ข้าพเจ้า: นายกฤษณะชัย แขวรัมย์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร:พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมการเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคมโดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบันซึ่งข้าพเจ้าได้มีประสบการณ์เล่นการละเล่นพื้นบ้านในวัยเด็ก คือ งูกินหาง โดยมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มจากการสี่ยงทายใครแพ้ต้องเล่นเป็น พ่องู ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรงตัวใหญ่จะได้เล่นเป็น แม่งู ข้อนี้ตามแต่ตกลงกับเพื่อนที่เล่นด้วยไม่มีกฎตายตัว การเล่นเป็นแม่งูจะมีหน้าที่ปกป้องเพื่อนๆคนอื่นที่เล่นเป็นลูกงู จากนั้นลูกงูจะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้เพื่อให้แม่งูได้เผชิญกับพ่องูจากนั้นจะมีการขับร้องเพลงการละเล่นโดยพ่องูจะเป็นฝ่ายถามว่า
พ่องู : แม่งูเอ่ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อโศกโยกไปโยกมา (พร้อมแสดงตัวโยกไปมา)
พ่องู : แม่งูเอ่ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)
พ่องู : แม่งูเอ่ยกินน้ำบ่อไหน
แม่งู : กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา (พร้อมแสดงอาการส่ายไปมา)
จากนั้นพ่องูจะพูดว่า กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว จากนั้นพ่องูจะวิ่งไปจับลูกงูที่อยู่หลังแม่งูส่วนแม่งูจะทำหน้าที่ปกป้องลูกงูไม่ไห้พ่องูจับไปเมื่อลูกงูตัวไหนโดนจับก็จะมายืนนอกแถวเพื่อรอเล่นรอบต่อไปหากพ่องูแย่งลูกได้หมดก็จะถือว่าจบเกมส์ในรอบนั้นและจะเริ่มเล่นใหม่ในตาถัดไปโดยคนที่รับบทแม่พ่องูก็จะสลับกับแม่งูเปลี่ยนกันไปมาตามที่ตกลงกัน
การละเล่นงูกินหางนอกจากจะมอบความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึกภาษาในด้านการร้องถ้าเป็นการเล่นของเด็กเล็กๆจะมีเพียงบทโต้ตอบดังกล่าวเพื่อเป็นการเรียนรู้ในการสื่อสารในเรื่องความหมายของกริยาต่าง ๆ ได้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ฝึกความสามัคคีและการทำงานเป็นกลุ่มอีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและยังฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเจอกับอันตรายนอกจากนี้การละเล่นพื้นบ้านนี้ยังเป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายตั้งแต่เด็กๆอีกด้วย