด

จากการปลูกยางพาราทำให้เกษตรกรในตำบลบ้านด่านมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะจากสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง แต่เหมาะกับการปลูกยางพารา มีการปรับเปลี่ยนจากการทำนาที่ไม่ค่อยได้ผลผลิตแต่ต้นทุนแพง มาเป็นการปลูกยางพาราแทนแต่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาที่เกษตรกรพบเจอควรมีการลงพื้นที่แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องมีแบบรับกับภาระหนี้สินที่จะตามมา

 

อื่นๆ

เมนู