ข้าพเจ้า นายยุทธพิชัย ปักกาเวสา บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในตำบลบ้านด่านประจำเดือนพฤศจิกายน พ. ศ. 2564
วัตถุประสงค์เพื่อ กรณีศึกษาโรคในนกยูง
นกยูงส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการรอดตายจากระยะลูกนกจนถึงโตเต็มวัยสูง หากมีการจัดการด้านความสะอาดทั้งเรื่องน้ำ-อาหาร และการป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคระบาด ควรจัดการด้านสุขาภิบาลให้ดี ให้อาหารที่มีคุณภาพถูกต้องตามความต้องการ หมั่นคัดนกป่วยหรือพิการออกจากฝูง ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีอากาศเปลี่ยนแปลง มีสถานที่พยาบาลสัตว์ป่วย มีสถานที่กักกันสัตว์ ควบคุมพาหะที่อาจจะมาจากบุคคลภายนอกหรือสัตว์ เช่น สุนัข แมว ยุง หนูและแมลงสาบก็จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากบริเวณที่เลี้ยงนกยูง พบการเลี้ยงสัตว์ปีกอื่นๆ ที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ไก่บ้าน หรือมีมาตรการการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคที่ยังไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้ก็จะสามารถก่อโรคในนกยูงได้

โรคในนกยูงมีดังต่อไปนี้

1.โรคนิวคาสเซิล

เป็นโรคติดต่อรุนแรงในสัตว์ปีก ไม่เพียงแต่จะทำให้สัตว์ป่วยและตายเท่านั้น ยังอาจตรวจพบเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงในสัตว์ปีกที่ไม่แสดงอาการป่วยด้วย เนื่องจากสัตว์ได้รับวัคซีนมาก่อนจึงไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่สัตว์อื่นได้ ไม่มียาที่ใช้รักษาโรคนี้อาจใช้วัคซีนสาหรับไก่บ้านหากบริเวณที่เลี้ยงนกยูงเลี้ยงไก่บ้านด้วย แต่ยังไม่มีผลการวิจัยยืนยันการใช้วัคซีนไก่บ้านในนกยูงที่แน่นอน
2. โรคฝีดาษ

อาจไม่ทำให้สัตว์เสียชีวิตโดยตรง แต่ทำให้โตช้า ส่งผลต่อการเลี้ยง รักษาตามอาการแยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ปกติ ให้ยาปฏิชีวนะปูองกันการติดเชื้อแทรกซ้อน

3.โรคไข้หวัดนก

เป็นโรคที่สาคัญในพระราชบัญญัติโรคสัตว์ พ.ศ. 2499 สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส อินฟลูเอนซ่า เอ ที่ก่อโรคในสัตว์ปีก นอกจากนี้ ไวรัส อินฟลูเอนซ่า เอ ที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ในคน และสุกร ก็สามารถติดต่อได้ และสามารถแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อ กลายเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้

มาตรการควบคุมและป้องกันโรคขั้นพื้นฐาน

1.การกักโรค
ใช้ในกรณีนำสัตว์ตัวใหม่ / ชุดใหม่เข้ามาเลี้ยงในฝูง เพื่อทำการตรวจสุขภาพสัตว์ และสังเกตโรคที่อาจแอบแฝงอยู่ในตัวสัตว์ที่ยังไม่แสดงอาการ และพฤติกรรมของสัตว์ โดยจะทำการแยกสถานที่เลี้ยงสัตว์ชุดใหม่ออกจากสัตว์ชุดเดิม ไม่ให้การติดต่อของโรคจากสัตว์ชุดใหม่ไปยังสัตว์ชุดเดิม หรือจากสัตว์ชุดเดิม ไปยังสัตว์ชุดใหม่อุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ก็ต้องเป็นคนละชุด
2. การสุขาภิบาล
จัดการด้านความสะอาดทั้งในสถานที่เลี้ยง น้ำ อาหาร ตลอดจนการเก็บอาหารสัตว์ การใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมและการกาจัดของเสีย เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะซากสัตว์ หรือของเสียที่ติดเชื้ออันตราย ควรทำการเผาหรือฝังอย่างถูกวิธี หมั่นแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง กรณีพบโรคร้ายแรง ควรพิจารณาทำเมตตาฆาต ควบคุมและกำจัดสัตว์พาหะนาโรค เช่น สุนัข แมว ยุง หนู และแมลงสาบ ควบคุมพาหะที่มาจากบุคคลภายนอก รถขนส่งสัตว์ อุปกรณ์เครื่องใช้ในฟาร์ม ควรแยกกันระหว่างสัตว์ปกติ สัตว์ป่วย และสัตว์ที่เพิ่งนาเข้าฝูง ควรมีบ่อจุ่มฆ่าเชื้อ ทั้งคนและพาหนะ
3. การป้องกันโรค
มีการให้ยาปฏิชีวนะและวิตามินผสมน้ำหรืออาหาร ในกรณีที่อากาศเปลี่ยนแปลง หรือมีการเกิดโรคในพื้นที่ใกล้เคียง การทำวัคซีนยังไม่มีวัคซีนที่ใช้สาหรับนกยูงโดยเฉพาะ ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นวัคซีนที่ใช้กับไก่บ้าน ไก่ไข่หรือไก่เนื้อ สำหรับนกยูงยังไม่มีผลงานวิจัยที่แน่นอน อีกประการหนึ่งนกยูงที่โตแล้วมักจะทำได้ยาก เพราะเวลาจับ ขนนกยูงอาจหัก หลุดร่วงดูไม่สวยงาม และอาจเกิดการบาดเจ็บได้

ในส่วนของทีมงาน U2T ตำบลบ้านด่านและอาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้ให้ความสำคัญต่อโรคที่เกิดในนกยูงวัดระหาน ซึ่งอาจจะมีผลต่อนักท่องเที่ยวและนกยูงในอนาคต แนวทางในการป้องกันโรคที่เกิดในนกยูง ในส่วนการฉีดวัคซีนและยาถ่ายพยาธิแบบหยดที่หลังคอนกยูง เราได้รับความอนุเคราะห์จากปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์และปศุสัตว์อำเภอบ้านด่าน ที่มาให้ความรู้และวิธีจับนกยูงเพื่อกำจัดเชื้อปรสิตต่างๆให้นกยูง เช่นพยาธิภายนอก เห็บ หมัด ไร และพยาธิภายใน พร้อมจดบันทึกและติดห่วงขานกยูงเพื่อทราบจำนวนนกที่ได้รับวัคซีน เพื่อให้นกยูงมีสุขภาพที่ดี เตรียมพร้อมเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ในอีก 2เดือนข้างหน้า

อื่นๆ

เมนู