การจัดตั้งกลุ่มสัมอาชีพ
ข้าพเจ้านภาพร นาคินชาติ บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
จากกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์การจักรสานตะกร้าพลาสติกให้มีมูลค่าและได้มาตรฐาน ( มผช.) ในเดือน ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้ทำการจัดกิจกรรมการจักรสานตะกร้าให้แกประชาชนชาว ตำบลบ้านด่าน มีหลายหมู่บ้านที่เข้าร่วมอบรมการจักสานตะกร้าพลาสติก ซึ่งแต่ละหมู่บ้านให้ความสนใจและความร่วมเหมือนเป็นอย่างมาก เนื่องจากแต่ละหมูบ้านมีกลุ่มสานตะกร้าอยู่แล้ว จึงทำให้ชาวบ้านได้ความรู้มากมายในการสานตะกร้าที่หลากหลายมากขึ้น และในเดือน พฤศจิกายนได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเรื่อง การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ
จากการดำเนินงานลงสำรวจและการจัดอบรมโครงการที่ผ่านมาได้เห็นถึงการ รวมกลุ่มสัมมาชีพของ ตำบล บ้านด่าน อำเภอบ้านด่านจังหวัดบุรีรัมย์มีหลากหลาย การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน หรือปฏิสัมพันธ์กัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สามชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันไดในระดับที่พอดี
การที่บุคคลมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะต่อไปนี้เกิดขึ้น
- จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ
- แต่ละคนจะถือว่าตนเองเป็นสมาชิกกลุ่ม
- แต่ละคนในกลุ่มจะยอมรับกันเป็นสมาชิกกลุ่ม
- มีปทัสถานร่วมกัน
- แต่ละคนจะมีบทบาทหน้าที่ชัดเจน
- มีการเลียนแบบลักษณะบางอย่างที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมจากสมาชิกในกลุ่ม
- สมาชิกมีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก
- สมาชิกจะแสหวงหาเป้าหมายร่วมกัน
- มีการรับรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน และสมาชิกกลุ่มจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม
กลุ่มอาชีพ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่านจังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ อาทิ เช่น กลุ่มการจักรสานตะกร้าพลาสติก กลุ่มสัมอาชีพข้าวแต๋น มีสมาชิกชิกกลุ่ม มากกว่า 20 คน แต่ยังขาดการบริหารจัดการกลุ่ม จึงทำให้สมาชิกกลุ่มเริ่มลดน้อยลง และยังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมหรือพัฒนา ให้กลุ่มสัมมาชีพ มีความมั่งคง มีแนวคิดไปในทางเดียวกันได้
ดังนั้นทาง ทีมงาน U2T คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัชบุรีรัมย์ จึงได้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับ สัมอาชีพ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกลุ่ม และเพื่อให้ กลุ่มหรือสมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม มีกฎกติกาเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน มีกองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม และสามรถสร้างได้รายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนมากยิ่งขึ้น และเพื่อนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP