ข้าพเจ้านางสาวนุสรีย์ นามปราศัย ประเภทนักศึกษา NS01
หลักสูตร : การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าวแตน หรือที่เรียกว่า “นางเล็ด” “ข้าวแตน” หมายถึง ผลิตภัณฑ์ได้จากการนาข้าวเหนียว หรือข้าวเหนียวผสมข้าวชนิดต่างๆ มานึ่งหรือหุงสุก อาจผสมกับส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำผลไม้ น้ำผัก น้ำสมุนไพร เกลือ น้ำอ้อย งา น้ำกะทิ แล้วทำให้เป็นแผ่นหรือรูปทรงอื่น ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อน จากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น ทอดหรืออบให้พอง อาจปรุงแต่งหน้าด้วยเครื่องปรุงต่างๆ เช่น น้ำตาลมะพราวเคี่ยว หมูหย็อง น้ำพริกเผา ธัญชาติและรสชาติ
ลักษณะปรากฏ กลิ่นรสและเนื้อสัมผัสของข้าวแตน จะมีความสัมพันธ์กับการยอมรับของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นคุณลักษณะที่สามารถรับรู้ได้โดยตรงด้วยการบริโภค โดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพขอข้าวแต๋น ด้วยการวัดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของข้าวแต๋น ประกอบด้วย
- ปริมาณความชื้นทั้งหมด
- สีและลักษณะ
- ปริมาณน้ำมันในอาหาร
- กลิ่นรส
- เนื้อสัมผัส
ลักษณะเนื้อสัมผัสสำคัญที่จะบ่งบอกถึงคุณภาพของข้าวแตน คือ ความกรอบ ข้าวแตนที่มีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ต่อเมื่อลักษณะเนื้อยังคงแน่นและกรอบความกรอบจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะนำไปสู่ความพอใจเมื่อได้บริโภคและจะส่งผลให้เกิดการบริโภคในครั้งต่อไปโดยอาหารที่กรอบจะต้องเนื้อแน่นและแตกง่ายทันทีทำให้ผิดรูปร่างและเกิดเสียงเมื่อเคี้ยว
การวัดค่าความกรอบอย่างง่ายคือ วิธีทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยการชิมโดยผู้ประกอบการจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการชิม จดจำคุณภาพที่ดีที่สุด และระดับคุณภาพขั้นต่ำที่ยอมรับได้ รวมถึงมีการออกแบบฟอร์มบันทึกการวัดผลการประเมินหรือถ่ายรูปลักษณะปรากฏไว้เป็นมาตรฐานอ้างอิง
ข้าวแตนที่ผลิตขายมักมีปริมาณความชื้นต่ำ จึงดูดความชื้นจากภายนอกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ขนมหายกรอบ และมีปริมาณไขมันสูง เพราะใช้ขบวนการผลิตด้วยการทอดในน้ำมัน จึงมักจะก่อปัญหาทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย ดังนั้นการเลือกใช้ฟิล์มพลาสติกหรือถุงฟอยด์ ในการบรรจุขนม จึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของฟิล์มที่สามารถป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคุณสมบัติต่างๆ ของข้าวแตนได้
จากข้อมูลที่ได้ทราบเกี่ยวกับการเก็บรักษาคุณภาพข้าวแต๋น คณะทีมงานได้เล็งเห็นถึงความความสำคัญของข้อมูล จึงได้หาแนวทางการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ข้าวแตนเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจของทีมงานข้าวแตนที่สร้างสรรค์การนำข้าว มาพัฒนาให้มีรสชาติ ที่แปลกใหม่ถูกปากถูกคอของคนสมัยใหม่ ส่งผลให้ข้าวแตนมีรสชาติและคุณค่าที่แตกต่างจากข้าวแตนของถิ่นอื่น จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจแก่ผู้บริโภค ไม่ว่าจะซื้อเพื่อรับประทานเองเป็นอาหารว่างแบบพื้นบ้าน ซื้อเป็นของฝากในเทศกาลต่างๆ และยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย