ข้าพเจ้านางสาวอนุสรา กองไธสง  ประเภทบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร
: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

นกยูง เป็นนกตระกูลไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 สกุล ในโลก คือ สกุลของนกยูงทางทวีปแอฟริกา ได้แก่ นกยูงคองโก และ สกุลของนกยูง ทางทวีปเอเซีย ที่ยังแบ่งเป็น 2 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน กับ นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว ในบรรดาสัตว์โลกนานาชนิด นกยูงดูจะเป็นสัตว์ที่สร้างความสดใส รื่นเริงให้โลก และ เต็มไปด้วยชีวิตชีวา มากที่สุด ไม่ว่าเสียงร้องขับกล่อม อันไพเราะ หรือ ขนปีกหลากสีสัน ที่บางชนิดก็มีลวดลาย แต่งแต้ม จนดูน่าอัศจรรย์ และ หนึ่งในจำนวนนกงามทั้งหลายนั้น นกยูง ได้รับการยกย่อง ให้เป็นสัญลักษณ์ แห่งความงาม ดังนั้น เรื่องราวของนกยูง จึงปรากฏอยู่ในภาพเขียน บทกวี และ ลัทธิความเชื่อ ของชน หลายประเทศ ทั้งชาวฮินดู จีน อียิปต์ และ ชนพื้นเมือง แถบ เมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งไทยด้วย

จากการลงพื้นที่สำรวจเดือนตุลาคม ภายในวัดบ้านระหาน(วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน) ตำบลบ้านด่าน ของโครงการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูงวัดบ้านระหาน โดยได้รับหัวข้อเรื่องการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับนกยูง จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่า นกยูงจะหากินอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก โดยพบ ตั้งแต่ 2 – 4 ตัว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นตัวเมียและนกที่ยังโตไม่เต็มวัย ซึ่งมักติดตามนกตัวเมียอยู่เสมอ อันเนื่องจาก ความสัมพันธ์ในสมัยที่ยังเป็นลูกนกคอยติดตามแม่ ดังนั้น นกยูงตัวเมียใหญ่ จึงมีบทบาทในการนำสมาชิกออกหากินและคอยดูแลฝูงให้ปลอดภัย ส่วนนกยูงตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้วนอกฤดูผสมพันธุ์ มักอยู่ร่วมหากินกับฝูงตัวเมียด้วย แต่เมื่อเข้าฤดูผสมพันธุ์นกยูงตัวผู้จะแยกออกจากฝูงอยู่ตามลำพังอย่างเด่นชัด  การหากินของนกยูง จะหากินตามริมลำห้วยและบริเวณส่วนปาล์มและรอบๆพื้นที่วัดบ้านระหาน กระจัดกระจายออกไป มักจะเดินตามกันอย่างช้าๆสลับกับการหยุดยืนนิ่งเฉยเป็นเวลานานๆ จะไม่ใช้เท้าคุ้ยเขี่ยหาอาหารอย่างไก่ป่าแต่จะใช้ปากจิกกิน อาหารที่กินส่วนมากเป็น เมล็ดหญ้า และ ใบอ่อนของพืชล้มลุกหลายชนิด เมล็ดปาล์มและอาหารข้น(อาหารปลาดุก) นอกจากนี้ ยังกินแมลงชนิดต่างๆ ตลอดจน กบ เขียดขนาดเล็ก  บริเวณที่จะพบนกยูงได้เป็นจำนวนมากที่สุด คือ บริเวณสวนปาล์ม ตรงข้ามกับเมรุ เป็นสถานทีที่มีสภาพโป่รงโล่งไม่รกทึบมีต้นปาล์มสูง

ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำหรับนกยูงภายในวัดบ้านระหาน พบว่า การขับรถเร็วในบริเวณวัดของนักท่องเที่ยวที่มา อาจไม่ระวังนกยูงที่เดินไปมาตามข้างถนนจึงอาจถูกรถยนต์ชนหรือหยีบตายได้ การส่งเสียงดังและการทำให้นกยูงตกใจ เนื่องจากนกยูงมีนิสัยอย่างหนึ่ง เมื่อมีภัยต่อตัวนกยูงเอง คือ มักมีปฎิกริยาต่อเสียงดังผิดปกติ เช่น เสียงตะโกน เสียงไม้หัก ไม้ล้มดัง เสียงสิ่งปลูกสร้าง เสียงหมาเหา เมื่อนกยูงตกใจจะส่งเสียงร้อง และจะบินสู่ที่สูงหรือวิงหนีไป

ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับนกยูงภายในวัดให้มีความเป็นอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แตกตื่น คือการจัดทำป้ายไว้สำหรับบอกนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม อาทิ ป้ายเตือนรถนักท่องเที่ยว เช่น กรุณาขับรถช้าๆ ระวังนกยูง กรุณาลดความเร็วภายในวัด เป็นต้น ป้ายห้ามส่งเสียงดังหรือทำให้นกยูงตกใจ เช่น กรุณาอย่าส่งเสียงดัง ห้ามวิ่งไล่นกยูง ห้ามไล่จับนกยูง เป็นต้น ป้ายเตือนรักษาความสะอาด เช่น ห้ามทิ้งขยะ กรุณาอย่าทิ้งขยะ  ให้อาหารนกยูงแล้วกรุณาทิ้งขยะลงถัง เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมให้ความรู้ ให้การสนับสนุนกับทางวัดบ้านระหานอีกด้วย

อื่นๆ

เมนู