1. หน้าแรก
  2. พยาบาลศาสตร์
  3. NS01 - ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน
  4. การจัดจุดโซนนิ่งสำหรับโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูงวัดระหาน(เกาะแก้วธุดงคสถาน) ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

การจัดจุดโซนนิ่งสำหรับโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูงวัดระหาน(เกาะแก้วธุดงคสถาน) ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม 2564

ข้าพเจ้านางสาวกัญญาณี คณาศรี บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

จากการลงสำรวจพื้นที่ในชุมชนตำบลบ้านด่าน เป็นตำบลที่มีแหล่งท่องเที่ยวไม่มากนัก และไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เห็นได้ว่าพื้นที่ตำบลบ้านด่านนั้นสามารถพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้   จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูงวัดระหาน(เกาะแก้วธุดงคสถาน) ขึ้นโดยหนึ่งในขั้นตอนการฟื้นฟูมีการจัดจุดโซนนิ่งของนกยูงเพื่อเป็นที่ดึงดูดสายตาของนักเที่ยวอีกด้วย

การจัดจุดโซนนิ่งจะแบ่งออกเป็น 4 จุด คือจุดที่ 1 โซนให้อาหารนกยูง จุดที่ 2 โซนอนุบาล จุดที่ 3 จุดกันโซนและจุดที่ 4 จุดขยายพันธุ โดยแต่ละจุดมีรายละเอียดดังนี้

  • จุดที่ 1 โซนให้อาหารนกยูงจะเป็นกลุ่มนกยูงสายพันธุ์เดิมของวัดที่มีการผสมพันธุ์สัตว์กันเองจนเกิดการกลายพันธุ์ และจะมีการตั้งตู้รับบริจาคค่าอาหารนกยูงพร้อมอาหารสำหรับให้นกยูง
  • จุดที่ 2 โซนอนุบาลจะเป็นโซนที่มีลูกนกยูงที่ฟักออกจากไข่แล้ว มาอยู่ในกรงอภิบาลโดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1-2 เดือน ช่วงที่2 3-5 เดือน ช่วงที่3 6-12 เดือน
  • จุดที่ 3 จุดกันโซนคือจุดที่มีนกยูงที่สามารถบินได้ รำแพนหางได้ อยู่จุดนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมนกยูงสายพันธุ์แท้ที่มีความสวยงาม
  • จุดที่ 4 จุดขยายพันธุ์คือกรงของพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สายพันธุ์แท้ที่ทำการติดต่อขอบริจาคจากสถานที่ภายนอก

นี่คือแผนภาพตัวอย่างของจุดโซนนิ่ง

 

การจัดจุดโซนนิ่งเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแผนงานของโครงการบรมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูงวัดระหาน(เกาะแก้วธุดงคสถาน) ดังนั้นจะให้ประสบความสำเร็จและเป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต้องได้รับความร่วมมือหลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรราชการอำเภอ เทศบาล ประชาชนในชุมชนและที่สำคัญก็คือพระสงฆ์ภายในวัดจะต้องมีการดูและและฟื้นฟูติดตามผลตลอดเพื่อไม่ก่อให้เกิดการซบเซาของการท่องเที่ยวเหมือนอดีตที่ผ่านมา

อื่นๆ

เมนู