เรื่อง วิธีการจับนกยูง

บทความรายงานผลการปฎิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๖๔

ข้าพเจ้า นางสาวปวันรัตน์ ถนัดค้า บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร : การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในตำบลบ้านด่านประจำเดือนพฤศจิกายน พ. ศ. 2564

วัตถุประสงค์เพื่อ กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูง

ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเรื่อง วิธีการจับนกยูง

            สัญชาตญาณของนกยูงที่วัดระหานมักจะส่งเสียงดังโดยเฉพาะในเวลาที่มีผู้คนจำนวนมากเข้ามาในบริเวณพื้นที่ที่นกยูงอยู่ นกยูงอาจรู้สึกปั่นป่วนได้ง่ายเมื่อมีคนเข้าใกล้ การจับต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้นกยูงและตัวเราได้รับบาดเจ็บ

             การใช้กรงที่ออกแบบมาสำหรับดักจับนกยูงโดยเฉพาะ การสร้างกับดักเป็นอีกวิธีหนึ่งในการจับนกยูง สามารถใช้กับดักในพื้นที่ เช่น สวนปาล์มหรือบริเวณรอบเมรุที่พบนกยูงได้เป็นจำนวนมาก กับดักควรมีประตูที่สามารถให้นกยูงเข้าและปล่อยได้อย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ข้างในและออกแบบมาอย่างเหมาะสมมีพื้นที่ให้หางนกยูงกางออกได้ ซึ่งจะต้องใช้ความอดทนแต่กลับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการจับนกยูง เนื่องจากนกยูงมีสายตาที่ดี ข้อระวังนกยูงมีแนวโน้มที่จะกระโดดหนีดังนั้นหากวางอาหารไว้ที่ขอบกับดักนกยูงอาจคว้ามันและวิ่งหนีไป จึงควรวางอาหารให้ลึกพอประมาณ การดักจับนกยูงเมื่อนกยูงอยู่ในกรงเพลิดเพลินกับอาหาร ให้เราเข้าใกล้กรงจากด้านหลังอย่างเงียบ ๆ และใช้ผ้าคลุมหรือตาข่ายคุมทั้งตัวนกยูงรอให้นกยูงสงบลงเพราะมันจะกระวนกระวายใจเมื่อรู้ตัวว่าถูกจับ จากนั้นก็ทำการติด Tag และฉีดวัคซีนเป็นขั้นตอนต่อไป

ข้อระวังของการจับนกยูงคือ เมื่อไหร่ที่นกยูงตกใจหรือสบัดปีกอย่างรุนแรง ไรขนในปีกนกยูงอาจลอยเข้าดวงตาได้ จึงควรมีแว่นตาที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา

อื่นๆ

เมนู