การปรับภูมิทัศน์ของวัดเกาะแก้วธุดงคสถาน
(รางให้อาหารนกยูง)
ข้าพเจ้า นางสาวธิวาพร แปนไมล์ บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าและทีมงานได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม(ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลนกยูง) วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) วิเคราะห์ข้อมูล CBD ในท้องถิ่นตำบลบ้านด่าน ติดตามโครงการยกระดับข้าวแต๋นให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่วัดบ้านโคกวัด จัดโครงการการคิดต้นทุนที่บ้านโคกขาม และจัดอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่อำเภอบ้านด่าน
โครงการต่อไปจะเป็นโครงการมัคคุเทศก์ที่จัดขึ้น ณ วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน ซึ่งจะมีการจัดฐานเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของวัด ระบบนิเวศภายในวัด และความรู้เกียวกับนกยูง ถ้าพูดถึงวัดเกาะแก้วธุดงคสถานนั้น หลายคนจะนึกถึงนกยูง เพราะเป็นจุดเด่นของวัดที่มีนกยูงจำนวนมาก และเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี ข้าพเจ้าและทีมงานจึงเล็งเห็นความสำคัญของนกยูง โดยการอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลนกยูง เพื่อให้นกยูงได้รับประโยชน์ วิทยากรได้สอนวิธีการผสมอาหารนกยูงและวิธีให้อาหารนกยูง แต่การให้อาหารนกยูงนั้น เป็นการหว่านอาหารไปตามจุดต่างๆที่นกยูงอยู่ ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้ปรึกษาผู้นำชุมชนคิดวิธีการทำรางใส่อาหารนกยูง โดยการนำท่อ PVC มาผ่าครึ่งเป็นแนวยาวเพื่อที่จะใส่อาหารลงไป และเชื่อมเหล็กครอบใส่ด้านบนท่อ PVC ที่ผ่าครึ่งระยะห่างที่เหมาะสำหรับปากนกยูงจะเข้าได้ แล้วทำขาตั้งให้สูงขึ้น จากนั้นนำหางนกยูงที่ร่วงตามช่วงมาตกแต่งให้สวยงามและให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติ นำต้นไม้ประดับเล็กๆมาวาง และทาสีท่อรางใส่อาหารให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติ สาเหตุที่เลือกใช้ท่อ PVC นั้น เพื่อประหยัดต้นทุนและง่ายต่อวิธีการทำ และการทำนั้นจะมีชาวบ้านในชุมชนบ้านระหานในการให้ความร่วมมือพร้อมที่จะช่วยเหลือข้าพเจ้าและทีมงาน
การทำรางใส่อาหารนกยูงนั้นเพื่อเปลี่ยนจากการหว่านอาหารให้มีที่ใส่อาหารที่มีระเบียบขึ้น รวมไปถึงยังรักษาความสะอาดภายในวัด และปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ภายในวัดดีขึ้น หากภูมิทัศน์ดีนั้นนักท่องเที่ยวที่มาปฏิบัติธรรมและมาเที่ยวชมวัดก็จะมีจำนวนมากขึ้น