การจัดทำแผนที่ท่องเที่ยว
ข้าพเจ้า นางสาวจันทรรัตน์ ฮวดศรี ประเภท นักศึกษา
หลักสูตร : การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
แผนที่ คือ การจำลองสถานที่ในบริเวณโดยการนำมาทำเป็นรูปภาพเพื่อแสดงให้เห็นถึงวัตถุที่อยู่ในบริเวณนั้น การทำแผนที่มักทำเป็น 2 มิติ แสดงออกถึงระยะห่างระหว่าง 2 จุด ตรงที่ใดที่หนึ่งได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามหลักเรขาคณิต เช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ อีกทั้งเราเองสามารถเลือกวาดแผนที่เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติในบริเวณต่างๆ ของแผนที่
องค์ประกอบของ แผนที่คือ การแยกออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- สิ่งที่เกิดขึ้นมาเองจากธรรมชาติ อาทิ ภูมิประเทศในพื้นที่ประเทศต่างๆ, ปริมาณน้ำฝน, พื้นที่ป่าไม้ กับอีกประเภทคือ
2.สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ที่ตั้งของตัวเมือง, พื้นที่เพาะปลูก โดยหลักสำคัญในองค์ประกอบของ แผนที่ คือ
- ชื่อแผนที่ ปกติแล้วชื่อของแผนที่จะมีคำอธิบายต่างๆ ระบุเพิ่มเติมเอาไว้ให้ด้วย
- ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดต้องมีขอบระวาง จะแสดงออกมาด้วยเส้นขนานเป็นการแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นแมริเดียนเพื่อแสดงตำแหน่งตัวลองติจูด พร้อมทั้งแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดของตำแหน่งภูมิศาสตร์ต่างๆ
- ทิศทาง ตำแหน่งที่ตั้งสิ่งต่างๆ เพราะตัวเข็มทิศเองจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอด การใช้ทิศทางของแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ สังเกตว่าสิ่งที่ต้องมีในทุก แผนที่คือ เข็มทิศ
- สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อแทนจุดต่างๆ สัญลักษณ์ต่างๆ
- มาตราส่วน อันนี้เป็นการกำหนดทำนองของการย่อขนาดสิ่งต่างๆ ลงมาให้อยู่บนแผนที่อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความสมจริงมากที่สุด
มีการใช้สัญลักษณ์
เป็นพื้นที่เกาะ/ต้นไม้/ป่า
คือ น้ำ
คือ ถนน
คือ โรงจอดรถ
คือ ห้องน้ำ
ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่สำรวจบริเวณวัดระหานเพื่อจัดทำแผนที่ท่องเที่ยว และสอบถามจากสมาชิกในชุมชน และได้มีการจัดกิจกรรมการพูดคุยกันในเรื่องต่าง ๆ และเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงด้านการท่องเที่ยว ข้าพเจ้าและคณะทีมงานได้พูดคุย โดยใช้องค์ประกอบที่ 2 ของแผนที่ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา โดยมีการเดินสำรวจและเขียนแผนที่ท่องเที่ยวขึ้นมา และสอบถามหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ทราบปัญหา ความต้องการแนวทางการพัฒนาในชุมชน โดยคณะทีมงานสอบถามข้อมูลกับทางผู้นำชุมชน สมาชิกในชุมชน และเจ้าอาวาสประจำวัดระหาน
จากการสอบถามสมาชิกในชุมชนตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเกี่ยวกับการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยว จากข้อมูลพบว่าภายในวัดมีสถานที่ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น พระมหาธาตุเจดีย์ศรีบุรีรัมย์ เกาะแม่ชี เมรุ จุดให้อาหารนกยูง ศาลาการเปรียญ เกาะตะเคียน กุฏิหลวงพ่อองค์ดำ เกาะกระต่าย ช้างเผือก เกาะแก้ว วิหารรอยพระบาท หลวงพ่อทันใจ
จากข้อมูลที่ได้ทราบเกี่ยวกับการทำแผนที่ท่องเที่ยวแล้ว คณะทีมงานได้เห็นความสำคัญของข้อมูล จึงกาแนวทางพัฒนาชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยอยากส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวในชุมชน หรือจัดให้มีการทัศนศึกษา โดยประชาสัมพันธ์ผ่านรูปแบบออนไลน์ เพจเฟซบุ๊ก หรือการติดป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้คนพบเห็นได้ง่ายขึ้นของนักท่องเที่ยว ทำให้เป็นที่รู้จักและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกด้วย