ข้าพเจ้านายสำราญ ภาษีดา ประเภท ประชาชน
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรม ในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
จากการลงพื้นที่เกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากภายในวัดมีลักษณะการเลี้ยงดูนกยูงแบบธรรมชาติ ในส่วนของการควบคุมในการดูแลยังครอบคลุมไม่เพียงพอเท่าที่ควร อีกทั้งภายในวัดไม่ได้มีเฉพาะมีสัตว์เพียงชนิดเดียวยังมีสุนัขจรจัดที่ชาวบ้านเอามาปล่อยทิ้งภายในบริเวณวัด ทำให้ยากต่อการควบคุม บ่อยครั้งที่สุนัขไล่กัดรุมทำร้ายนกยุงบาดเจ็บจนตาย และยังมีในเรื่องของ การสัญจรไปมาภายในวัดโดยรถยนต์ทำให้หลายครั้งมีนกยูงถูกรถเหยียบ รถชน จนทำให้ประชากรนกยูงที่มีนั้นเหลือน้อยลงทุกวัน จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาในการควบคุม เช่นการสร้างกรงให้นกยูงอาศัยอยู่ให้เป็นที่เป็นทาง มีความปลอดภัยเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายพันธุ์และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของนกยูงสูงขึ้น ทางทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านด่านจึงได้ออกแบบกรงนกยูงให้กับทางวัด
นกยูงเพศผู้และเพศเมียมีหงอนเป็นพู่สีเหลืองชี้ตรงอยู่บนหัวต่างจากนกยูงอินเดียซึ่งเป็นรูปพัดบนหัวและคอเป็นขนสั้นๆ สีเขียวเหลือบน้ำเงิน หน้ามีสีฟ้า ดำ และเหลือง ขนคอ หน้าอกและหลังตรงกลางขนมีเหลือบน้ำเงินแก่ล้อมด้วยสีเขียวและสีทองแดง นกยูงตัวผู้มีแพนขนปิดหางยาวหลายเส้น ตรงปลายมีดอกดวง “แววมยุรา” ตรงกลางดวงมีสีน้ำเงินแกมดำอยู่ภายในพื้นวงกลมเหลือบเขียว นกยูงกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็กนกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลพบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหางกางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง วางไข่ครั้งละ 3 – 6 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 – 28 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 102 – 245 เซนติเมตร
โครงสร้างกรงนกยูงโดยสังเขป
1.กรงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ลักษณะของโครงสร้าง กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 3 เมตรและก่ออิฐบล็อก ขนาด 19*35 เซนติเมตร หนา 7 เซนติเมตรสูง 3 ชั้น ต่อ 1 กรง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กรง และมีตาข่ายสานกั้น
2.กรงเลี้ยงอนุบาล ลักษณะของโครงสร้าง กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2.5 เมตร หลังคาหน้าจั่วโดยใช้กระเบื้อง ก่ออิฐบล็อก ขนาด 19*35 เซนติเมตร หนา 7 เซนติเมตรสูง 3 ชั้น และมีตาข่ายสานกั้น
3.จุดกันโซน ลักษณะของโครงสร้าง กว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ทำหลังคาเพิงไม้แหงนขนาด 3 เมตรโดยใช้ตาข่ายสานกั้นมีขนาดสูง 3 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1-2 เดือน ช่วงที่2 3-5 เดือน ช่วงที่3 6-12 เดือน
จากการลงพื้นที่ดังกล่าวทำให้ทราบปัญหาของทางวัดระหาน ทำให้ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านด่านได้ปรึกษาและวางแผนเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาจึงได้จัดทำสถานที่เลี้ยงดูประกอบไปด้วย กรงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ กรงเลี้ยงอนุบาลและจุดกันโซน ให้กับนกยูง