ข้าพเจ้านายสำราญ ภาษีดา ประเภท ประชาชน
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรม ในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
นกยูงเป็นสัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็กนกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลพบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
จากการลงพื้นที่วัดระหาน ซึ่งมีนกยูงจำนวนมากทำให้มีแหล่งอาหารไม่เพียงพอ จึงต้องมีการจัดการด้านอาหารนกยูง โดยผลิตจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ซึ่งมีสูตรอาหารสำหรับนกยูงจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ดังนี้
- ข้าวโพดบด 50 กิโลกรัมหรือปลายข้าว 25 กิโลกรัม+ข้าวโพด 25 กิโลกรัม
- กากถั่วเหลือง 25 กิโลกรัม
- รำละเอียด 15 กิโลกรัม
- ปลาป่น 7 กิโลกรัม
- น้ำมันพืช 1 กิโลกรัม
- ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟตหรือเปลือกหอยบดหรือเปลือกไข่บด 1 กิโลกรัม
- กรดอะมิโน DL-เมทไธนิน 0.20 กิโลกรัม
- กรดอะมิโนไลซีน 0.20 กิโลกรัม
- เกลือทั่วๆไป 0.20 กิโลกรัม
- พรีมิกซ์ (สารผสมล่วงหน้า) (วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในการเลี้ยงสัตว์ปีกหรือนก 0.40 กิโลกรัม
- หญ้าเนเปียร์สับ 5 กิโลกรัม
- ใบมันสำปะหลัง 5 กิโลกรัม
- ใบกระถิน 5 กิโลกรัม
- หญ้าขนหรือหญ้าหวายสับ 5 กิโลกรัม
- ปลายข้าว 5 กิโลกรัม
การจัดการด้านอาหารนกยูง
1.อาหารสำหรับนกยูงเล็ก (อายุ 0-3 เดือน) ในระยะนี้ลูกนกยูงต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2200 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 1 กิโลกรัมโปรตีน 20-22% และเยื่อใย 8-10% เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและการสร้างโครงสร้างร่างกาย
2.อาหารสำหรับนกยูง (อายุ 4-10 เดือน) ในระยะนี้ลูกนกยูงต้องการอาหารที่มีพลังงาน 2400 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 1 กิโลกรัมโปรตีน 14-15% และเยื่อใย 14% และจะกินอาหารวันละ 1.5-2 กิโลกรัม แต่เมื่อลูกนกอายุมากขึ้นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในอัตราที่ลดลงจึงทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเพิ่มสูงขึ้นและสามารถกินอาหารที่มีเยื่อใยได้มากขึ้นด้วย
3.อาหารสำหรับนกยูง (อายุ 11-14 เดือน) อาหารนกอยู่ระยะนี้เพราะต้องการคือมีพลังงาน 2500 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 1 กิโลกรัมโปรตีน 14-16% และเยื่อใย 16%
4.อาหารสำหรับนกยูงพ่อ-แม่พันธุ์(อายุ 14 เดือนขึ้นไป) อาหารที่ใช้เลี้ยงจะประกอบด้วยพลังงาน 2,400 – 2,600 กิโลแคลอรี ต่ออาหาร 1 กิโลกรัมโปรตีน 14% และเยื่อใย 16% ซึ่งการให้อาหารนกอยู่ในช่วงนี้จะแบ่งออกเป็นระยะคือช่วงผสมพันธุ์และนอกฤดูผสมพันธุ์
ทีมงาน U2T ตำบลบ้านด่านได้เล็งเห็นความสำคัญของอาหารนกยูงจึงจัดการอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงและดูแลนกยูงภายใต้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ทำให้ได้เรียนรู้และการทำอาหารนกยูง โดยผลิตจากวัตถุดิบในท้องถิ่น นำมาใช้ในวัดระหานเพื่อให้มีอาหารเพียงพอต่อนกยูงที่มีอยู่ภายในวัดและประหยัดต้นทุนในการซื้ออาหารนกยูง