ข้าเจ้านางสาวณัฐกฤตา  ลาภสาร ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01 ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในตำบลบ้านด่านประจำเดือนตุลา พ.ศ.2564 วัตถุประสงคเพื่อพัฒนาวัดระหานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักของจังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากในวัดมีจุดที่น่าสนใจมากมาย อาทิ เกาะตะเคียน เป็นต้น

เกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) ดำริการก่อสร้างโดยพระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม) บนที่ดินของคุณสมพงษ์ พูนผล ซึ่งเป็นหลานของหลวงปู่ ด้วยเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นเกาะกั้นคลองลำตะโคง จำนวน 3 เกาะ รวมพื้นที่ 140 ไร่ เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาคณะศรัทธาซึ่งเป็นลูกหลานๆ ของหลวงปู่ จึงพร้อมใจกันถวายที่ดิน เพื่อดำเนินการสร้างวัดในปี พ.ศ. 2536 โดยต่อมาในปี 2539 ได้รับอนุญาตสร้างวัดตามประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากนั้นได้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาอยู่จำพรรษาอย่างต่อเนื่องเสมอมาและต่อมาได้ดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดในพระพุทธศาสนา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 ด้วยความเห็นชอบของ มหาเถรสมาคม นามว่า “วัดระหาน”

ภายในพื้นที่วัดสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้พืชพันธุ์ธรรมชาติได้ เนื่องจากมีต้นไม้นานาชนิดอาทิ เช่น ต้นยางนา ต้นปาล์ม ต้นสาละ ต้นตะเคียน เป็นต้น โดยบริเวณที่มีต้นตะเคียนเยอะที่สุดมีชื่อว่า เกาะตะเคียน ภายในเกาะนี้มีจุดที่น่าสนใจหลายจุดด้วยกัน จุดแรกที่พบคือ จุดนั่งฉันกาแฟของหลวงปู่จันทร์แรมตั้งอยู่บนเนินปลวก เมือเดินเข้าไปข้างในจะพบกับจุดที่ 2 เป็นจุดที่หลวงปู่ใช้เพื่อเดินจงกรมบริเวณนี้จะหนาแน่นไปด้วยต้นไผ่และหนามไผ่ ผ่านจากจุดเดินจงกรมแล้วประมาณ 100 – 200 เมตร จะพบกับจุดที่ 3 จุดต้นตะเคียนใหญ่ที่ผูกผ้าไว้เป็นสัญลักษณ์ให้ผู้ที่มีศรัทาไปกราบไหว้ขอพร นอกจาก 3 จุดที่กล่าวมาแล้วจะมีกุฏิพระอยู่ 2 – 3 หลัง และมีกุฏิที่หลวงปู่จันทร์แรมใช้เพื่อบำเพ็ญภาวนา เนทางการเดินชมจุดต่างๆนั้นจะเดินเวียนเป็นวงกลมมาบรรจบที่จุดเริ่มต้นเพื่อออกไปสู่อีกเกาะหนึ่ง

    

 

 

 

 

 

จะเห็นได้ว่า วัด นอกจากจะเป็นสถานที่ทำบุญและบำเพ็ญภาวนาเหมาะกับผู้ที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ต้องการฝึกปฏิบัติอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและตามรอยหลวงปู่จันทร์แรมที่ได้บำเพ็ญอยู่ภายในเกาะนี้ นอกจากจะได้บุญกุศลแล้วยังได้ความรู้อีกด้วย

 

อื่นๆ

เมนู