วัดระหาน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ข้าพเจ้า: นายพันธ์ณรงค์ รัถยาภิรักษ์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้จัดทำโครงการ ยกระดับวัดระหานให้เป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2564 และอีกวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2564 ซึ่งได้ช่วยกันจัดภูมิทัศน์ในวัดและสำรวจความเป็นมาภายในวัด และการเลี้ยงนกยูง ซึ่งเป็นจุดเด่นในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม จึงได้ศึกษาข้อมูลนำมาพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศ เพื่อยกระดับในการท่องเที่ยัยราชภัฎบุรีรัมย์ วอีกด้วย วัดระหานเป็นสถานที่ปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมจังหวัดบุรีรัมย์ คงหนีไม่พ้น ปราสาทเขาพนมรุ้ง สนามฟุตบอล สนามแข่งรถ หรือลูกชิ้นยืนกิน โดยสถานที่ท่องเที่ยวประเภทศาสนสถาน คือวัดระหาน เกาะแก้วธุดงคสถาน ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ระหว่างสนามบินบุรีรัมย์ (อำเภอสตึก) กับ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ถนนหมายเลข 219 วัดแห่งนี้จะมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
วัดระหานก่อสร้างขึ้นครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปี 2536 โดยพระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม) และต่อมาได้ดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 ด้วยความเห็นชอบของ มหาเถรสมาคม ใช้ชื่อว่า “วัดระหาน” มีคูคลองล้อมรอบเหมือนเกาะ
วัดระหาน (เกาะแก้วธุดงคสถาน) อยู่ที่ ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ เพื่อเป็นปูชนียสถานระลึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ลักษณะขององค์พระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะประยุกต์ร่วมสมัย ความสูง ๖๐ เมตร มี ๔ ชั้น
ภายในวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน เป็นสถานที่สงบร่มรื่น และมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการไปกราบไหว้ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทำบุญและปฏิบัติธรรม มาถึงจุดสำคัญของวัดระหาน คือ พระมหาธาตุรัตนเจดีย์ศรีบุรีรัมย์ เป็นพุทธเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสมเด็จพระสังฆนายกฝ่ายสยามวงศ์ และพระอัครมหาบัณฑิต วิมละรัตนะ เจ้าอาวาสวัดศรีเวฬุวนาราม ประเทศศรีลังกา ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุและหน่อพระศรีมหาโพธิ์ แก่พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) เมื่อปี ๒๕๔๘ ส่วนต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ปลูกไว้ด้านหลังพระมหาธาตุรัตนเจดีย์
พระมหาธาตุรัตนเจดีย์เปิดให้ชมทั้งหมด 4 ชั้น ภายนอกของพระมหาธาตุแสดงถึงความเป็นประติมากรรมร่วมสมัยที่เปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมตีความไปได้หลากหลายนับแต่ยักษ์สีแดงและสีเขียวที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ ซึ่งน่าจะเป็นยักษ์จากวรรณคดีมากกว่าที่จะมาจากพระไตรปิฎกเพราะพิจารณาจากเครื่องแต่งกายและหน้าตายักษ์ตัวสีเขียวอาจจะเป็นทศกัณฐ์ แต่ตัวสีแดงผู้เขียนไม่รู้ว่าเป็นยักษ์ตนใดเพราะสวมมงกุฎที่เป็นรูปพญานาคไว้ นอกจากยักษ์สองตัวนี้แล้วยังมียักษ์ที่ทำท่าเหมือนกำลังอมพระจันทร์ที่มีพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง อาจจะแสดงถึงความดีงามของพระพุทธองค์ที่แสดงให้หมู่ยักษ์ได้เห็นหรืออย่างไร นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอีกมากมายให้พวกเราได้ตีความและมันน่าเชื่อถือ